ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะการพัฒนา/ปรับปรุงงานโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ   82

คำสำคัญ : ปรับปรุงงาน  แบบโครงการ  เขียนงบประมาณ  

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะการพัฒนา/ปรับปรุงงาน โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ                                 

                            โดย ดร.สรรณพ นาควานิช นวค.ชพ.  หัวหน้าโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

         

โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเป็นโครงการภายใต้กิจกรรม การเผยแพร่และสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลผลิต บริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลและบริการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีค่าใช้จ่าย ๒ รายการ (๑) งบดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายเพื่อจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และ (๒) งบอุดหนุน การอุดหนุนสถาบันการศึกษาในภูมิภาคและสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ เพื่อจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ รวมงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๗,๒๙๖,๕๐๐ บาท ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า ๔๐ ปี ตามมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๒๕ กำหนดให้วันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปี เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ”และมติ ค.ร.ม. วันที่ 3 กันยายน 2528 ให้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ปัจจุบัน คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเป็นประจำทุกปีเพื่อเทิดพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

การดำเนินงานในปี ๒๕๖๗ คณะทำงานจัดงานและติดตามประเมินผลการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติได้เห็นชอบและผู้บริหารได้อนุมัติให้อุดหนุนงบประมาณให้แก่สถาบันการศึกษาและสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน ๕๑ แห่ง งบประมาณ ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ระหว่างวันที่ ๘ - ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๗ ทั่วประเทศ ใน ๔๒ จังหวัด ซึ่งมีป้าหมายตามตัวชี้วัดหลัก (๑) จำนวนผู้มาร่วมงานไม่น้อยกว่า ๔๐๐,๐๐๐ คน (๒) มีความพึงพอใจร้อยละ ๘๐ (๓) จัดกิจกรรมด้าน วทน. โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ๑ กิจกรรม สำเร็จ

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนา/ปรับปรุงงานมี ดังนี้

  1. ปรับปรุงแบบข้อเสนอโครงการให้มีรายละเอียดเพียงพอในการพิจารณาให้คะแนนของคณะทำงานฯ และมีรายละเอียดงบประมาณเป็นไปตามระเบียบฯ และการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่การเงิน
  2. ตรวจสอบรายละเอียดโครงการและงบประมาณโดยละเอียดของโครงการที่ผ่านการสนับสนุนงบประมาณแล้วเพื่อลดการเสียเวลาจากการแก้ไขบ่อยครั้งของเจ้าหน้าที่การเงิน
  3.  เร่งรัดและควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามคู่มือการดำเนินงาน โดยสรุป (๑) ได้รับข้อเสนอโครงการภายในเดือนธันวาคม (๒) พิจารณาโครงการและเห็นชอบสนับสนุนภายในเดือนกุมภาพันธ์ (๓) ยืนยันรับดำเนินงานและส่งเอกสารที่สมบูรณ์ภายในเดือนมีนาคม (๔) ดำเนินการแจ้ง กอก. โอนเงินให้สถาบันการศึกษาภายในเดือนพฤษภาคม (๕) ประสานงาน/ให้ข้อมูลแบบประเมิน แบบเกียรติบัตร/โล่/แบบรายงาน/อื่นๆ รวมทั้งเตรียมพร้อมการจัดงานเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม
  4. จัดทำขอบเขตและเงื่อนไขการติดตามและประเมินผลการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติและเชิญชวนมหาวิทยาลัยมาดำเนินงานให้ สป.อว. ภายในเดือนพฤษภาคม พร้อมเร่งรัดการโอนงบประมาณโดยเร็ว
  5. จัดทำแผนการติดตามโครงการตามพื้นที่หน่วยงานที่เลือกประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของจำนวนหน่วยจัดงานทั้งหมด ร่วมกับหน่วยงานประเมินผลภายในเดือนกรกฎาคม
  6. เร่งรัดการส่งรายงานเบื้องต้นภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๗ และรายงานฉบับสมบูรณ์ภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  7. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะทำงานฯ ให้เหมาะสมกับการทำงานและความร่วมมือ เนื่องจากมีคณะทำงานโอนย้ายหน่วยงานและบางแห่งไม่ได้มาร่วมประชุม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/743/files/SciWk_manual67.pdf


เขียนโดย : ดร. สรรณพ  นาควานิช สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sannop@mhesi.go.th