GDA  181

คำสำคัญ : ฉลากโภชนาการ;  GDA  

GDA (Guideline Daily Amounts) คือการแสดงปริมาณและปริมาณสูงสุดเป็นร้อยละของพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่บริโภคได้ต่อวัน ตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กำหนด และแสดงไว้ที่ส่วนหน้าของฉลาก

โดยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 394) พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอ จำนวน 13 กลุ่ม (ตามประกาศฯ)

รูปแบบของฉลาก GDA (Guideline Daily Amounts) 

     

- รูปทรงกระบอกหัวท้ายมนแนวตั้งเรียงติดกัน จำนวน 4 แท่ง เพื่อแสดงค่าพลังงานน้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ตามลำดับ

- สีขอบของทรงกระบอกให้แสดงสีใดสีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ สีดำ หรือสีน้ำเงินเข้มหรือสีขาว แล้วแต่กรณีและต้องตัดกับสีพื้นของฉลาก

- สีพื้นภายในรูปทรงกระบอกต้องเป็นสีขาว เท่านั้น 4 เส้นขีดภายในรูปทรงกระบอกทุกเส้นให้เป็นเส้นสีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม และต้องเป็นสีเดียวกับสีตัวอักษรที่แสดงภายในรูปทรงกระบอก

- กลุ่มอาหาร ได้แก่ อาหารขบเคี้ยว ช็อกโกแลตและขนมหวานรสช็อกโกแลต และผลิตภัณฑ์ขนมอบ ให้เพิ่มข้อความ “บริโภคแต่น้อยและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ”

- ส่วนที่ 1: แสดงข้อความ “พลังงาน” “น้ำตาล” “ไขมัน” และ “โซเดียม”

- ส่วนที่ 2 แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม เป็นค่าต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ที่คำนวณได้จากปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคคูณจำนวนหน่วยบริโภค

- ส่วนที่ 3 แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมเป็นร้อยละของปริมาณสูงสุดที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน โดยปริมาณสูงสุดอ้างอิงจากค่าพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี ; น้ำตาล 65 กรัม ; ไขมัน 65 กรัม ; โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม

ทั้งนี้หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยนะคะ

อ้างอิง:

https://food.fda.moph.go.th/media.php?id=513422120886345728&name=train_GDA.pdf

https://gda.oryor.com/about.php

https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/264/T_0012.PDF


เขียนโดย : เอสา  เวศกิจกุล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : asa.v@mhesi.go.th