โครงการการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน.  43

คำสำคัญ : โครงสร้างพื้นฐาน  ววน.  วิจัย  RD  Facility  Boost  UP  

โครงการการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน. (RD Facility Boost UP) P6 ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ข้อคิด เห็นเสนอแนะในการพัฒนาและปรับปรุงงาน

 

1.หลักการและเหตุผล

โครงการการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน. (RD Facility Boost UP) P6

 

การดำเนินงานโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ และเพิ่มรายได้ให้กับภาคธุรกิจ ทั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้มุ่งเน้นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากแผนพัฒนา  การวิจัยและพัฒนา มาถ่ายทอดและประยุกต์ให้เกิดการใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์สังคม และชุมชน โดยสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาและประยุกต์ใช้ศักยภาพในภูมิภาค มาต่อยอดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม พร้อมการส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เอกลักษณ์และต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่น แตกต่างและมีลักษณะเฉพาะในท้องถิ่นแต่ละภูมิภาค สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคการผลิต ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ครบวงจร พร้อมวิจัยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษา ร่วมวิจัย ที่เป็นกลไกสนับสนุนที่ช่วยลดข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาค เพื่อผลลัพธ์ในการสร้างประโยชน์สูงสุดจากโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรมให้ทั่วถึงและเพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพในลักษณะของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

 

การยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน. (RD Facility Boost UP) เป็นการดำเนินงานภายใต้ผลผลิตการให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มีตัวชี้วัดที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อยู่ในเป้าประสงค์ กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม     ซึ่งเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในด้านการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและสนับสนุนการสร้างองค์กรความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

การยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน. ตามกรอบประเด็นยุทธศาสตร์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  ซึ่งเป็นแผนงานที่มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทั้งห้องวิเคราะห์ทดสอบ โรงงานต้นแบบ ที่มีอยู่ในภูมิภาคทุกพื้นที่ทั่งประเทศ สู่การพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนและผู้ประกอบการได้รับการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการนำวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) มาเป็นกลไกหนึ่งในการผลักดันและขับเคลื่อนประเทศบนพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนา เพื่อก้าวสู่การเติบโตในรูปแบบเศรษฐกิจยุคใหม่ ตอบโจทย์์ความต้องการที่่แตกต่างและนำไปใช้้ได้้จริง กระจายความรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนซึ่งเป็นผลผลิตของโครงการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ ในรูปแบบของนิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

 

การจัดทำแนวคิด แนวทางการดำเนินงาน การจัดการด้วยคุณภาพ การใช้งานโครงสร้างพื้นฐานในมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการให้เกิดมาตรฐานของสินค้า ผลิตภัณฑ์และการบริการด้วยการตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ รวมถึงการผลิตตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เพื่อทดสอบตลาด และยังเป็น และหน่วยงานที่ภาครัฐได้สนับสนุนงบประมาณ  เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการในภูมิภาคให้สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรือบริการ อันจะนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งPlatform ที่ 6 นี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามรูปแบบการดำเนินการ ดังนี้

 

ประเภทที่ 1 (Track 1)การใช้ห้องปฏิบัติการ ตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ ด้านการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดจนการยืดอายุผลิตภัณฑ์  เพื่อยกระดับผู้ประกอบการและผลิตฐานสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างโอกาสในการขยายตลาด

1)        สนับสนุนไม่เกิน 80%ของค่าบริการ โดยสนับสนุนไม่เกิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งโครงการ

2)        นิติบุคคลหรือไม่เป็นนิติบุคคลสามารถขอรับการสนับสนุนได้

3)        ห้องปฏิบัติการในสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เป็นห้องปฏิบัติการที่พร้อมให้บริการผู้ประกอบการในระบบ STDB (Science and Technology Infrastructure Databank)และระบบ NRIIS

ประเภทที่ 2 (Track 2)การใช้โรงงานต้นแบบ และห้องปฏิบัติการ ตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ ด้านการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดจนการยืดอายุผลิตภัณฑ์ และการทดสอบกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการผลิตเป็นครั้งแรก (First Lot) ในโรงงานต้นแบบเพื่อการออกแบบการวางแผนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมนำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเข้าสู่กระบวนการทดลองตลาดเพื่อทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อต่อยอดและยกระดับผู้ประกอบการพัฒนาแผนในการจัดการ การออกแบบและการวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพสำหรับการผลิตในอนาคต

1)        สนับสนุนไม่เกิน 80%ของค่าบริการ โดยสนับสนุนไม่เกิน 300,000 บาท ต่อหนึ่งโครงการ

2)        นิติบุคคลหรือไม่เป็นนิติบุคคลสามารถขอรับการสนับสนุนได้

3)        ห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโครงการ เป็นห้องปฏิบัติการที่พร้อมให้บริการผู้ประกอบการในระบบ STDB(Science and Technology Infrastructure Databank) ระบบ NRIIS


เขียนโดย : นายทินกร  รสรื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tinnakorn.r@mhesi.go.th