วิสัยทัศน์ประเทศไทย Thailand Vision “IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง”   143

คำสำคัญ : ignitethailand  วิสัยทัศ  

วิสัยทัศน์ประเทศไทย Thailand Vision “IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง”

โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง

พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุมทั้งการท่องเที่ยว การรักษาพยาบาลและสุขภาพ อาหาร การบิน การผลิตยานยนต์แห่งอนาคต เทคโนโลยี และการเงิน

ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub)นักท่องเที่ยวเดินทางมาไทยมากเป็นอันดับ 8 ของโลก นำรายได้เข้าสู่ประเทศ 2.3 ล้านล้านบาท และจะโตขึ้นอีกในช่วง 4 ปีข้างหน้าอย่างมโหฬาร มาตรการท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อดึงศักยภาพของประเทศไทย ทั้งการยกระดับเมืองรอง ดังนั้น ด้านการท่องเที่ยวจะต้องได้รับการส่งเสริมต่อยอดทุกรูปแบบ โดยนับจากนี้ประเทศไทยจะไม่หลับไหล จะมีเทศกาลงานคอนเสิร์ต งานศิลปะ งานแสดงสินค้าในประเทศไทยตลอดทั้งปี รวมถึงจะมีการผลักดันการท่องเที่ยวในกลุ่ม CLMV ด้วยการเปิดวีซ่าเพิ่ม ขณะเดียวกัน แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยว ทั้งขยายเวลาบริการสถานบริการ การอนุญาตขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นโฮมสเตย์ของคนทั่วโลก มีร้านอาหารที่พักของดีของเด่นประจำเมือง และจะมีลูกค้าเข้ามาเที่ยวมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง นำเงินมาส่งถึงมือทุกคน ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว

ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub)โดยในปี 2566 การท่องเที่ยวเพื่อการแพทย์และสุขภาพ สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยกว่า 4 หมื่นล้านบาท ดังนั้น จึงมีเหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยเป็นเลิศทางการแพทย์สำหรับคนทั่วโลก โดยสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ หากทุกคนช่วยกันโปรโมตการท่องเที่ยวทางการแพทย์ ประสานโรงพยาบาลไทยรับประกันของต่างชาติได้ นอกจากการแพทย์แล้ว ประเทศไทยยังมีชื่อเสียงด้านการดูแลสุขภาพ ดังนั้น จะมีการผลักดันสปาไทย การแพทย์แผนไทย นวดไทย สมุทรไพรไทยให้เป็นสินค้าส่งออกไปทั่วโลกรัฐบาลให้ความสำคัญกับคนไทยด้วยการพัฒนาระบบรักษาพยาบาลที่ดี ทำให้มีการยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะพัฒนาระบบการใช้ AI เชื่อมฐานข้อมูล เพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ ดูแลความเป็นอยู่ของแพทย์ พยาบาล ซึ่งมาตรการทั้งหมดจะทำให้ประเทศไทยสามารถ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) รัฐบาลจะยกระดับเกษตรกรรมในประเทศไทย วางแผนการปลูก เพื่อให้ได้สินค้าเกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยนำความแม่นยำทางการเกษตรมาใช้ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดโลก นอกจากนี้ จะยกระดับเป็นเมืองอาหารเป็นครัวของโลก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมฮาลาล และเพิ่มการท่องเที่ยวในร้านอาหารที่ได้รับดาวมิชลิน โดยจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาหารของภูมิภาค จะเป็นหนึ่งในปัจจัยปัจจัย4 เป็นครัวของโลก และเกษตรกรไทยจะมีรายได้ขึ้น 3 เท่า ใน 4 ปี

ศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub)เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั่วโลกให้เชื่อมถึงกัน ด้วยจุดแข็งทางภูมิศาสตร์รายล้อมไปด้วยประชากรกว่า 280 ล้านคน ติดอันดับ 5 ของประชากรโลก และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว ทำงาน ในทุกระดับ ทุกราคาที่เลือกได้ รัฐบาลมีแผนจะพัฒนาสนามบินให้รองรับการ Transit ของสายการบิน และเตรียมปรับเปลี่ยนเส้นทาง ตารางบินให้เหมาะสม เพื่อเพิ่ม Transit Capacity ให้สูงขึ้น 

ศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค (Logistic Hub)ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง การขนส่งสินค้าไปยังทั่วโลก ดังนั้น จึงต้องลงทุนขยายศักยภาพ จำเป็นต้องยกระดับระบบคมนาคม ทั้งถนนสายหลัก สายรอง ขยายทางหลวงมอเตอร์เวย์ พัฒนาระบบรถไฟรางคู่ รถไฟกรุงเทพและภูมิภาค จะมีระยะทางเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า ครอบคลุมเส้นทางเกือบ 700 กิโลเมตร เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และเชื่อมไปยังชายแดนหนองคาย เพื่อการขนส่งทั้งคนและสินค้า และยังต้องเชื่อมต่อไปยังท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบังที่กำลังขยายตัว ที่สำคัญ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการแลนด์บริดจ์เป็นโครงการสำคัญเชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน จะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งสินค้า และความแออัดที่ช่องแคบมะละกา

ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility Hub)รัฐบาลตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต มีเป้าหมายจะได้แผนการลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท ได้หารือพูดคุยกับบริษัทยานยนต์ไปมากกว่า 10 ราย และมีการตอบรับจะลงทุนในประเทศไทยแล้วมากกว่า 150,000 ล้านบาท

ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Hub)รัฐบาลตั้งเป้าดึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคต Digital for all Technology Innovation AI ให้มาขยายธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะเทคโนโลยี High Tech ต่าง ๆ ทั้งการลงทุนโรงงานผลิต Semiconductor, การตั้งศูนย์ Data Center รองรับ Cloud Computing, การวิจัยและนำ AI มาใช้งานในประเทศไทย รวมถึงดึงบริษัท Deep Tech ให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยด้วยเช่นกันผ่านโมเดล Sandbox ซึ่งรัฐบาลจะมีเงินสนับสนุนบริษัทที่ต้องการผ่านกองทุน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และจะทำ Matching Fund เติมทุนให้กับบริษัทที่มีศักยภาพด้วย 

ศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Hub)รัฐบาลตั้งเป้าจะเปลี่ยนให้ไทยเป็น Financial Center of Southeast Asia ขับเคลื่อนโดยระบบการเงินที่แข็งแกร่ง ดึงสถาบันการเงินระดับโลกเข้ามาลงทุน สร้างย่านการเงิน Wall Street ของอาเซียนให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และพัฒนา Infrastructure รองรับระบบการเงินแห่งอนาคตขับเคลื่อนด้วย Blockchain ที่ไร้ตัวกลาง และเตรียมปลดล็อก Digital Asset ต่าง ๆ ให้สามารถแปลงเป็นผลผลิตในโลกแห่งความเป็นจริง รวมถึงเชื่อมต่อระหว่างสินทรัพย์ในโลกปัจจุบันให้มาอยู่บนโลกดิจิทัลได้อีกด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลจะเริ่มพัฒนาระบบการเงินเพื่อความยั่งยืน Carbon Credit Trading ซึ่งในอนาคตจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลจำเป็นต้องมีหน่วยงาน กฎระเบียบ รองรับการก้าวไปสู่ยุคการเงินสมัยใหม่

https://www.thaipbs.or.th/news/content/

https://mgronline.com/politics/detail/


เขียนโดย : ดาวริน   สุขเกษม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : daorin.s@mhesi.go.th

ในประเด็นศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) ท่านนายก พูดถึง ยางพารา โค (โรงเชือดโคที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ชุมพรกำลังการผลิต 200 ตัวต่อวัน จะผลักดันยกระดับ ให้เชือดได้ 1000 ตัวต่อวัน) โรงแปรรูปอาหารฮาลาล เห็ดแครงแหล่งโปรตีนจากพืช และปลานิลน้ำไหล ซึ่งเหล่านี้จะเป็นทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ภาคใต้ที่ยกระการพัฒนา

เขียนโดย ดาวริน  สุขเกษม