3 Training พื้นฐานที่จะทำให้การพัฒนาบุคลากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น  45

คำสำคัญ : การพัฒนาบุคลากร  

3 วิธีการพัฒนาบุคลากร (Training) แบบพื้นฐาน

1. การอบรมสัมมนา

การอบรมสัมมนา คือกระบวนการที่ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งขึ้นมา เพื่อเพิ่มพูนหรือพัฒนาสมรรถภาพในด้านต่างๆตลอดจน การปรับปรุงพฤติกรรม อันนำมาซึ่งการแสดงออกที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

การอบรมสัมมนายังเป็นวิธีที่ทำให้พนักงานสามารถกระตุ้นและเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้การอบรมสัมมนามีประสิทธิภาพกับการพัฒนาที่ต้องการให้พนักงานได้เรียนรู้พื้นฐานหรือต้องการให้การอบรมเป็นไปในระดับเดียวกัน

เพื่อให้การอบรมสัมมนามีประสิทธิภาพสูงสุด ควรมีการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในบริษัทเพื่อพิจารณาให้มั่นใจว่า ปัญหาเกิดขึ้นเพราะอะไร จำเป็นต้องมีการอบรมสัมมนาหรือไม่ และแจ้งให้พนักงานเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ที่จัดการอบรมสัมมนาขึ้น เพื่อให้พนักงานเข้าใจว่าบริษัทต้องการบรรลุวัตถุประสงค์เรื่องอะไรบ้าง เช่น การเพิ่มความรู้และทักษะในการทำงาน เป็นต้น หากไม่มีการแจ้ง พนักงานก็อาจจะไม่รู้สึกถึงความจำเป็นของการอบรมสัมมนา

2. OJT(On-the-Job Training)

On-the-Job Training (การฝึกอบรมในงาน) คือการเรียนรู้งานโดยการสังเกตุการทำงานของพนักงานที่มีความชำนาญและลงมือปฏิบัติจริง และคอยรับฟีดแบคจากหัวหน้า

ซึ่งจะต่างจากการฝึกอมรมแบบแรก เพราะการฝึกแบบ OJT จะเป็นการฝึกแบบตัวต่อตัว ให้พนักงานคนนั้นได้เรียนรู้งานจากรุ่นพี่โดยตรง ได้ทำงานจริง เมื่อเจอปัญหาก็แก้ไขพร้อมเรียนรู้วิธีในการจัดการกับปัญหานั้นๆไปด้วย

ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของ OJT คือการที่นำ PDCA Cycle (วงจรการควบคุมคุณภาพ) ได้แก่ Plan (วางแผน) Do (ปฏิบัติตามแผน) Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) Act (ปรับปรุงแก้ไข) เข้ามาปรับใช้ในการพัฒนาบุคลากร

สิ่งสำคัญในการฝึกแบบ OJT คือ การเลือกผู้ชี้แนะ หากเลือกพนักงานที่ไม่สามารถจัดการได้ดีพอ อาจจะทำให้การฝึกอบรมไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เป็นไปตามที่ต้องการ

ถ้าหากอยากให้การฝึกอบรมแบบ OJT มีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ควรมีการเตรียมตัวให้กับผู้ชี้แนะล่วงหน้า หรือจัดการอบรมสัมมนาสำหรับผู้ชี้แนะโดยเฉพาะก่อน

3. การพัฒนาด้วยตนเอง

การพัฒนาด้วยตนเอง คือการกระตุ้นให้พนักงานมีความต้องการพัฒนาด้วยตนเอง โดยการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับงานเพิ่มเติม หรือการใช้ E-Learning เรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น

การฝึกอบรมแบบนี้จะแตกต่างจากทั้งสองแบบข้างต้นโดยสิ้นเชิง เพราะไม่ใช่การอบรมที่ต้องมีผู้บรรยายมาคอยให้ความรู้หรือ ผู้ชี้แนะมาคอยบอกงาน แต่การพัฒนาด้วยตนเองคือการทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพด้วยตัวเองได้ ซึ่งการฝึกแบบนี้จะทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานเพิ่มขึ้นในระยะยาวได้อีกด้วย

และเพื่อให้พนักงานรู้สึกอยากพัฒนาตนเอง ควรสร้างสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศที่เหมาะสมในการศึกษาหาความรู้ให้กับพนักงานเช่น การทำ E-Learning หรือจัดให้มีการพูดคุยเกี่ยวกับความก้าวหน้าในสายอาชีพ เป็นต้น

 

ที่มา: https://th.hrnote.asia/personnel-management/3-basic-training-for-hr-230106/


เขียนโดย : น.ส.ถิรประภา  รัตนโชติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tiraprapa@mhesi.go.th