Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอันดามัน ภายใต้การส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้าน อววน. ณ จังหวัดภูเก็ต 196
แนวทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว ภายใต้ประเด็นการส่งเสริมการใช้ประดชยน์งานด้าน อววน. ได้มีการร่วมเสวนา ณ บริเวณหาดลายัน ตำบลเชิงทะเล จังหวัดภูเก็ต เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เป็นการบรูณาการความร่วมมือของ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวอ่าวไทย-อันดามัน เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ใช้ในการพัฒนาและยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ระดับสากล
ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการที่สนับสนุนการท่องเที่ยว เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) “นวนุรักษ์” (NAVANURUK) แพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลทางด้านวัฒนธรรมและข้อมูลที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นระบบ โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวมีลักษณะที่พัฒนาเป็นโครงสร้างแบบเปิด “Open Data” ที่รองรับสำหรับการแบ่งปันข้อมูลและสะดวกต่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมต่อไป และมีหน่วยงานที่ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ จำนวน 6 นิทรรศการ ได้แก่
1.นวนุรักษ์” (NAVANURUK) แพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
2.โครงการการผลิตไม้ดอกไม้ประดับในระบบเกษตรปลอดภัยเพื่อการบริโภค โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
3.กลุ่ม มรภ.ภาคใต้ “หลักสูตรสนับสนุกการท่องเที่ยวเชื่อมอ่าวไทย - อันดามัน” โดยความร่วมมือของ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏ
4.วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว-เกษตรเชิงอนุรักษ์ โดย บ้านบางเทา ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
5.เส้นทางการท่องเที่ยวบ้านลิพอนใต้ โดย บ้านลิพอนใต้ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
6.เส้นทางการท่องเที่ยวเกาะพระทอง เที่ยวได้ตลอดปี โดยชุมชนบ้านเกาะพระทอง ตำบลคุระบุรี ตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
อยากทราบข้อมูลนวนุรักษ์ (NAVANURUK) เพิ่มเติม และมีคำถามว่าจะมีการขยายพื้นที่ทั่วประเทศหรือไม่
สนใจโครงการ "นวนุรักษ์" เช่นกันค่ะ อยากทราบรายละเอียดโครงการนี้ เพื่อเชื่อมโยงการดำเนินงานในภูมิภาคอื่น ๆ
โครงการ “นวนุรักษ์” (NAVANURUK)" หรือมีชื่อเต็มๆ ว่า "แพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ" ซึ่งดำเนินงานโดยทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติ (LST) กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคมอพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. เป็นระบบ คลังข้อมูล "วัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ" ความหลากทางชีวภาพและวัฒนธรรมเป็นที่สิ่งที่สืบทอดกันมาและมีบทบาทสำคัญกับวิถีชีวิต การประยุกต์เทคโนโลยีในการจัดเก็บ บริหารจัดการ และแลกเปลี่ยนเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ในรูปแบบดิจิทัล โดยการอนุรักษ์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีเชิงอนุรักษ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดำรงให้องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพยังคงสามารถดำเนินอยู่ได้อย่างยั่งยืน เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว และสามารถนำไปประยุกต์ต่อยอดทางเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมได้อย่างสร้างสรรค์
ที่สำคัญเลยของระบบนี้ !!!!! โครงสร้างระบบข้อมูลเป็นแบบ Open data ที่จะสามารถประยุกต์ใช้ในการแบ่งปันข้อมูลเพื่อต่อยอดการนำข้อมูลไปใช้งานหรือต่อยอดในการสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันมีการสถิติการเก็บข้อมูลที่สำคัญ แบ่งออกเป็น
1. ข้อมูลความหลากหลายทางวัฒนธรรม จำนวน 21,783 ข้อมูล
2. ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ 3,855 ข้อมูล
ครอบคลุมกว่า 42 จังหวัด
Reference: https://navanurak.in.th/
เสริมข้อมูลด้วบคน
โครงการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อยกระดับและฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังภาวะโควิด 19
- พัฒนาแพลตฟอร์มระบบริหารจัดการคลังข้อมูลดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูล และแสดงผลข้อมูล
พัฒนาการให้บริการข้อมูลในลักษณะโครงสร้างเพื่อสนับสนุนการบริการข้อมูลแบบเปิด
พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับส่งเสริมการต่อยอดจากการนำข้อมูลจากคลังข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลลักษณะอื่น หรือ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาแอปพลิเคชัน
นำร่องทดลองกับเครือข่ายที่มีความพร้อมสิบแห่ง และ ขยายเครือข่ายหน่วยงานให้บริการข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลผ่านบริการ- ที่พัฒนาขึ้น
เป้าหมายของโครงการ เพื่อ เกิดการนําข้อมูลดิจิทัลที่มีชุมชนเป็นเจ้าของข้อมูลไปต่อยอด โดยภาคเอกชนที่มีแพลตฟอร์มสินค้า สามารถนํามาเชื่อมโยงกับข้อมูลเฉพาะของชุมชนและสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มได้ เกิดการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว และสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่หลังภาวะ โควิด 19 ยกระดับปราชญ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อดึงความรู้ที่เป็น tacit knowledge ในการสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยว
พื้นที่ดำเนินงาน
ท่าดินแดง จังหวัดตราด
ข้อมูล https://www.navanurak.in.th/Ban_Tha_Ranae
ชุมชนบ้านหนองอ้อ จังหวัดสุโขทัย
ข้อมูล https://www.navanurak.in.th/NONGOR
ชุมชนไทญ้อ บ้านโพน จังหวัดนครพนม
ข้อมูล https://www.navanurak.in.th/taiyorbanpone
ย่านเมืองเก่าภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ข้อมูล https://www.navanurak.in.th/TALAT_YAI
ชุมชนบ้านท่าดินแดง จังหวัดพังงา
ข้อมูล https://www.navanurak.in.th/THA_DIN_DAENG
ชุมชนบ้านโคกเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ข้อมูล https://www.navanurak.in.th/BanKhokMueang
ชุมชนบ้านสุขสมบูรณ์ จังหวัดนครราชสีมา
ข้อมูล https://www.navanurak.in.th/BanSukSomboon
บ่อสวก จังหวัดน่าน
ข้อมูล https://www.navanurak.in.th/bosuak
ไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง
ข้อมูล https://www.navanurak.in.th/thaibuengkhoksalung
ชุมชนเมืองโบราณ อู่ท่อง จังหวัดสุพรรณบุรี
ข้อมูล https://www.navanurak.in.th/U_Thong_Travel