แนวทางการพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์เขตเศรษฐกิจพิเศษ  152

คำสำคัญ : เขตเศรษฐกิจพิเศษ  Education  Sandbox  

การสัมมนา เรื่อง บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย

โดยคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา

เมื่อวันพุธที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗

ณ ห้องพระพรหม ชั้น ๓ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

....................................................................................

 

ประเด็นที่สนใจเป็นกรณีพิเศษ : มุมมองหอการค้า เกี่ยวกับ “การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ”

ในเรื่อง“แนวทางการพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์เขตเศรษฐกิจพิเศษ”

ที่มา:https://www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=935383878207648

เนื่องจากผู้เขียนมีโอกาศรับทราบประเด็นปัญหานี้จากที่ประชุม 2 การประชุม ประกอบด้วย

          - การประชุมที่ 1 ในที่ประชุม Thailand Soft Power ห้องประชุมกลุ่มท่องเที่ยว ได้กล่าวถึงความต้องการนักศึกษาสาขาการโรงแรมและบุคลากรให้บริการด้านต่างๆ ที่มีวุฒิการศึกษาระดับ ปวช./ปวส.
โดยระบุว่าวุฒิการศึกษาระดับนี้ก็เพียงพอสำหรับการให้บริการ แต่จำนวนนักศึกษาเหล่านี้มีน้อยมาก ในขณะที่บัณฑิตวุฒิ ป.ตรี สนใจทำงานสายบริการน้อยและศักยภาพการบริการไม่ต่างจากวุฒิ ปวช./ปวส.

          - การประชุมที่ 2 ในที่ประชุมหารือระหว่าง ผอ.กปว. กับ สมาคมวิชาการและวิชาชีพด้าน วท.
ได้กล่าวถึงการพัฒนากำลังคนให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน โดยมุ่งเน้นสายงานที่มีความต้องการสูง โดยเฉพาะงานในระดับอุตสาหกรรม

          ทั้ง 2 การประชุมมีมุมมองที่สอดคล้องกับหอการค้า ในเรื่องประเด็นปัญหาหลักของการพัฒนากำลังคนของประเทศไทย 2 ประการสำคัญ ได้แก่

          1. อัตราความต้องการแรงงานสูง แต่ขาดแคลนแรงงานทักษะสูงด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมและภาษา

          2. การผลิตคนยังไม่ตอบโจทย์รองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต  
              (Specialize /Multi-tasking Skill)

โดยหอการค้าได้เสนอแนวทางการพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์เขตเศรษฐกิจพิเศษ ดังนี้

          1. Mindset การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ส่งเสริมการปลูกฝังแนวคิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน --> สอดคล้องกับงานของสมาคมวิชาการและวิชาชีพด้าน วท. ในโครงการ STI Mindset ที่จะบ่มเพาะครูผู้สอบวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและสอดแทรกวิธีการที่ครูผู้สอนใช้บ่มเพาะ STI Mindset ให้กับนักเรียน สร้างแนวทางให้ครูพัฒนานักเรียนให้มีความคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาบนฐานวิทยาศาสตร์

          2. Reskill-Upskill-Newskill ทักษะสำคัญ / หลักสูตรระยะสั้น Non-Degreeเรียนรู้และปรับตัวทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ (หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ) และยกระดับการมีรายได้สูงขึ้น --> ที่ผ่านมา กปว. ได้ร่วมดำเนินงานโครงการ U2T โดยได้จัดทำหลักสูตรออนไลน์สำหรับพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ของผู้เข้าร่วมโครงการ

          3. CWIE หนึ่งในกลไกตอบโจทย์การพัฒนาบุคลากร ให้พร้อมสู่โลกการทำงาน มีสมรรถนะตรงตามความต้องการตลาดแรงงาน / Micro Credential เรียนลักษณะ Module สลับกับการทำงานจริงและเน้นสร้าง Competency -->ในส่วนนี้ กปว. มีกลไกอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและศูนย์ประสานงานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมประจำภูมิภาค สนับสนุนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคต่าง ๆ

          4. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) ผลักดันการทดลองพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนแต่ละพื้นที่อย่างอิสระ และสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา --> อว. โดย สอวช. จัดทำ6 หลักสูตร Sandbox เพื่อตอบโจทย์ประเทศ (ที่มา: https://www.nxpo.or.th/th/15515/) ดังนี้

                   4.1 หลักสูตรการผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ นำโดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สถาบันพระบรมราชชนก ตั้งเป้าผลิตกำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ ระดับ
ผู้ประกอบโรคศิลปะ

                   4.2 หลักสูตรการผลิตบุคลากร High-tech Entrepreneur นำโดย International School of Management (ISM) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ Harbour.Space University ประเทศสเปน หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (Thaichamber) และบริษัทต่าง ๆ ตั้งเป้าผลิตกำลังคน
ที่มีความรู้ขั้นแนวหน้า (frontier knowledge) ด้านเทคโนโลยี

                   4.3 หลักสูตรการผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล นำโดยมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล และสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยอีก 5 แห่ง ตั้งเป้าผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล

                   4.4 หลักสูตรการผลิตกําลังคนศักยภาพสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และแนวคิดเชิงนวัตกรรม นำโดยวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชวิทย์) ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และสถาบันอุดมศึกษาตั้งเป้าผลิตกําลังคนทักษะสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และแนวคิดเชิงนวัตกรรม

                   4.5 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป้าผลิตวิศวกรคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล

                   4.6 หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินนานาชาติ โดยมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ตั้งเป้าผลิตกำลังคนในกลุ่มพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendant)


เขียนโดย : น.ส.เดือนเพ็ญ  อาจไธสง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : duenpen.a@mhsri.go.th