การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสินค้าอัตลักษณ์ จังหวัดปัตตานี (ข้อคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน)  42

คำสำคัญ : สินค้าอัตลักษณ์จังหวัดปัตตานี  
สรุปหารือ รับข้อเสนอความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าอัตลักษณ์ (ห้องย่อยที่ 2)
ขับเคลื่อนงาน อววน. สู่การพัฒนาจังหวัดปัตตานี
วันที่ 24 มิถุนายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
สินค้าอัตลักษณ์ในพื้นที่จังหวัด ได้แก่ ลูกหยี , ตาลโตนดจะรัง , ข้าวซีบูกันตัง , ประมง (ปลาหวานโรยงา) , ทุเรียนทรายขาว , โกโก้ , สมุนไพรผลหัน , เกลือหวาน , เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 
 
ตัวอย่างข้อสรุปสินค้าอัตลักษณ์ ดังนี้
1. ลูกหยี เป็นพืช GI ของจังหวัดปัตตานี 
(กลุ่มเป้าหมาย) ชุมชนดงต้นหยี : มีการแปรรูปลูกหยีเป็นน้ำลูกหยี ลูกหยีฉาบ แยมลูกหยี ลูกหยีกวนแบบหยาบ และลูกหยีกวนแบบหยาบละเอียด
ปัญหาของกลุ่ม/ความต้องการ :  ต้องการทำเยลลี่หรือกัมมี่ลูกหยีที่กินได้ง่าย มีวิตามินซีสูง
                        ต้องการทำอาหารเสริมวิตามินซี จากลูกหยี
                        สถานที่ผลิตยังไม่ได้มาตรฐาน
ข้อเสนอแนะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :  งานวิจัยของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
                                                        วว. ได้ทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อช่วยเรื่องมาตรฐานสถานที่ผลิต เรียกว่า สำนักรับรองระบบคุณภาพ (สรร.) 
(TISTR – OCB)
      1) การตรวจมาตรฐานสถานที่ผลิตมีสำนักรับรองระบบคุณภาพที่สามารถเข้าไปตรวจสถานที่ผลิต จะช่วยตรวจสถานที่ผลิตและออก ใบรับรองที่สามารถยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขออนุญาตผลิต มีการสนับสนุนงบประมาณเล็กน้อยเพื่อช่วยในการดำเนินการ
         2) การประสานงานเพื่อเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมในกระบวนการตรวจสอบและประเมิน
 
2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตาลจะรัง สามารถขายสินค้าได้บางส่วน แต่ยังไม่สมบูรณ์ 100% สินค้าหลักของกลุ่มคือ น้ำตาลโตนดผง น้ำตาลโตนดแว่น น้ำตาลโตนดช๊อคโก้ และน้ำตาลไซรัป (น้ำตาลเหลว) ส่วนใหญ่จะขายแบบออนไลน์ 
ปัญหาของกลุ่ม/ความต้องการ :  ไม่มีวัตถุดิบในช่วงเวลาเดือน ตุลาคม - มกราคม (4 เดือน) เนื่องจากไม่สามารถขึ้นเก็บน้ำตาลสดได้ เพราะเป็นช่วงฤดูฝน
                                              น้ำตาลสดมีปัญหาเรื่องการเก็บรักษาให้ได้นานๆ และมีช่วงที่ขาดวัตถุดิบ 4 เดือน (ตุลาคมถึงมกราคม) เนื่องจากฝนตกทำให้ไม่มีการผลิต ต้องหาวิธีเก็บรักษาน้ำตาลสดให้นานขึ้น
                                              ปัญหาหลัก คือบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ที่ใช้เป็นถุงซิปล็อคและติดสติ๊กเกอร์ บางครั้งบรรจุภัณฑ์อาจจะขาดหรือสติ๊กเกอร์ติดไม่ตรง เมื่อขนส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้า บางรายบรรจุภัณฑ์เกิดความเสียหาย ทำให้ต้องชดใช้สินค้าใหม่ นอกจากนี้ยังพบปัญหาว่าบรรจุภัณฑ์ บางชิ้นถูกทิ้งทันทีที่ได้รับสินค้า ปัญหาต้นทุนบรรจุภัณฑ์สูงเนื่องจากต้องสั่งซื้อจำนวนน้อย
ข้อเสนอแนะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รับเรื่องกระบวนการผลิต เพราะมีโครงการพื้นฐานของระบบการฆ่าเชื้อสเตอริไลซ์ / Sterilization สามารถใช้ระบบของ ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี จะสะดวกกว่า เพราะอยู่ในพื้นที่ และมีโรงงานนวัตกรรมอาหาร อาจจะต้องกำหนดโจทย์และประเด็นความต้องการให้ชัดเจน
                                                         วว. จะช่วยในเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ตอบโจทย์ในเรื่องการขนส่ง ทางศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (ศบท.) ของหน่วยงาน วว. มีห้องปฏิบัติการทางด้านการทดสอบ มีการจำลองเรื่องการขนส่ง ถ้าใช้บรรจุภัณฑ์แบบนี้ มีขนส่งแบบ e -commerce เพื่อดูว่าบรรจุภัณฑ์และวิธีการบรรจุสามารถผ่านการทดสอบได้หรือไม่
 
ข้อคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน
1. ควรเตรียมเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา/ความต้องการ ที่เหมาะสมสำหรับกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
2. ควรทราบข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา/ความต้องการ ที่ชัดเจน
3. ควรเตรียมข้อมูลเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม และนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นทางเลือกของการพัฒนายกระดับของกลุ่มเป้าหมาย
4. ควรมีหน่วยงานจังหวัดในพื้นที่ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมวิเคราะห์ประเด็นปัญหา/ความต้องการ เพื่อแนะนำแนวทางและช่องทางในการพัฒนายกระดับของกลุ่ม 
 

เขียนโดย : น.ส.ปุณชยา  บัณฑิตกุล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : puny13@hotmail.com