ยกระดับประสิทธิภาพในการทำงานของระบบราชการสู่การปรับเปลี่ยนเป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Transformation )  52

คำสำคัญ : Digital  Transformation  องค์กรดิจิทัล  

การปรับเปลี่ยนสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation )

Digital Transformationคือ เป็นกระบวนกำรที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องมีการบูรณาการ “คน” (People) “เทคโนโลยี” (Technology) และกระบวนการทำงาน (Business Process) เข้าด้วยกัน เพื่อการตอบสนองความต้อการของผู้รับบริการอย่างมีประสิทธิผล โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับทุกส่วนขององค์กร เป้าหมายของการทำ Digital Transformation คือเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้ดียิ่งขึ้น

โดย Digital Transformation สามารถแบ่งระดับการเปลี่ยนแปลงได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

1. Digital Transformation - การแปลงรูปแบบจากกระดาษสู่ดิจิทัล

2. Digitalization (Process) Transformation- การปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การนำ AI มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทำงานที่รวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือการใช้ระบบอัตโนมัติแทนงานที่ซ้ำซาก

3. Digital Transformation- การเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจให้เข้ากับยุคดิจิทัล โดยทำในสิ่งที่รูปแบบเดิมไม่เคยมีมาก่อน

โดย หลักการของ Digital Transformation ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์และผู้นำที่เข้าใจหลักการของ Digital Transformation 2) คนและวัฒนธรรมองค์กร เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด Digital Transformation 3) การเป็นดิจิทัลทั้งกระบวนการ แต่ต้องพิจารณาให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย 4) ความคุ้มค่าเมื่อทำ Digital Transformation และ 5) วัดความสำเร็จของการทำ Digital Transformation ได้

สิ่งสำคัญที่จะทำให้ Digital Transformation ประสบความสำเร็จได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กร การปรับ mindset ให้เปิดรับการเปลี่ยนแปลง และความเข้าใจในยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำ Digital Transformation สำเร็จ

ซึ่งถ้าหากระบบราชการของไทยสามารถปรับเปลี่ยนสู่องค์กรดิจิทัล และเชื่อมโยงข้อมูลกันกันได้ทั้งหมด สามารถนำ AI มาประกอบในการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ข้อมูล จะทำให้สามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น


เขียนโดย : ดร.สุมนรัตน์  ริยาพันธ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sumonrat.r@mhesi.go.th