จาก “ครูอสวท” ผู้ร่วมสร้าง “ม่อนล้านโมเดล” ในวันนั้น ต้นแบบสู่การสร้าง “ครูนวัตกร” Innovative Teacher ในวันนี้ (EP : 2 Up skill Re skill & New skill)  11

คำสำคัญ : ครูนวัตกร  Innovative  Teacher  ม่อนล้านโมเดล  

🙏จาก EP : 1 จุดเริ่มต้น ครูนวัตกร ที่ได้เขียนเล่าย้อนหลังถึงที่ไปที่มาของการผลักดันโครงการม่อนล้านโมเดล และ การพัฒนาครู อสวท. ไปแล้วนั้น

ใน EP : 2 นี้จึงจะขออธิบายถึงกระบวนการพัฒนา “ครูนวัตกร” ด้วยกระบวนการ Up skill Re skill & New skill ภายใต้กรอบกิจกรรมโครงการภาพใหญ่ ที่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้บริหารของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) ที่ได้กรุณาเข้ามาร่วมให้ความเห็น และวางแนวทางการทำงานร่วมกันจนเกิดเป็นภาพแผนงานที่จะเกิดขึ้นในปี 2567 และการขยายการทำงานไป 77 จังหวัด ประกอบด้วย 2 กิจกรรมได้แก่

(1) การพัฒนาศักยภาพครู สกร. ภาคเหนือ ด้วย ววน. (นำร่องพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 10 จังหวัด โดยใช้กลไกของคลินิกเทคโนโลยีในพื้นที่จำนวน 10 แห่ง) และกำหนดจัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

(2) การพัฒนาศักยภาพครู สกร. 77 จังหวัด ด้วย ววน.

🤝 🙋‍♂️ กิจกรรม “การพัฒนาศักยภาพครู สกร. ภาคเหนือ ด้วย ววน.” ที่ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 - 16 กรกฏาคม 2567ณ โรงแรมคุ้มภูคำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

เป็นการดำเนินงานนำร่องพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 10 จังหวัด ผ่านกลไกการทำงานร่วมกับคลินิกเทคโนโลยีพี่เลี้ยงในพื้นที่ จำนวน 10 แห่ง มี มทร.ล้านนา เชียงใหม่ รับผิดชอบหลักในการจัดกิจกรรม โดยมีกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้

⭐ 1. หารือร่วมกับ สกร. เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายครูที่จะเข้าร่วมกิจกรรม โดย สกร. คัดเลือกครู จาก

1.1 ครูผู้ที่มีผลงานดีเด่นจากโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ สกร.

1.2 ครูจากโครงการ 5 ดี พรีเมียม

1.3 ครู ศศช.

1.4 ครูผู้ที่เคยทำงานร่วมกับ คลินิกเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคเหนือ

⭐ 2. ประชุมหารือเพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่าง ปค.ภาคเหนือ มทร.ล้านนา และ เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีพี่เลี้ยงที่รับผิดชอบ 10 จังหวัด เพื่อเตรียมการดำเนินงานร่วมกับครูเป้าหมายที่ สกร. คัดเลือก จำนวนจังหวัดละ 4 คน โดยคลินิกเทคโนโลยีพี่เลี้ยงแต่ละจังหวัดจะเข้าหารือร่วมกับครูในพื้นที่เพื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหาความต้องการ และเตรียมวางแผนการทำงานร่วมกัน

⭐ 3. การจัดกิจกรรม “การพัฒนาศักยภาพครู สกร. ภาคเหนือ ด้วย ววน.” ในวันที่ 14 - 16 กรกฏาคม 2567ณ โรงแรมคุ้มภูคำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อ Up skill Re skill & New skillครู สกร. ด้วยหลักสูตรดังนี้

          🏅3.1 การเติมความรู้ด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจบทบาทภารกิจและกลไกการทำงานของกระทรวง อว. สป.อว และ กปว. รวมทั้งแนวทางการสนับสนุนงบประมาณภายใต้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ของ อว.

          🏅3.2 การลงพื้นที่เพื่อศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีด้านการเกษตร ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และด้านอาหารและบรรจุภัณฑ์ ณ ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

           🏅3.3 Knowledge Sharing ต้นแบบการทำงานของ อว. ร่วมกับ สกร. จาก 3 พื้นที่ ได้แก่

                          - ม่อนล้านโมเดล โดย มทร.ล้านนา เชียงใหม่ และ ทีมม่อนล้าน

                          - การทำงานแบบหนุนเสริม ม.พะเยา & ครู สกร.แม่ใจ สู่การพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองบัว โดย ม.พะเยา

                          - การส่งเสริมศักยภาพด้านการพูด อ่าน เขียน ของเด็ก และเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร จังหวัดตาก โดย มทร.ล้านนา ตาก

           🏅3.4 แนวทางการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของ สกร.

           🏅3.5 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาความต้องการจาก ครู สกร. พื้นที่ และแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการด้าน ววน. ซึ่งจะดำเนินงานร่วมกับคลินิกเทคโนโลยีพี่เลี้ยงเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอโครงการที่สามารถเสนอขอรับการสนับสนุนจาก กปว. มีสรุปประเด็นของแผนงานโครงการจำนวน 40 โครงการแบ่งกลุ่มคลัสเตอร์ได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร กลุ่มสิ่งทอ และ กลุ่มท่องเที่ยวชุมชน ดังนี้

          กิจกรรมการ Up skill Re skill & New skill ครู สกร. ในครั้งนี้เสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์และสวยงาม ตรงตามเป้าหมายที่ทุกฝ่ายคาดหวังไว้ มีเสียงตอบรับในด้านที่ดีจากทั้งผู้บริหารของ สกร. และคุณครู ที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีพี่เลี้ยง 10 จังหวัด ต่างให้ความร่วมมือและให้ความสนใจในการเข้าร่วมทำงานกับครู ซึ่งจะถือเป็นกลไกที่ใกล้ชิดชุมชนที่สุด เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันในพื้นที่ที่จะช่วยกันขยายการทำงานและร่วมกันพัฒนาโครงการที่จะสามารถแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องตามบริบทของพื้นที่ในทุกมิติ

           แผนงานในระยะถัดไป กปว. คาดหวังที่จะสร้างกระบวนการเพื่อพัฒนาครู สกร. สู่ “ครูนวัตกร” อย่างสมบูรณ์แบบ ผ่านหลักสูตรการพัฒนาทักษะนวัตกรรม เช่น การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ด้านการอ่าน เขียนภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ทักษะด้านคณิตศาสตร์ การพัฒนาทักษะอาชีพชุมชน และ การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างครูที่มีองค์ความรู้ด้าน ววน.ที่หลากหลาย สามารถสร้างโครงการพัฒนาชุมชนด้วย ววน. หรือ เป็นครูที่มีทักษะเฉพาะด้านในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ด้วย ววน. ได้ในอนาคต...


เขียนโดย : น.ส.รชนิศ  ศรีวิชัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : rachanis.s@mhesi.go.th