Center of Excellence (CoE) to Cooperation of Eleven Centers  88

คำสำคัญ : ศูนย์ความเป็นเลิศ  

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาของศูนย์ความเป็นเลิศในระบบนิเวศการวิจัยใหม่ของไทย” จัดโดยสำนักงานโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Center of Excellence: CoE) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศ ณ ห้องประชุมวันวาน โรงแรมพาโค่เขาใหญ่ (Parco Khaoyai) จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 22 - 24 สิงหาคม 2567

 

ช่วงกิจกรรมกลุ่มในวันที่ 2 ของการประชุม ศูนย์ความเป็นเลิศทั้ง 11 ศูนย์ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานและทิศทางการดำเนินงานในอนาคต ซึ่งมีข้อคิดเห็นดังนี้

  • ศูนย์ความเป็นเลิศสามารถกำหนดคลัสเตอร์ที่ต้องการศึกษาร่วมกัน หรือดำเนินการวิจัยจากโจทย์วิจัยที่มีผลกระทบต่อประเทศในแต่ละปีงบประมาณได้ เนื่องจากทั้งประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของนักวิจัยในศูนย์ความเป็นเลิศทั้ง 11ศูนย์ สามารถเชื่อมโยงกันได้ตลอดกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
     
  • ศูนย์ความเป็นเลิศสามารถรวบรวมงานของแต่ละศูนย์ซึ่งมีหลากหลายสาขา และนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนต่อยอดงานวิจัยยไปสู่การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization: RU)ได้ เนื่องจากแต่ละศูนย์มีการดำเนินงานวิจัยในเชิงลึกเฉพาะสาขามานาน มีองค์ความรู้สะสมจากงานวิจัยมูลฐานที่พร้อมนำไปประยุกต์ใช้ และขับเคลื่อนไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่ได้
     
  • เพิ่มผลผลิตของงานวิจัยนอกเหนือจากผลงานตีพิมพ์ ทั้งด้านการพัฒนากระบวนการ (Process)การให้บริการ (Service) และผลิตภัณฑ์ (Product) โดยเฉพาะสิทธิบัตรและเทคโนโลยีที่สามารถถ่ายทอดให้ประชาชนได้มากขึ้น
     
  • ทุกศูนย์ความเป็นเลิศควรกรอกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. National Science and Technology Information System (NSTIS) ให้ครบถ้วน เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งสถานที่วิจัย วัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และบุคลากร
     
  • เพิ่มงบประมาณหรือแผนงาน/โครงการที่สนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่ หรือนักศึกษาจบใหม่ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กลุ่มวิจัยโดยใช้เครือข่ายและทรัพยากรของศูนย์ความเป็นเลิศ
     
  • จัดงานประชุม หรือกิจกรรมเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ผลงานที่เป็นผลผลิตจากศูนย์ความเป็นเลิศให้มากขึ้น รวมถึงให้เครดิตชื่อศูนย์ความเป็นเลิศ ในการนำเสนอองค์ความรู้และงานวิจัยในการนำเสนองานทุกครั้งเพื่อสร้างภาพจำให้องค์กร
     
  • หาประเด็นที่ของศูนย์ความเป็นเลิศแต่ละศูนย์มีความเข้มแข็งทางวิชาการ เพื่อต่อยอดในจุดเด่น และผลักดันสนับสนุนเพิ่มเติมในส่วนที่ยังมีโอกาสพัฒนาให้แข็งแกร่งขึ้นได้
     
  • มีแผนชัดเจนว่าศูนย์ความเป็นเลิศมีแนวทางการสนับสนุนบุคลากรหรือได้รับโอกาส/ทรัพยากรมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ร่วมงานกับศูนย์ฯอย่างไร นอกเหนือจากทรัพยากรที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด

เขียนโดย : นางสาวประภาวีร์  วรกรรณ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : phapawee.w@gmail.com