Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
กปว. กับการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 192
ที่มา:
การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด มีที่มาจากมติคณะรัฐมนตรี 20 กรกฎาคม 2564 เห็นชอบกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีกรอบการประเมิน 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) น้ำหนักร้อยละ 70 และการประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) น้ำหนักร้อยละ 30 และมีเกณฑ์การประเมิน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับคุณภาพ ระดับมาตรฐาน และระดับต้องปรับปรุง โดยมีรอบการประเมิน ปีละ 1 ครั้ง (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายนของทุกปี)
ต่อมา มติคณะรัฐมนตรี 14 กันยายน 2564 เห็นชอบแนวทางการประเมินผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ เพื่อเชื่อมโยงระบบการประเมินส่วนราชการ กับระบบการประเมินผู้บริหาร โดยการประเมินหัวหน้าส่วนราชการในกำกับฝ่ายบริหาร ในมิติผลสัมฤทธิ์ (Performance) มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และในมิติด้านสมรรถนะ (Competency) มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. นำแนวทางที่ได้จากการศึกษาองค์กรชัั้นนำทัั้งในและต่างประเทศ เป็นกรอบในการประเมินสมรรถนะของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนต่อไป
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการผู้บริหารของส่วนราชการตามหนังสือสานักงาน ก.พ. ที่ 1024/ว 1 ลงวันที่ 20 มกราคม 2565
การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 :
มติ ก.พ.ร. ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 7 มิถุนายน 2566 เห็นชอบกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และให้สำนักงาน ก.พ.ร. นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
จากกรอบแนวทางฯ ดังกล่าว จึงได้มีการกำหนดตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งประกอบด้วยประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) 5 ประเด็น และห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ได้แก่ (1) การบริหารจัดการและอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำทั้งระบบ (2) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (3) รายได้จากการท่องเที่ยว (4) รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP (5) การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10
นอกจากนี้ ยังเห็นชอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเป้าหมาย และเห็นชอบ (ร่าง) ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมอบหมายให้ ก.พ.ร. เป็นผู้พิจารณาการกำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และรายละเอียดของตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กปว. ถูกกำหนดให้รับผิดชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ในตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของ สป.อว. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้แก่ จำนวนผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นใหม่ (Startup companies) รับผิดชอบโดยโครงการสร้างและพัฒนาวิสาหกิจในระยะเริ่มต้น (University Business Incubator: UBI) และจำนวนสถานประกอบการ/ชุมชน ที่ใช้ผลงานวิจัยและพัฒนาไปเพิ่มมูลค่า ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ รับผิดชอบโดยโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (OTOP) ซึ่งตัวชี้วัดสองตัวนี้ถูกกำกับดูแลโดยคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัด อว.
Joint KPIs มีการปรับเปลี่ยนทุกปีงบประมาณ ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหาร