IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง  192

คำสำคัญ : วิสัยทัศน์  รัฐบาล  นโยบาย  IGNITE  

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision “IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก

22 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น.  ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล

..............................................................

IGNITE Thailand กับศักยภาพ 8 ด้าน สามารถทำให้ไทยก้าวไปเป็นเบอร์ 1 ได้

Tourism Hub ศูนย์กลางการท่องเที่ยว

ประเทศไทย มีขนาดอยู่ดันดับที่ 50 ของโลก แต่มีนักท่องเที่ยวเป็นอันดับ 8 ของโลก ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหล่อเลี้ยงครอบครัวคนไทยกว่า  1 ใน 3 รายได้หลักของคนไทยมาจากการท่องเที่ยว คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 2.3 ล้านล้านบาท การท่องเที่ยวเป็นจุดแข็งของประเทศ ทั้งด้านธรรมชาติ ประวัตศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และสยามเมืองยิ้ม โดย 4 มาตรการยกระดับการท่องเที่ยวเพื่อดึงศักยภาพของประเทศ ได้แก่

1) ทุกจังหวัดทั้งเมืองหลัก เมืองรองต้องเป็นเมืองท่องเที่ยว แต่ละจังหวัดมีจุดแข็ง ต้องยกระดับเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเฟ้นหา Soft Power เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อหาเสน่ของประเทศไทย

2) ประเทศไทยจะไม่หลับไหล เราต้องดึงนักท่องเที่ยวและนักลงทุนเข้ามาในประเทศโดย โดยจัดงานเทศกาล งานศิลปวัฒนธรรม คอนเสิร์ตระดับโลก งานแสดงสินค้า ผลักดันโดยรัฐบาล

3) ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง เรามีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดใน CLMVเราสามารถกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางในภูมิภาค และใน CLMVรวมไปถึงการยกระดับFREEVISAผลักดันให้ไทย เป็น Homestayของคนทั่วโลก

4) แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยว เช่น เวลาเปิด-ปิดสถานบริการการจำหน่ายแอลกอฮอล์สนับสนุนการฉลองในสนามกีฬา

Wellness & Medical Hub ศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ

ระบบการรักษาพยาบาลของประเทศไทยมีชื่อเสียงระดับโลก เรามีสถานพยาบาลระดัง World Class ที่ต่างชาติเข้ามารักษาเป็นจำนวนมาก บุคลากรมีคุณภาพและ Service Mind เป็นที่ยอมรับ ค่าใช้จ่ายสมเหตุสมผล เราต้องโปรโมทให้ต่างชาติเข้ามา แก้ปัญหาเรื่องสวัสดิการ เช่น ประกันสุขภาพ ผลักดันการแพทย์แผนไทย นวดแผนไทย สปาแผนไทย สมุนไพร และประชาชนคนไทยต้องได้รับการดูแล พัฒนาระบบสุขภาพสำหรับคนไทย ไทยจะกลายเป็น Medical Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีระบบพยาบาลชั้นเลิศสำหรับคนไทย กลายเป้นจุดขายนำเงินเข้าประเทศ

Agriculture & Food Hubศูนย์กลางเกษตรกรรมและอาหาร

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมนำ เรามีวัตถุดิบที่ดี อาหารที่โดดเด่น ร้านอาหารได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ต้องเฟ้นหาและนำเสนอร้านอาหารจากทั่วประเทศ ต้องยกระดับเกษตรกรรม ส่งเสริมเกษตรกรไทย ทำให้ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในกระเป๋าต้องมีเงิน” ดูแลทั้งดิน น้ำ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พันธุ์ปลา และแหล่งชลประทาน ให้ความสำคัญกับความแม่นยำทางการเกษตร Precision Agriculture  การเลี้ยงสัตว์ และฝุ่น PM 2.5 สนับสนุนสินค้าเกษตรทั้งประเทศไปสู่ตลาดโลก ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นปัจจัยทางด้านอาหารของโลก พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต การวิจัยพัฒนาอาหารโปรตีนสูงจากพืช สนับสนุนเพิ่มการผลิตปริมาณอาหารและโภชนาการ พัฒนาอาหารแบบดั้งเดิม อาหารแห่งอนาคต Halal อาหารเสริม เพิ่มจำนวนร้านอาหารมิชลิน เชลล์ชวนชิม ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาหารของภูมิภาค กลายเป็นปัจจัย 4 ของโลกในด้านอาหารเกษตรกรต้องมีรายได้มากขึ้น 3-4 เท่า  

Aviation Hub ศูนย์กลางการบิน

ประเทศไทยมีจุดแข็งทางภูมิศาสตร์ มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและการขนส่ง เพื่อเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวร้านอาหาร ที่พัก โรงพยาบาล การพัฒนาในทุกมิติเป็นเรื่องสำคัญมาก สนามบินสุวรรณภูมิต้องเป็น Hub ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งของโลก แนวทางคือ เปลี่ยนให้ไทยเป็นศูนย์การซ่อมบำรุงของภูมิภาค เพิ่มศักยภาพการบริการและจำนวนบุคลากร สร้างระบบขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ขยายโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาให้เป็นจุดแวะพักได้นานขึ้น ยกระดับการบริการภาคพื้น เชื่อมต่อไปยังเมืองรองและประเทศรอบข้าง

Logistic Hubศูน์กลางทางการขนส่ง

ประเทศไทยต้องพัฒนาระบบคมนาคมทั้งในและนอกประเทศ เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจกระจายความเจริญจากเมืองใหญ่สู่เมืองเล็ก ขยายถนนหลัก ถนนรอง ขยาย Motor way ขยายทางหลวงแผ่นดิน 4 เลน ขยายระบบรางให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งการเพิ่มระยะทางรถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าความเร็วสูง เชื่อมต่อท่าเรือน้ำลึก และยังมี Mega Project คือ Landbridge ซึ่งเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 20ปี แต่ต้องยกระดับการบริการควบคู่กันไปด้วย พัฒนา One Stop Single Window

Future Mobility Hubศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต

เรามีการตั้งโรงงานด้าน EV เป็นอันดับ 2 ของเอเซีย เราต้องผลักดัน ส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้เกิดห่วงโซ่อุปทาน เป็น Ecosystem ในประเทศ ทั้งด้าน แบตเตอรี่ ชิ้นส่วน Software Hardware ยาง สถานีชาร์จ การบริหารจัดการกับขยะที่เกิดขึ้น การ Recycle จะพยายามดึงบริษัทยานยนต์ระดับโลกเข้ามาลงทุนในประเทศ

Digital Economy Hubศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล

เรามีบุคลากรที่มีความพร้อม แต่ยังขาดโอกาส มีสถานศึกษา มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม รัฐบาลตั้งเป้าดึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคต Digital for all Technology Innovation AI ให้มาขยายธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะเทคโนโลยี High Tech ต่าง ๆ ทั้งการลงทุนโรงงานผลิต Semiconductor, การตั้งศูนย์ Data Center รองรับ Cloud Computing, การวิจัยและนำ AI มาใช้งานในประเทศไทย รวมถึงดึงบริษัท Deep Tech ให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยด้วยเช่นกันผ่านโมเดล Sandboxตั้งกองทุนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และจะทำ Matching Fund เติมทุนให้กับบริษัทที่มีศักยภาพด้วย เปลี่ยน Mindset ให้เป็นการทำ R&D เพื่อดึงคนเก่งๆ ไว้ไม่ให้ไปอยู่ต่างประเทศ

Financial Hub ศูนย์กลางทางการเงิน

ธนาคารไทยมีศักยภาพสูงมาก เราต้องมีระบบการเงินที่แข็งแกร่ง ดึงสถาบันการเงินระดับโลกเข้ามาลงทุน เปลี่ยนให้ไทยเป็น Financial Center of Southeast Asiaพัฒนา Infrastructure รองรับระบบการเงินแห่งอนาคตขับเคลื่อนโดยใช้ Blockchainเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ต้องมีกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล Digital Assetพัฒนาระบบการเงินเพื่อความยั่งยืน Carbon Credit Trading

นอกจากเป้าหมายความเจริญทางเศรษฐกิจ ยังต้องพัฒนาด้านสังคมด้วย ทั้งเรื่อง E-Government ศักดิ์ศีและความเท่าเทียม Soft Power ความมั่นคงด้านพลังงาน การศึกษา ความปลออดภัยและความมั่นคง

ซึ่งการพัฒนาทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน บูรณาการการทำงานร่วมกัน

แล้วบทบาทของ อว. อยู่ตรงไหน?

เรามีทั้งสถาบันอุดมศึกษา มีหน่วยงานในสังกัดซึ่งมีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดังนั้น จะเห็นว่าเราทั้งมีบุคลากรที่มีศักยภาพ ในสหสาขาวิชา เรามีองค์ความรู้ มีงานวิจัย มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากมาย ที่ทำแล้วพร้อมถ่ายทอด กำลังทำ และมีศักยภาพในการทำในอนาคต ทั้งที่อยู่ในหน่วยงานในสังกัด และในมหาวิทยาลัย ดังนั้น อว. สามารถสนับสนุนการพัฒนาได้ในทุกด้านตามที่รัฐบาลต้องการขับเคลื่อน อย่างไรก็ตาม ต้องอาศัยการผลักดัน สั่งการณ์ในระดับนโยบาย และหน่วยปฏิบัติต้องมีการดำเนินงานที่สอดคล้องตามนโยบาย เพื่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดการขับเคลื่อนไปพร้อมกันในระดับประเทศ


เขียนโดย : น.ส.กมลวรรณ  สุนทรเกตุ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : kamonwan.s@mhesi.go.th