ที่มาของตัวชี้วัดที่ 3 : การมีส่วนร่วมใน โครงการ/กิจกรรม (ที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของ กปว. / สป.อว.) **  80

คำสำคัญ : ตัวชี้วัดการมีส่วนร่วม  

สืบเนื่องจาก ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้จัดทำ (ร่าง) ตัวชี้วัดที่ 3 : การมีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรม (ที่ไม่ใช่ภารกิจหลัก) ของ กปว. / สป.อว.  จึงได้ไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของ “การมีส่วนร่วม” ซึ่งมีหลายๆ นิยามดังนี้

- การมีส่วนร่วม (Participation) ตามพจนานุกรมอังกฤษฉบับอ๊อกฟอร์ด ได้ให้คำนิยามไว้ว่า “เป็นการมีส่วน (ร่วมกับคนอื่น) ในการกระทำบางอย่างหรือบางเรื่อง” คำว่า การมีส่วนร่วม โดยมากมักจะใช้ในความหมายตรงข้ามกับคำว่า “การเมินเฉย (Apathy)” ฉะนั้น คำว่าการมีส่วนร่วม จึงหมายถึง การที่บุคคลกระทำการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือในประเด็นที่บุคคลนั้นสนใจ ไม่ว่าเขาจะได้ปฏิบัติการเพื่อแสดงถึงความสนใจอย่างจริงจังหรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นที่บุคคลนั้นจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นโดยตรงก็ได้ แต่การมีทัศนคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ห่วงใย ก็เพียงพอแล้วที่จะเรียกว่าเป็นการมีส่วนร่วมได้ (ที่มา : สถาบันพระปกเกล้า)

- การมีส่วนร่วม หมายถึง การที่บุคคล กลุ่มคน หรือองค์กรได้ร่วมกันคิด แก้ไขปัญหา ร่วมดำเนินการและทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง โดยการร่วมกันวางแผนร่วมปฏิบัติงาน และร่วมติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ หรือทำให้บุคคลได้ประโยชน์จากการกระทำสิ่งเหล่านั้น (ที่มา : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

ผลสุดท้ายจึงได้  ตัวชี้วัดที่ 3 : การมีส่วนร่วมใน โครงการ/กิจกรรม (ที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของ กปว. / สป.อว.) **

ซึ่งมี 5 ระดับคะแนน ดังที่ทุกท่านต้องใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการดังนี้

ระดับ 1 : การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการ/กิจกรรม และการเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังรายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม

ระดับ 2 : ได้รับมอบหมายหน้าที่    ในการดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรม    

ระดับ 3 : ศึกษารวบรวมข้อมูล วางแผนการดำเนินโครงการ เพื่อให้ปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมาย   

ระดับ 4 : ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบ หมายได้สำเร็จลุล่วง       

ระดับ 5 : สรุปผลการดำเนินงาน และให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลในระบบ CMO


เขียนโดย : น.ส.พรเพ็ญ  ขลิบนิล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : pornpen.k@mhesi.go.th