เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
โครงการวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยมีความประสงค์ร่วมกัน นำพืชสมุนไพรท้องถิ่น ก็คือ ตำลึง มาใช้ในการบรรเทาป้องกัน และรักษาโรคลำไส้แปรแปรวน โรคโครห์น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ที่มีกลุ่มอาการเหล่านี้ ต้องทุกข์ทรมานจากภาวะการอักเสบเรื้อรังของท่อทางเดินอาหาร ถึงแม้ว่าจะมีการรักษาด้วยวิธีการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วก็ตาม แต่ทว่ากลุ่มอาการนี้ก็ไม่หายขาด ปัจจุบันมีความพยายามหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอยู่ แต่ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก ทางคณะผู้วิจัยจึงสนใจนำวิธีการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกด้วยการนำพืชสมุนไพรมาใช้ โดยนำสรรพคุณทางยาของตำลึง ซึ่งมีฤทธิ์เย็น ช่วยปรับสมดุลของอวัยวะในระบบย่อยอาหารมาศึกษาทดลอง ในรูปของสารสกัดหยาบจากใบตำลึงมาทดลองกับเซลล์เยื่อบุลำไส้ชนิด Caco2 ที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบ แล้วดูการตอบสนองของเซลล์เพื่อต่อต้านกับการอักเสบ โดยอาศัยการตรวจติดตามการแสดงออกของยีนที่กีดขวางการติดเชื้อในกลุ่มไทต์จังค์ชัน และกลไกการต้านทานอักเสบจากการทำงานของระบบภูมิต้านทานชนิด humoral immunity ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงหน้าที่ทางสรีรวิทยาของเซลล์เยื่อบุลำไส้ ซึ่งเกิดกลไกนี้ขึ้นได้โดยปราศจากการทำงานของ cellular immunity ถือเป็นการศึกษาวิจัยที่เป็น originality และโดดเด่นจากการนำตำลึง ซึ่งเป็นไม้เลื้อยซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มาสร้างคุณค่าทางตำรับยาในระบบแพทย์แผนไทย ซึ่งการศึกษาวิจัยแบ่ง ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการ และแบบลงพื้นที่จริง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างมีส่วนร่วมกับกลุ่มเกษตรกรและชุมชนในจังหวัดสุรินทร์
