จากวิสัยทัศน์ Thailand Vision “IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” หากจะเน้นมุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพจะเริ่มอย่างไร  265

คำสำคัญ : Wellness-Medical-Hub  ignite  

วิสัยทัศน์ Thailand Vision “IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” มุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน วิสัยทัศน์ที่ 1 Tourism Hub (ศูนย์กลางการท่องเที่ยว)
เฟ้นหา Soft Power โดยเฉพาะศิลปะป้องกันตัว มวยไทย และจะผลักดัน จ.น่านให้เป็นเมืองมรดกโลก รวมทั้งจะเปิดฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวในหลายประเทศ เช่น จีน คาซัคสถาน อินเดีย และไต้หวัน
วิสัยทัศน์ที่ 2 Wellness & Medical Hub (ศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ)
จะผลักดันอุตสาหกรรมสาธารณสุข ตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์ดูแลสุขภาพครบวงจรของโลก และจะพัฒนาระบบประกันสุขภาพของคนไทย จาก 30 บาท รักษาทุกโรค ยกระดับไปเป็น 30 บาทรักษาทุกที่ ใช้ AI เชื่อมฐานข้อมูลทั้ง 77 จังหวัดด้วยบัตรประชาชนเพียงใบเดียว รวมทั้งจะผลักดันการแพทย์แผนไทย
วิสัยทัศน์ที่ 3 Agriculture & Food Hub (ศูนย์กลางเกษตรกรรมและอาหาร)
จะยกระดับการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตรดูแลความมั่นคงทางอาหารของโลก พร้อมเป็นครัวของโลกที่สามารถปรุงอาหารทุกประเภทส่งออกไปยังตลาดโลก
วิสัยทัศน์ที่ 4 Aviation Hub (ศูนย์กลางการบิน)
ประเทศไทยรายล้อมไปด้วยประชากรกว่า 280 ล้านคน ติดอันดับ 5 ของประชากรโลก รัฐบาลมีแผนจะพัฒนาสนามบินให้รองรับการ Transit ของสายการบิน และเตรียมปรับเปลี่ยนเส้นทาง ตารางบินให้เหมาะสม เพื่อเพิ่ม Transit Capacity ให้สูงขึ้น
วิสัยทัศน์ที่ 5 Logistic Hub (ศูนย์กลางการขนส่ง)
จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มศักยภาพระบบคมนาคมทั้งในและต่างประเทศ โดยมีแผนจะเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ กระจายความเจริญจากเมืองใหญ่สู่เมืองเล็ก ตั้งแต่การปรับปรุงสนามบินทั้งระบบ ขยายถนนทั้งถนนหลัก ถนนรอง และจะเป็นศูนย์กลางขนส่งผ่าน Land Bridge เชื่อมสองฝั่งมหาสมุทรอันดามัน-อ่าวไทย
วิสัยทัศน์ที่ 6 Future Mobility Hub (ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต)
ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต ส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าทำให้เกิดห่วงโซ่อุปทาน เป็น ECOSYSTEM ในประเทศ มีเป้าหมายจะมีแผนการลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท
วิสัยทัศน์ที่ 7 Digital Economy Hub (ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล)
ประเทศไทยเรามีนักพัฒนาซอฟต์แวร์กว่า 3 แสนคน เน้นการลงทุนโรงงานผลิต Semiconductor, การตั้งศูนย์ Data Center และจะทำ Matching Fund
วิสัยทัศน์ที่ 8 Financial Hub (ศูนย์กลางทางการเงิน)
 ยกระดับ ตลาด SET ไทย ตั้งเป้า มีMarket Cap ที่ใหญ่ที่สุดใน ASEAN จะออกกฎหมายรองรับสิทธิ Digital Asset รวมถึงจะตั้งศูนย์ซื้อ-ขาย Carbon Credit ของภูมิภาคในประเทศไทย

 

 

[วิสัยทัศน์ที่ 2 ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub)]

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่ารัฐบาลจะผลักดันอุตสาหกรรมสาธารณสุข ให้เป็นศูนย์ดูแลสุขภาพครบวงจรของโลก ด้วยเพราะระบบการรักษาพยาบาลของประเทศไทยมีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งศาสตร์การดูแลสุขภาพแผนไทยที่มีชื่อเสียง บุคลากรที่มีคุณภาพและ Service Mind ทั้งยังสามารถดูแลได้ครอบคลุมตั้งแต่เกิดไปจนถึงวัยชรา และรักษาได้ทุกโรค ที่สำคัญมีค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล จนกลายเป็นอีกจุดขายดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเมืองไทยเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลในปี 2566 พบว่า การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ สร้างเม็ดเงินได้กว่า 4 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้รัฐบาลจะเดินหน้าพัฒนาระบบประกันสุขภาพของคนไทย จาก 30 บาทรักษาทุกโรค ยกระดับไปเป็น 30 บาทรักษาทุกที่ ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้คนไทยเข้าถึงระบบรักษาพยาบาลที่ดีขึ้นทั้งในโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน ใช้ AI เชื่อมฐานข้อมูลทั้ง 77 จังหวัดด้วยบัตรประชาชนเพียงใบเดียว ซึ่งในขณะนี้นำร่องไปแล้ว 4 จังหวัด และคาดว่าจะครบทุกจังหวัดในสิ้นปีนี้

นอกจากนี้รัฐบาลจะเพิ่มจำนวนหมอ และพยาบาลให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน พร้อมทั้งจะพัฒนาคุณภาพ ยกระดับชีวิตบุคลากรให้ดีกว่าเดิม และจะผลักดันการแพทย์แผนไทย นวดแผนไทย สปาแผนไทย สมุนไพร รวมทั้งจะสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ทำใบรับรองประกาศนียบัตร และผลักดันให้ไปเปิดศูนย์ Wellness Center ได้ในต่างประเทศ

สำหรับภาคเอกชนมีการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะยกระดับให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub อย่างเต็มรูปแบบ จึงมีการพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการแพทย์ที่ทันสมัย (Medical Service) วัสดุและอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ (Medical device) ยาและเวชภัณฑ์สมัยใหม่ (Medical Product) เพื่อสร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพและการแพทย์อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ

ภาคเอกชนไทยได้พัฒนางานวิจัยด้านการแพทย์ในหลายมิติเช่น ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip นวัตกรรมที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัทไอเมด ลาบอราทอรี่ ซึ่งสามารถรู้ผลการตรวจวัณโรคโดยใช้เวลาเพียง 40 นาที เหมาะกับการใช้ในโรงพยาบาลขนาดเล็ก โรงพยาบาลสนาม หรือสถานอนามัยในชุมชน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วครอบคลุมได้มากขึ้นช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อวัณโรค ปัจจุบันมีการนำไปใช้จริงในโรงพยาบาลอุ้มผางจังหวัดตาก และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อผลิตขายในเชิงพาณิชย์ทดแทนการนำเข้าชุดตรวจจากต่างประเทศ

ทั้งหมดเป็นแนวทางที่ได้สิ่งที่ได้มีการพัฒนาเป็นแผนและแนวทางที่ชัดเจนและมีผลเชิงปฏิบัติจริง สิ่งที่ผมอยากเสนอเพิ่มเติมคือปัจจุบันเรายังขาดการเชื่อมต่อ Value Chain ต่างๆ

ให้เกิดความค่อเนื่อง กัน เป็นรูปแบบ Triple Helix Model ที่มีการเชื่อมต่อองค์ความรู้ แหล่งทุน นโยบายของทั้งภาคราชการ เอกชน สถาบันการศึกษาให้มีความแข็งแกร่ง เป็นระบบ และเกิดการเชื่อมโยงให้เกิดความเข้มแข็งของทั้ง 3 เสาหลัก ซึ่งในอนาตคสามารถต่อยอดสู่ Quadruple Helix Model สู่ภาคสังคม ครั้งหน้าจะขอเสนอแผนที่ได้ทำ RoadMap ไว้ ดังภาพครับ


เขียนโดย : นายทินกร  รสรื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tinnakorn.r@mhesi.go.th

ข้อมูลดีมากครับ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาแพบตฟอร์มเพื่อการพัฒนา ผปก. ด้าน Life Care ได้เลยครับ

เขียนโดย นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ