“รัก-อกหัก” ในทางวิทย์ฯ  161

คำสำคัญ : hormone  วิถีวิทย์  

  “รัก-อกหัก” ในทางวิทย์ฯ

เมื่อเรามี ความรัก หรือ อกหัก ร่างกายของเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง?

เพราะไม่มีใครที่จะสมหวังในความรักทุกครั้ง คงต้องมี อกหัก กันบ้าง ดังนั้น การดูแลประสบการณ์ด้านความรักของเราที่สร้างผลกระทบต่อกับร่างกาย จะช่วยให้สุขภาพของของเราดีขึ้น และนำไปสู่การมีชีวิตที่ยืนยาว ซึ่งจะให้ช่วยดูแลความสัมพันธ์ให้ยืนยาวอีกด้วย ไม่ว่าวาเลนไทน์ปีนี้จะเป็นวันที่คุณรอคอย หรือไม่อยากให้มาถึง แต่สมองของเรามักมองหาความรักและพยายามให้รางวัลกับการลงในความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น และมักจะกระตุ้นให้เราสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เสมอ เพื่อเชื่อมต่ออะไรบางอย่างที่หายไป

“ความรักเป็นสิ่งจำเป็นทางชีวภาพที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล เช่นเดียวกับน้ำจืด อาหาร และการออกกำลังกาย” สเตฟานี คาซิออปโป (Stephanie Cacioppo) นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยโอเรกอน และผู้เขียนหนังสือชื่อ ‘Wired for Love : A Neuroscientist’s Journey Through Romance’ กล่าว

แม้ว่า “หัวใจ” มักจะถูกพูดถึงอยู่เสมอเกี่ยวกับความรัก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเกือบทั้งหมดนั้นมาจาก “สมอง” ซึ่งได้รับการตั้งโปรแกรมตามวิวัฒนาการให้ผลิตและปล่อยฮอร์โมน เมื่อเราเจอกับความน่าดึงดูด ความรักใคร่ และความผูกผันในความสัมพันธ์

“เนื่องจากความรักมีความสำคัญต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงการสืบพันธุ์ของเรา (ความรัก) จึงไม่สามารถปล่อยให้เป็นการเรียนรู้ไปเองเรื่อยๆ ได้” ซู คาร์เตอร์ (Sue Carter) ผู้อำนวยการกิตติมาศักดิ์ของสถาบันคินซีย์ ในรัฐอินเดียนา และนักชีววิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านความผูกพันทางสังคม กล่าว

การทำความเข้าใจว่า สมองรับและส่งสัญญาณทำงานอย่างไร รวมถึงหากสัญญาณเหล่านั้นมีไม่เพียงพอจะเกิดอะไรบ้าง จะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการสำรวจโลกแห่งความสัมพันธ์ ความรัก การอกหัก และการสูญเสีย

เมื่อฮอร์โมนลงมาเป็นผู้เล่น

จิตใจและร่างกายใช้ระบบเครือข่ายของสารสื่อประสาทกับโมเลกุลเคมีที่หลากหลาย เพื่อประสานการทำงานต่าง ๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่ออารมณ์ของเรา และสารเคมีเหล่านี้ถูกเรียกว่า ‘ฮอร์โมน’ มันเป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย ซึ่งเชื่อมโยงเข้าด้วยกันผ่านโครงสร้างที่สำคัญในสมอง ไม่ว่าจะเป็น ไฮโปทาลามัส ฮิปโปแคมปัส อะมิกดาลา ทาลามัส ปมประสาทฐาน หรือ ไจรัสซิงกูเลต์

โดยรวมแล้ว โครงสร้างเหล่านี้ประกอบกันเป็นระบบที่เรียกว่า ‘ลิมปิก’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดของสมองในแง่วิวัฒนาการ นี่คือที่จัดเก็บความทรงจำ การประมวลผลกลิ่น และเป็นบริเวณสมองหลักที่เกี่ยวข้องกับความน่าดึงดูดใจและความเสน่หา

มันช่วยให้ฮอร์โมนต่าง ๆ “กระตุ้นเราที่จะแนะนำตัวเอง และลดความกลัวต่าง ๆ เมื่อเราพบคู่เดทใหม่ครั้งแรก อีกทั้งยังทำให้เรารู้สึกราวกับว่าเราเป็นเนื้อคู่ใครสักคนเมื่อเวลาผ่านไป” ซินเทีย คูบู (Cynthia Kubu) นักประสาทวิทยาที่ศูนย์ฟื้นฟูระบบประสาทของคลิฟแลนด์คลินิก ในรัฐโอไฮโอ กล่าว

ฮอร์โมนความรักทั้ง 7

เมื่อเราพูดถึงอารมณ์ที่เชื่อมโยงกับความรัก ฮอร์โมนเหล่านี้มักจะมีบทบาทสำคัญเป็นพิเศษในเหตุการณ์นั้น และนี่คือทั้งหมด

ออกซิโทซิน (Oxytocin) เป็นฮอร์โมนที่ได้รับฉายาว่า ‘ฮอร์โมนแห่งความรัก’ เนื่องจากมันช่วยสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมให้กับเรา เพิ่มความไว้วางใจ และทำให้ความรู้สึกน่าดึงดูดใจนั้นลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยมักจะหลั่งออกมาเมื่อคนสองคนมีส่วนร่วมในการสนทนา สัมผัส เล่นด้วยกัน หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่น ๆ

“ออกซิโทซินช่วยเพิ่มความรู้สึกผูกพัน และผูกมัดต่อใครสักคน” เทเรซา ลาร์คิน (Theresa Larkin) รองศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของบัณฑิตวิทยาลัยแพทยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยวูลลองกองในออสเตรเลียกล่าว

และบางครั้งมันก็ทำให้ความทรงจำของเราเจ็บปวด (ที่เกี่ยวกับคนรักเก่า) แสดงให้เห็นว่าฮอร์โมนตัวนี้ก็มีด้านมืดเช่นกัน

วาโซเพรสซิน (Vasopressin) ฮอร์โมนที่กระตุ้นความรู้สึกตื่นเต้นที่เกี่ยวข้องกับการรักผู้อื่น มันถูกกระตุ้นจากพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นผลมาจากออกซิโทซินอีกทอดหนึ่ง งานวิจัยระบุว่ามันทำให้เรารู้สึกต้องการที่จะปกป้องคนที่เราห่วงใยมากขึ้นเมื่อมีภัยคุกคาม ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นเช่นกันว่า สารเคมีตัวนี้ทำให้เกิดความรู้สึกครอบครองหรืออิจฉาริษยาได้ (แต่ก็สามารถบรรเทาได้ด้วยออกซิโทซิน)

“ออกซิโทซินและวาโซเพรสซิน เป็นการเต้นรำแบบไดนามิกที่ช่วยอธิบายประโยชน์และตุ้นทุนในด้านที่เกี่ยวข้องกับความรักต่าง ๆ” คาร์เตอร์อธิบาย

โดปามีน (Dopamine) หนึ่งในฮอร์โมนที่เป็นรางวัลแห่งความรู้สึกดีซึ่งได้รับการศึกษามากที่สุดในร่างกาย มันทำให้เรารู้สึกดีเมื่อทำอะไรบางอย่าง เช่น อาหาร ออกกำลังกาย หรือแม้แต่ยา ในด้านคู่รัก โดปามีนมักจะหลั่งออกมาจำนวนมากเมื่อมีการจูบ หรือมีเพศสัมพันธ์

“เมื่อโดปามีนถูกปล่อยออกมา มันจะกระตุ้นเส้นทางการให้รางวัลที่ทำให้เกิดความรัก ‘สูง’ และเพิ่มความปราถนาพร้อมกับแรงจูงใจที่จะอยู่กับความรักของเรา” ลาร์คิน กล่าว การตอบสนองนี้เข้มข้นพอที่จะเปรียบได้กับความอิ่มเอมที่เกิดขึ้นในการใช้ยาเสพติดอย่าง โคเคน ได้

และ 5.) ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน และ ฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘ฮอร์โมนเพศ’ มันมีบทบาทสำคัญในการทำให้คู้นักต้องการการสืบพันธุ์ และร่วมรับผิดชอบต่อ “ความปราถนาพื้นฐานของมนุษย์ในการมีเพศสัมพันธ์” ลาร์คินบอก เธอเสริมว่า ฮอร์โมนเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกี่ยวจ้องกับความหลงใหลหรือราคะ ที่กระตุ้นให้มีเซ็กส์ และโดปามีก็ให้รางวัลแก่การกระทำนั้น

6.) นอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) สร้างการตอบสนองทางสรีรวิทยาเมื่อเราพบกับคนใหม่ ๆ หรือตกหลุมรัก สิ่งเหล่านี้รวมถึงหัวใจที่เต้นแรง พลังงานที่เพิ่มขึ้น หรือมีเหงื่อออกที่ฝ่ามือ ฮอร์โมนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเก็บความทรงจำอีกด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมคู้รักหลายคู่จึงสามารถจำวันแรกของการออกเดทได้อย่างชัดเจน

7.) เซโรโทนิน (Serotonin) หนึ่งในสารเคมีไม่กี่ชนิดที่แสดงให้เห็นว่าลดลงในบางช่วยระยะของการดึงดูดมีความรัก ระดับที่ต่ำลงเช่นนี้เกิดขึ้นคล้ายคลึงกับระดับของบุคคลที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD แซนดรา แลงเกสเลก (Sandra Langeslag) นักประสาทวิทยาด้านพฤติกรรมจากมหาวิทยาลัยมิสซูรี-เซนต์หลุยส์ ได้เผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับฮอร์โมนตัวนี้ว่า

“คนที่มีความรักและผู้ป่วยโรค OCD มีความคล้ายคลึงกันในแง่ที่ว่า ทั้งคู่ต่างมีความหลงใหล” (ถึงขั้นหมกมุ่น)

แม้ว่ากิจกรรมที่แตกต่างอื่น ๆ (ที่ไม่เกี่ยวกับความรัก) อาจทำให้สารเคมีเหล่านี้ถูกปล่อยออกมาได้เช่นกัน แต่ฮอร์โมนไม่ได้ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยเดียวเสมอไป และหลายสิ่งหลายอย่างอาจทำให้เกิดสารเคมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกันเช่น โดปามีนและเซโรโทนิน ทั้งคู่มีส่วนทำให้เกิดความคิดที่จะครอบงำ

“ความรักเป็นปรากฎการณ์ทางประสาทสัมผัสที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้งหมดของเรา และส่งผลกระทบต่อสมองในรูปแบบที่ลึกซึ้งและลึกลับหลายประการ” แจคคิว โอลดส์ (Jacquie Olds) รองศาสตราจารย์ด้านจิตเวชคลินิกที่โรงเรียนการแพทย์ฮาร์วาร์ด กล่าว

ที่มา : https://ngthai.com/science/53955/broken-heart-science/


เขียนโดย : นายจตุรงค์  สินแก้ว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : jaturong.s@most.go.th

ชอบเรื่องราวแนวนี้ เรื่องอารมณ์และความรู้สึกที่มีที่มาที่ไป ว่าด้วยเรื่องของสารเคมีในร่างกาย มาก ๆ เลยค่ะพี่ น่าอ่านและรอติดตาม เรื่องราวที่ให้ทั้งความรู้และความผ่อนคลาย หลากหลายอารมณ์ อย่างต่อเนื่องอีกนะคะพี่ตู่ 

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล

ชอบการใช้วิทยาศาสตร์มาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราแบบนี้มากๆครับ ทำให้รู้ว่าทุกอย่างมันมีที่มาที่ไป ไม่ได้อาศัยแค่ พรหมลิขิต หรือ พระแม่ เท่านั้นครับ 

เขียนโดย นายปรเมษฐ์  สีเขียวแก่

ทุกอย่างอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์จริงๆ ด้วย

เขียนโดย อัญชลี  งอยผาลา

เดี๋ยวจะหาบทความดีๆมาให้อ่านกันอีกนะครับ

เขียนโดย นายจตุรงค์  สินแก้ว

Blog นี้กระแสตอบรับล้นหลาม ^^

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับบทความดีๆ ร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์ซับซ้อนจริง ๆ 

อ่านบทความนี้แล้วนึกถึงอีกเรื่องนึง ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน อยากเอามาแชร์ค่ะ

.......................

“รักแรกพบ” มีอยู่จริงไหมในทางวิทยาศาสตร์???

 

นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ อธิบายไว้ว่า องค์ประกอบของความรัก สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นอารมณ์ความรู้สึก 3 ประเภทใน 3 ช่วงเวลา

ได้แก่ ราคะ (lust) หรือความต้องการทางเพศ, ความรู้สึกดึงดูดใจ (attraction), และความผูกพันยึดติด (attachment) 

โดยจะค่อย ๆ มีพัฒนาการจากราคะไปสู่ความผูกพัน จนสามารถประกอบสร้างขึ้นมาเป็นรักแท้ได้ในที่สุด

นักวิทยาศาสตร์จึงมองว่ารักแรกพบนั้นยังไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึกของรักแท้ แต่เป็นเพียงการถูกดึงดูดใจโดยฝ่ายตรงข้ามในระยะแรก

ซึ่งยังไม่ครบองค์ประกอบของกระบวนการทางสมองที่จะก่อให้เกิดความรักโดยสมบูรณ์

“ความรักต้องใช้เวลาในการก่อกำเนิดและพัฒนาไปสู่ความรู้สึกที่มั่นคงลึกซึ้ง นักจิตวิทยาส่วนใหญ่จึงมองว่า รักแรกพบที่เกิดขึ้นเมื่อเพียงแรกสบตากันนั้นเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน คุณอาจหลงใหลในรูปลักษณ์และรู้สึกถึงแรงดึงดูดทางเพศอย่างมากในช่วงแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปคนเราจะตกหลุมรักกับนิสัยใจคอ รวมทั้งคุณค่าที่ยึดถือและทักษะต่าง ๆ ที่คนผู้นั้นมีอยู่แทน”

นอกจากนี้ คู่รักที่อยู่ด้วยกันมานาน สามารถคิดไปว่าต่างก็ตกหลุมรักกันและกันตั้งแต่แรกเห็นได้ ทั้งที่ความจริงแล้วพวกเขาใช้เวลาและความพยายามเนิ่นนานกว่าจะมีรักแท้ สาเหตเนื่องจาก ความทรงจำของคนเราอาจผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงเมื่อหวนรำลึกถึงความหลัง และจะยิ่งผิดพลาดคลาดเคลื่อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามกาลเวลาที่ผ่านไป บางรายอาจมีภาวะ “ภาพลวงตาเชิงบวก” (positive illusion) จนทำให้ทัศนคติที่มีต่ออีกฝ่ายนั้นดีเกินความเป็นจริง

 

ใครสนใจอ่านรายละเอัยดเพิ่มเติม เข้าไปอ่านได้ที่ https://www.bbc.com/thai/articles/cgrnez3e388o  นะคะ

เขียนโดย น.ส.กมลวรรณ  สุนทรเกตุ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ

เขียนโดย นายจตุรงค์  สินแก้ว