บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย (NEC) โดย รศ.ดร. ปิติวัฒน์ วัฒนชัย  226

คำสำคัญ : NEC  ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ  

รองศาสตราจาราย์ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอบทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคเหนือ

โดย ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ประกอบด้วยภาคส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ภาคเอกชน ภาครัฐบาล ภาคชุมชนและภาคสถาบันการศึกษา มีหน้าที่ในการพัฒนากำลังคน โดย สถาบันอุดมศึกษา ทำหน้าที่ในการคิดแผน (Action Plan) ซึ่งเป็นบทบาทหลักของสถาบันอุดมศึกษา และการติดตามและประเมินผล ไม่ได้ขับเคลื่อนโดยตัวสถาบันการศึกษาเอง แต่จะมาจากแผนที่คิดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จากการได้รับงบ จาก บพท.

มหาวิทยาลัย มีกลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์ Northern Science park เป็นกลไกหลักในการดำเนินงานร่วมกัน โดยมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องตามแผน 3 ระดับ ดังภาพ

แผนระดับ 1 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

แผนระดับ 2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13

แผนระดับ 3 แผนพัฒนาภาคเหนือ

จนสุดท้ายนั้น ได้แผนแม่บท NEC BCG (ฉบับสมบูรณ์) ใช้การขับเคลื่อนโดย BCG 

โดยเน้นการทำ Demand Supply Analysis การเน้นการทำ Focus Group ด้วย การนำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจาก 4 พื้นที่จังหวัดเชียงราย ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ มาทำโฟกัสกรุ๊ป  การทำ Gap Analysys การทำ Lesson learn การดำเนินงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และ ปรึกษาแนวทางการดำเนินงานร่วมกับ EEC และ ศาสตราจารย์.ดร.รุธิร์ พนมยงค์

กรอบแนวคิดในการพัฒนา ให้ NEC เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่อยอด อาศัยทุนทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปพร้อมกับการพัฒนาสังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย

1. การพัฒนาเศรษฐกิจภายใน 10 ปี ให้ตรงตามนโยบายของท่านประจิน จั่นตอง ได้กล่าวไว้ พ้นจากรายได้ปานกลางในปีที่ 5 รายได้ต่อหัว เกิน 30,000 บาท                                   

2. การค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว เน้น Local Investor                                      

3. จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเท่าตัว                                                             

4. ไม่ละทิ้งความสุข ประกอบด้วยความมั่นคงในชีวิต คุณภาพชีวิต สุขอนามัยที่ดีในชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จะมากขึ้น จาก 48.79 เป็น 53% (วัดจาก index of happiness)

Input คือ โครงสร้างพื้นฐาน กำลังคน และกฎหมายสิทธิประโยชน์ ต่างๆ โดยมี คณะกรรมการขับเคลื่อนเป็นฐานที่สำคัญ ด้วยองค์ประกอบของคณะกรรมการในการขับเคลื่อน 

โดยในการพัฒนาผ่านเป้าประสงค์ ดังนี้

1. เพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ

2. สร้างสังคมความสุขและลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

3. พัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

โดยใน 4 อุตสาหกรรม ที่สอดคล้องตาม NEC ใน 4 ประเภท ของภาคเหนือ

       C คือ Creative

       A คือ Agriculture & Food Industry

       T คือ Tourism & wellness

       D คือ Digital

การดำเนินงานร่วมกันมี Flagship Project ในการดำเนินงานร่วมกัน ดังนี้

     เชียงใหม่ เมืองแห่งสุขภาพและสุขภาวะจองระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ

     เชียงราย ประตูสู่ความร่วมมือและเชื่อมโยงอารยธรรมลุ่มน้ำโขง

     ลำพูน เขตอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร และสุขภาพภาคเหนือ

     ลำปาง นิคมอุตสาหกรรมสีเขียวและศูนย์กลางโลจิสติกส์

ผ่านความร่วมมือ 4 ภาคส่วน ดังนี้

1. ภาครัฐ

2. ภาคการศึกษา

3. สภาอุตสาหกรรมและสภาหอการค้า

4. ภาคประชาสังคม (มูลนิธิ)

ข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อน NEC ต่อไป คือ การตั้งคณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ กพศ. ดังแผนภาพ

 

การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ ร่วมกับหน่วยงาน 4 กระทรวงที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สำเร็จ สามารถดำเนินงานร่วมกัน และภาพในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดังนี้


เขียนโดย : น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ketsarat.w@mhesi.go.th

แผนแม่บทการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือได้จัดทำขึ้น รวมทั้งมีการวิเคราะห์ Flagship projects ของ 4 จังหวัดเป้าหมายตามประเด็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัด  นับว่าเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับการดำเนินการในภาคอื่นๆ นะคะ  ขอบคุณสำหรับข้อมูลและเขียนสรุปได้เข้าใจง่ายมากๆ เลยค่ะ  :)

เขียนโดย มัชฌิมา  นันทรัตน์

ขอบพระคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลนะคะพี่แก้ว อาจารย์วิน นำเสนอได้กระชับและเข้าใจได้จ่ายด้วยจริงๆ ค่ะ

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล