🤩 สิ่งที่ควรรู้เมื่อต้อง "ตรวจรับพัสดุ" 🤩  57

คำสำคัญ : ตรวจรับพัสดุ  งานจ้าง  

💁‍♂️🧏‍♂️ผู้เขียนขออนุญาต นำข้อมูลดีๆ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาที่จัดทำไว้ มาร่วมแบ่งปันกันค่ะ เมื่อเราต้องทำหน้าที่ในการตรวจรับพัสดุ 💁‍♂️🧏‍♂️

การตรวจรับพัสดุ เป็นกระบวนการหรือกิจกรรมหนึ่ง ที่เกิดขึ้นหลังจากได้มีการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง จนได้มาซึ่งผู้ขายหรือผู้รับจ้าง และเกิดข้อผูกพันระหว่างกันตามสัญญา หรือข้อตกลง หรือคำสั่งซื้อ หรือคำสั่งจ้าง คำว่า “พัสดุ” ในความหมายนี้ หมายถึง สินค้า งานบริการ งานก่อสร้าง งานจ้างที่ปรึกษาและงานจ้างออกแบบ 

การตรวจรับพัสดุ เพื่อให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งทำหน้าหน้าที่อย่างถูกต้องสอดคล้องตามระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 จึงขอนำระเบียบ ข้อหารือที่ เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจรับ 

🎯🎯สิ่งที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุต้องรับทราบ🎯🎯

1. ศึกษาข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสัญญาซื ้อขาย ทั ้งของหน่วยงานกำหนด และของผู้ขายที่เสนอ รวมถึงแคตตาล็อก และเอกสารประกอบอื่น ๆ

2. ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่งและให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด

3. ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที ่ตกลงกันไว้ สำหรับกรณีที ่มีการทดลองหรือตรวจสอบ ในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู ้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษา หรือส่ง พัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผุ้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น ๆ ก็ได้

4. คณะกรรมการตรวจรับ ตรวจรับให้ถูกต้องตรงกับคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที ่มหาวิทยาลัยกำหนด และ คุณลักษณะที่ผู้ขายเสนอในวันยื่นข้อเสนอ

5. เมื่อตรวจสอบแล้วถูกต้องตามที่กำหนดให้ลงนามให้บันทึกการตรวจรับ และรายงานผล (รายงานการ ประชุม) เสนอหัวหน้าหน่วยงานรับทราบ

6. กรณีที่ส่งมอบไม่ถูกต้อง มีการแก้ไข ขยายสัญญา งดลดค่าปรับ การปรับกรณีผิดสัญญา คณะกรรมการ ตรวจรับพัสดุต้องให้ความเห็นเสนอในแต่ละกรณี เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการรับทราบเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ให้ความเห็นก่อนการเสนอทุกครั้ง

7. การตรวจรับคณะกรรมการต้องมาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมติของคณะกรรมการต้องเป็นเอกฉันท์ คณะกรรมการท่านใดมีความเห็นแย้ง ให้บันทึกให้ความเห็นไว้ เพื่อเสนอให้หัวหน้าส่วนราชการรับทราบพิจารณาสั่งการ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการสั่งการอย่างไรก็ให้ดำเนินการไปตามนั้น

8. คณะกรรมการที่ดำเนินการตรวจรับต้องไม่เป็นคณะกรรมการพิจารณาผล หากคณะกรรมการท่านใดเป็น คณะกรรมการพิจารณาผลแล้วจะเป็นคณะกรรมการตรวจรับมิได้

9. คณะกรรมการต้องตรวจสอบชื่อ ยี่ห้อ รุ่น ให้ตรงตามที่กำหนดในสัญญา หากตรวจพบว่าไม่ถูกต้องตาม สัญญาต้องรีบดำเนินการแก้ไขและไม่รับของไว้จนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้อง

10. การทดสอบการทำงานต้องเป็นไปตามคุณลักษณะที ่กำหนดไว้ในสัญญาทุกข้อหากพบว่าพัสดุไม่ตรง หรือไม่เป็นไปตามสัญญา ให้แจ้งผู ้ขายรับทราบและให้แก้ไขโดยด่วน คณะกรรมการจะต้องไม่รับพัสดุไว้ และรายงาน หัวหน้าส่วนราชการทราบโดยด่วน

11. กรณีที ่มีปัญหาในการตรวจรับทุกกรณีคณะกรรมการจะต้องรีบรายงานผลการตรวจรับให้หัวหน้าส่วน ราชการรับทราบเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายทราบภายใน 3 วัน นับแต่วันตรวจพบ คณะกรรการตรวจรับพัสดุจะต้องเรียนรู ้ทำความเข้าใจเกี ่ยวกับเงื ่อนไขที ่กำหนดไว้ในสัญญาให้ชัดเจน และทำการตรวจรับตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนด ให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อประโยชน์ของราชการ และไม่ทำให้ราชการ เสียหาย

⏰⏱️ระยะเวลาในการตรวจรับพัสดุ⏱️⏰

1. ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุดำเนินการตรวจรับในวันที่คู่สัญญานำพัสดุมาส่งมอบ และให้ดำเนินการให้ แล้วเสร็จโดยเร็วที ่สุด อย่างช้าไม่เกิน 5 วันทำการ นับแต่วันที่คู่สัญญา นำพัสดุมาส่งมอบ ระยะเวลาดังกล่าวไม่รวมถึง ระยะเวลาในการตรวจทดลอง หรือตรวจสอบในทางเทคนิค หรือทางวิทยาศาสตร์

2. กรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวข้างต้นได้ ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการพร้อมด้วยเหตุผลความจำเป็นพร้อมกับสำเนาแจ้งให้คู่สัญญาทราบด้วย

เจ้าหน้าที่พัสดุต้องแจ้งให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุทราบทันที ที่มีการนำส่งพัสดุ นัดวันเวลาในการ ตรวจรับให้เร็วที่สุดภายในระยะเวลา 5 วันทำการ โดยไม่รวมวันทีใช้ในการตรวจรับหรือทดลอง กรณีที ่วันส่งมอบเป็น วันหมดสัญญาและคณะกรรมการตรวจรับนัดตรวจหลังจากวันหมดสัญญาถือว่าพัสดุส่งมอบตรงตามสัญญาเมื่อ ตรวจสอบผ่านให้เบิกจ่ายได้ หากตรวจแล้วไม่ผ่านจึงจะมีการปรับตามระยะเวลาที่หมดสัญญา 

 

ผู้เขียนขอขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่นำมาร่วมแบ่งปัน จาก "มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยคุณนงเยาว์ มูลติชัย นักวิชาการพัสดุ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี " 


เขียนโดย : น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ketsarat.w@mhesi.go.th