Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
พรบ. TRIUP Act สำคัญอย่างไรในวงการงานวิจัยของประเทศไทย 98
พรบ. TRIUP Act สำคัญอย่างไรในวงการงานวิจัยของประเทศไทย
ก่อนอื่น พรบ. ฉบับนี้มีชื่อเต็มว่า
“Thailand Research and Innovation Utilization Promotion Act”.
หรือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564
สืบเนื่องมาจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากทุนสนับสนุนของรัฐยังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์เท่าที่ควร และกฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและ นวัตกรรมเป็นของรัฐแต่รัฐไม่เชี่ยวชาญและไม่ได้มีบทบาทหน้าที่ในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ จึงมีข้อเสนอให้ ยกความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้แก่ผู้รับทุน หรือนักวิจัย เพื่อสร้าง “แรงจูงใจ” โดยเปรียบเทียบกับ Bayh-Dole Act ของสหรัฐอเมริกา
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 และมีผล บังคับใช้ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
พรบ. ฉบันนี้มีใจความสำคัญอย่างไรบ้าง
- ให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถ เป็นเจ้าของผลงานวิจัย ที่ได้รับ ทุนสนับสนุนจากรัฐได้
- กำหนดหลักเกณฑ์ในการโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรมของผู้เป็นเจ้าของผลงานให้แก่ บุคคลอื่นและหน้าที่ของผู้รับโอนผลงาน
- ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีออกคำสั่งให้หน่วย งานที่ได้รับมอบหมายใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากทุนของรัฐในกรณี ฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤติ
- ให้ผู้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม ต้องใช้ประโยชน์บริหารจัดการ และรายงาน ผลการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อผู้ให้ทุน
- ให้ผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัยและนวัตกรรมสามารถขออนุญาตใช้ประโยชน์ได้โดยเสนอเงื่อนไขและค่าตอบแทน
- กำหนดหน่วยงาน วิธีการส่งเสริม และการจัดสรรเงินค่าตอบแทนแก่นักวิจัย เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง
พรบ. ฉบับนี้ ผู้รับทุนวิจัยจากกองทุน ววน. ต้องแถลงข้อค้นพบใหม่
ซึ่ง ข้อค้นพบใหม่คือ??
ข้อค้นพบหรือผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัยหรือสร้างนวัตกรรม โดยการค้นคว้า การทดลอง การสำรวจหรือการศึกษา รวมถึงองค์ความรู้ การประดิษฐ์ กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ กระบวนการบริการ หรือการจัดการในรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นข้อค้นพบใหม่หรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญและนำไปใช้ประโยชน์ได้
การรายงานข้อค้นพบใหม่
โครงการวิจัยที่เป็นไปตาม พ.ร.บ. TRIUP ACT เมื่อพบข้อค้นพบใหม่จะต้องรายงานข้อค้นพบใหม่ รวมถึงจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ในระบบ เพื่อขอสิทธิความเป็นเจ้าของจากแหล่งทุนก่อน จึงจะสามารถดำเนินการยื่นขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้
ที่มา:
https://www.tsri.or.th/about-our-fund/research-and-innovation-utilisation/utilisation-triup-act
https://research.psu.ac.th/news/interesting-article/19226/