บทบาทของอุดมศึกษาในการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ  119

คำสำคัญ : 

บทบาทของอุดมศึกษาในการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษการผลิตและพัฒนากําลังคนเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษใน 4ภาค และเขตฯ ชายแดน 10แห่ง เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการพัฒนาแรงงานและสนับสนุนผู้ประกอบการ และการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ดังนี้

1) การพัฒนาแรงงานและการสนับสนุนผู้ประกอบการส่งเสริมการพัฒนาแรงานเพื่อรองรับกิจการเป้าหมายในพื้นที่ ครอบคลุมการพัฒนาความรู้และทักษะแรงงานตามความต้องการของกิจการที่มุ่งเน้นในพื้นที่ การพัฒนาฝีมือแรงงาน (Upskill /Reskill /New Skill) ตามศักยภาพและบทบาทของพื้นที่และรองรับการพัฒนา ได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาแรงงานที่มีศักยภาพให้ยกระดับเป็นผู้ประกอบการในอนาคต เช่น

1) NEC: การพัฒนาทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

2) NeEC: การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและการผลิตภาคเกษตรมูลค่าสูง โดยเฉพาะทักษะการบริหารจัดการ การทำการตลาด และการใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพครบวงจร

3) CWEC: การพัฒนาองค์ความรู้ของเกษตรกรโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำการเกษตร และเสริมสร้างความรู้ด้านการเข้าถึงBig Data ด้านการเกษตร รวมทั้งทักษะการบริหารจัดการเพื่อยกระดับเป็นผู้ประกอบการในอนาคต

4) SEC: การพัฒนาแรงงานภาคการเกษตรและแปรรูป ประมง การค้าและท่องเที่ยว

ส่วนการสนับสนุนผู้ประกอบการนั้น ควรส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพในการประกอบธุรกิจ/ลงทุนในกิจการเป้าหมายของพื้นที่และสามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการในการดําเนินธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมและบริการที่สอดคล้องกับจุดเด่น/โอกาสของพื้นที่ โดยการบ่มเพาะผู้ประกอบการท้องถิ่น การพัฒนาผู้ให้บริการ (Service Provider) การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคธุรกิจ

2) การวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการยกระดับการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคการผลิตบริการ

โดยสนับสนุนการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างภาคีการพัฒนา ได้แก่ ภาครัฐ ภาคศึกษา ชุมชน และเอกชนในพื้นที่ ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมและการแลกเปลี่ยนข้อมูล/องค์ความรู้ ระหว่างภาคีการพัฒนา โดยเฉพาะการถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้แก่ SMEs หรือ Micro SMEs วิสาหกิจชุมชน และสตาร์ทอัพ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ภาคเอกชนที่กําลังเติบโตและเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ให้สามารถเชื่อมโยงและไต้รับประโยชน์จากการพัฒนา ซึ่งจะส่งผลให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน

3) การปรับปรุงหลักสูตรของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมการผลิตและพัฒนากําลังคนรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยมีสภาพปัญหาที่พบในปัจจุบัน อาทิ การผลิตกําลังคนที่ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม การขาดแคลนกําลังคนในสายวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ การเรียนที่ไม่ตรงความต้องการของตลาดหรือการประกอบอาชีพ การวางแผนด้านกําลังคนที่มีสมรรถนะสูงเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมายของการเป็นประเทศพัฒนาแล้วสําหรับ“การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ” เป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีความสําคัญในการพัฒนาประเทศซึ่งแต่ละภาคส่วนควรมีการร่วมมือและบูรณาการภายใต้บทบาทและภารกิจของตน โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนสถาบันอุดมศึกษา ได้ผลักดันการพัฒนากําลังคนมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ หลักสูตรระดับปริญญาตรี โท เอก โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ โครงการสหกิจศึกษาและการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน (Cooperative and Work Integrated Education (CWIE)) และแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ (Thailand Massive Open Online Courses (Thai MOOC)) ซึ่งได้มีการพัฒนาต่อยอดต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะการพัฒนา หลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

การขับเคลื่อนการเชื่อมโยงจังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน

และสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย-อันดามัน ของภาคีเครือข่ายความร่วมมือสถาบันการศึกษาในพื้นที่

“Unity of Universities”

 

ดำเนินการสำรวจ ศึกษา สร้างความรู้ความเข้าใจ และพัฒนากลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่ แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

1. เพื่อยกระดับการพัฒนาและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์และสุขภาพแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

§  การสร้างการรับรู้สร้างความตระหนักแก่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และสาธารณชนทั่วไป เช่น กิจกรรมแถลงข่าว และการประชาสัมพันธ์ (Media Kick Off)

§  การจัดตั้งภาคีคณะกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และสุขภาพ ระดับจังหวัด

§  การคัดเลือกชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ/การคัดเลือกผู้นำชุมชน/นวัตกรชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว

o   การยกระดับศักยภาพนวัตกรชุมชนเพื่อสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 5 for all

o   การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มรดกทางวัฒนธรรม

o   การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มุ่งเน้นการกระจายสินค้าชุมชนผ่านการส่งเสริมการตลาดสู่ตลาดโลก

o   การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ทางวัฒนธรรม/ศูนย์แสดงสินค้าท้องถิ่น

§  การยกระดับศักยภาพกลุ่มเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 5 for all ภายในจังหวัด SEC และเส้นทางเชื่อมโยงระหว่าง 3 จังหวัด

§  การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บไซต์ การพัฒนา Application เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมเส้นทางการท่องเที่ยว และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

§  การจัดทำแผนแม่บท (Master Plan) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การยกระดับการพัฒนาและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และสุขภาพแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ภายใต้ภาคีเครือข่าย 3 จังหวัด

2.เพื่อออกแบบและพัฒนาการเชื่อมโยงพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี สู่เมืองอัจฉริยะและเมืองแห่งการเรียนรู้อย่าง ยั่งยืน

§  การพัฒนากลไกสร้างสรรค์และขับเคลื่อนเชิงพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานีผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

§  การพัฒนาขีดความสามารถในพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานีผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสู่เมืองอัจฉริยะและเมืองแห่งการเรียนรู้ในอนาคต

§  การยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสำหรับพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะและเมืองแห่งการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

§  การจัดประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะ และถอดบทเรียนองค์ความรู้ใหม่และแนวการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายจังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

 

3.เพื่อยกระดับการพัฒนากำลังคนและระบบโลจิสติกส์ทางรางและท่าเรือเพื่อเชื่อมโยงสู่ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

§  การประชุมร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายกำหนดทิศทางเป้าหมายในการดำเนินงาน

§  การสำรวจและวิเคราะห์พื้นที่

§  การศึกษาและยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนากำลังคนแรงงานทางด้านโลจิสติกส์ระบบรางและท่าเรือ (การพัฒนาทักษะก าลังคน (Skill Framework) ทางด้านโลจิสติกส์ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะกำลังคน (Skill Framework) ทางด้านโลจิสติกส์

§  การสร้างการรับรู้เพื่อเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์สะพานเศรษฐกิจ อ่าวไทย-อันดามัน สู่ชุมชนในพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

§  การจัดทำผลการศึกษาและแผนแม่บทในการพัฒนากำลังคนในระบบการขนส่งโลจิสติกส์ระบบรางและท่าเรือเชื่อมโยงเครือข่าย 3 จังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

§  การจัดทำเวทีคืนข้อมูลให้กับพื้นที่ ชุมชน ถ่ายทอดเทคโนโลยี

§  การจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ หลักสูตรการพัฒนากำลังคน และแนวทางการบูรณาการภาคีเครือข่ายทางด้านโลจิสติกส์

4.เพื่อยกระดับการพัฒนากำลังคนด้านภาษาจีน อังกฤษ พม่า เพื่อรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

§  การชี้แจงความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ และทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาก่อนเข้าอบรม

§  การจัดอบรมภาษาอังกฤษครั้งที่ 1-4

§  การจัดอบรมภาษาอังกฤษครั้งที่ 4-8 และทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาหลังเข้าอบรม

§  การทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาจีนก่อนเข้าอบรมและจัดอบรมภาษาจีนครั้งที่ 1-4

§  การจัดอบรมภาษาจีนครั้งที่ 4-8 และทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาจีนหลังเข้าอบรม

§  การทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาพม่าก่อนเข้าอบรม และจัดอบรมภาษาพม่าครั้งที่ 1-4

    การจัดอบรมภาษาพม่าครั้งที่ 4-8 และทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาพม่าหลังเข้าอบรม


เขียนโดย : น.ส.ปุณชยา  บัณฑิตกุล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : puny13@hotmail.com