โรงเชือดมาตรฐาน  70

คำสำคัญ : โรงเชือด  โรงฆ่าสัตว์  โรงพักสัตว์  

เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2567 เจ้าหน้าที่ ปค ภาคใต้และคลินิกเทคโนโลยี มอ.หาดใหญ่ ลงพื้นที่แพะแปลงใหญ่ อ.ระโนด ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายที่จะเชิญเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ด้วย วทน. (ST68) โดยประธานกลุ่มและท่านปศุสัตว์อำเภอ ได้ให้ข้อมูลถึงการประสบปัญหาราคาแพะตกต่ำในช่วงปี 2566 ทำให้จากเดิมที่มีสมาชิกอยู่ประมาณ 80 คน จำนวนแม่พันธุ์แพะ ประมาณ 7,000 ตัว ตอนนี้ เหลือ สมาชิกที่เลี้ยงประมาณ 30 คน จำนวนแพะ ประมาณ 2,700 ตัว เนื่องจากก่อนหน้านี้ตลาดหลักจะผลิตแพะไซม์เล็กให้กับ 3 จังหวัดภาคใต้ชายแดน เพื่อการใช้ในพิธีบุญ ซึ่งความต้องการอยู่ปีละ 30,000-50,000 ตัว แต่ในช่วงปี 2566 ถึง ปัจจุบัน มีการสั่งซื้อแพะจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ น้อยมาก และราคาที่ซื้อลดลงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากมีการลับลอบนำเข้าแพะ สมาชิกที่เหลืออยู่จึงมีแนวคิดจะเชือดขายเป็นชิ้นเนื้อ แปรรูป ทำเป็นแกงต่างๆหรือการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขายในพื้นที่ก่อน เนื่องจากยังไม่มีโรงเชือดที่ได้มาตรฐานจึงยังไม่สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อขอมาตรฐานได้ถึงแม้ว่าการเลี้ยงจะได้มาตรฐาน GFM แล้ว ก็ตาม ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับการเลี้ยงแพะในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ดังนั้นการผลักดันให้เกิดโรงเชือดที่ได้มาตรฐานจึงมีความเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ แต่การสร้างโรงฆ่าสัตว์ โรงพักสัตว์ก่อนฆ่า การขออนุญาตฆ่า มีกฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวหลายหน่วยงาน จึงอาจจะมียุ่งยาก สร้างแล้วอาจจะไม่สามารถขออนุญาตได้ หากไม่ได้ศึกษาข้อกฎหมายให้ชัดเจน  อนุญาตแล้วหากการบริหารจัดการไม่มืออาชีพก็ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อเนื่องได้ ดังนั้นการจะขอตั้งโรงฆ่า โรงพักสัตว์ ต้องศึกษาข้อกฎหาย ขั้นตอนในการขอ และการบริหารจัดการ ต้องมีพร้อมในทุกๆด้าน

เนื้อหา


เขียนโดย : ดาวริน   สุขเกษม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : daorin.s@mhesi.go.th