อว. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ “ซอฟพาวเวอร์ของไทยที่น่าสนใจ” ณ อาคารรัฐสภา  136

คำสำคัญ : ซอฟพาวเวอร์  

เมื่อวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีได้เป็นผู้แทนนำผลงานการยกระดับผลิตภัณฑ์และสินค้าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของกระทรวง อว. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ “ซอฟพาวเวอร์ของไทยที่น่าสนใจ” ภายใต้การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและพิจารณาเสนอแนะแผนกลยุทธ์การส่งเสริมซอฟพาวเวอร์แห่งชาติ เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงแห่งชาติ วุฒิสภา ณ บริเวณห้องประชุมวุฒิสภา ชั้น 2 อาคารรัฐสภา โดยเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการผลักดันสู่ซอฟพาวเวอร์ของไทย ทั้งในด้านอาหารและแฟชั่น

สำหรับซอฟพาวเวอร์ด้านอาหาร ได้นำเสนอการยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารที่มีจุดเด่นของไทย โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และยืดอายุการเก็บรักษาเพื่อการส่งออก อาทิ ผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวทุเรียนอบแห้ง ผลิตภัณฑ์บานาน่าอัลตรากล้วยตากน้ำตาลต่ำ ผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมกล้วยตาก ซุปทุเรียน เครื่องดื่มผักเชียงดาแห้ง ปลานิลหยอง ผลิตภัณฑ์เยลลี่มะม่วงผสมพรีไบโอติก ผลิตภัณฑ์คอมบูชาส้มพร้อมดื่ม ฯลฯ

ในส่วนของซอฟพาวเวอร์ด้านแฟชั่น ได้นำเสนอการยกระดับผ้าทอชุมชนสู่สากลด้วยการบูรณาการภูมิปัญญาดั้งเดิมในวัฒนธรรมการทอผ้าของชุมชนอีสานร่วมกับการพัฒนาด้วยนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยมีผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานที่ผ่านการสร้างสรรค์ออกแบบ ตัดเย็บ ให้เกิดความทันสมัยและมีความเป็นสากล เช่น ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าทอมือและเสื้อผ้าจากสีย้อมธรรมชาติ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างกระเป๋าจากกาบกล้วย เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่นำผลงานการขับเคลื่อนและผลักดันซอฟพาวเวอร์ของไทยในด้านอื่นๆ เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการอีกมากมาย อาทิ มวยไทยจากหน่วยงานการกีฬาแห่งประเทศไทย ภาพยนตร์จากสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และการท่องเที่ยวตามวิถีข้าวไทยของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

     

     

       


เขียนโดย : จตุรพร  วิศนุนาถนคร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : jaturaporn.wis@gmail.com

ดีมากครับ ถ้านำข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นจากท่านวุฒิสภา มาลงไว้ด้วยก็จะดีมากครับ

เขียนโดย นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ

าน สว. ชื่นชมและให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานค่อนข้างมากเลยค่ะ โดยให้ความเห็นว่ามีการผสมผสานระหว่างอัตลักษณ์ วัฒนธรรมพื้นถิ่นร่วมกับการออกแบบที่ทันสมัย ทำให้เกิดการสร้างมูลค่าสินค้าได้อย่างดียิ่ง ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารบางตัว เช่น กล้วยตาก อาจจะมีรสชาติที่ค่อนข้างหวาน หากมีการปรับลดความหวานให้สอดคล้องตามกระแสคนรักสุขภาพที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน จะสามารถทำให้เข้าถึงผู้บริโภคทั้งไทยและชาวต่างชาติได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

เขียนโดย จตุรพร  วิศนุนาถนคร