รายงานผลการจัดงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย อย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์ : Sci Power for Future Thailand) ระดับภูมิภาค  101

คำสำคัญ : อว.แฟร์  

รายงานผลการจัดงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน.

เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย อย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ

(อว.แฟร์ : Sci Power for Future Thailand)ระดับภูมิภาค

 

๑.  หลักการและเหตุผล

      ตามคําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีนายเศรษฐาทวีสินนายกรัฐมนตรีเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๖ รัฐบาลมีนโยบายกําหนดภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและทิศทางในการพัฒนาจุดแข็งของประเทศเพื่อรับมือการปลี่ยนแปลง ทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด รวมถึงปัจจัยภายนอกที่ เกิดจากสภาวะการแข่งขันในภูมิภาค และสภาพเศรษฐกิจ ของประเทศคู่ค้าทั่วโลก  ที่เป็นความท้าทายให้กับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยรัฐบาลมุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ อาทิ การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมสีเขียว อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ และการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศเพื่อให้เป็นเครื่องยนต์ใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศ รวมถึงการพัฒนาต่อยอดเขตเศรษฐกิจพิเศษและระเบียงเศรษฐกิจทั้ง ๔ ภาค ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญและกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ในประเทศ รวมถึงผลิตบุคลากรให้ตอบสนอนต่อความต้องการของเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ นักเรียน นักศึกษาที่เรียนจบใหม่สามารถหางานทำที่ตรงกับสายงาน ลดปัญหานักศึกษาต้องทำงานในสายงานที่มีรายได้ต่ำกว่าความสามารถทางวิชาชีพ และส่งเสริมการลงทุนพัฒนา Start-up ที่มีศักยภาพให้เติบโตและแข่งขันได้ในระดับโลก สร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจใหม่โดยใช้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” จากองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

     ในการนี้เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) จึงกำหนดจักงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ” (อว.แฟร์ : Sci Power For Future Thailand)  โดยการประสานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อแสดงพลังและศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างผู้ประกอบการ ส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรม บนฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม และเป็นการสร้างแรงบันดาลใดให้กับการอุดมศึกษา ในการพัฒนาและผลิตกำลังคนให้ตอบโจทย์ประเทศ และการพลิกโฉมที่เป็นระบบ (System-based Transformations) ที่สำคัญ ซึ่งเป็นพลังสร้างผลลัพธ์ ผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยพลังจากการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 

 

 

๒.  วัตถุประสงค์

     ๒.๑ เพื่อแสดงศักยภาพของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรมและสร้าง ความเชื่อมั่นในธุรกิจนวัตกรมหรือสตาร์ทอัพไทยที่เติบโตและแข่งขันได้ในระดับโลกให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

      ๒.๒ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการตระหนักสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแล สามารถนําไปพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในทุกช่วงวัย

      ๒.๓ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผู้ ประกอบการฐานเทคโนโลยีและการจัดการสมัยใหม่ รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนา เทคโนโลยีไปสู่ เชิงพาณิชย์

 

๓. กลุ่มเป้าหมาย

    ๓.๑ ผู้ร่วมชมงาน จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน (๔ ภูมิภาค) ทั้งรูปแบบ On-site และ Online)

    ๓.๒ ผู้ร่วมจัดนิทรรศการ

          - อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

          - มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย/หน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. รวมถึงเครือข่ายภาครัฐและเครือข่าย

 

๔.  ผลการดำเนินงาน

     สำหรับการดำเนินงาน อว.แฟร์ ระดับภูมิภาค ประจำปี ๒๕๖๗ ได้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ ๑๓  กรกฎาคม ๒๕๖๗ ซึ่งผู้รับจ้างได้ดำเนินการจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว  โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    

 

 

 

     ๔.๑ จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

           (๑) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่วันที่ 20 - 22 มิถุนายน 2567 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จังหวัดนครราชสีมา) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น ๓๗๐,๗๘๑ คน  มูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจรวม ๕๘.๙๖ ล้านบาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            (๒) ภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 27 - 29 มิถุนายน 2567 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น ๑๑๔,๔๔๓ คน  มูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจรวม ๕๔.๘๕ล้านบาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              (๓) ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (จังหวัดนครศรีธรรมราช) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น ๑๒๗,๑๑๖ คน  มูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจรวม ๖๐.๐๕ล้านบาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          (๔) ภาคกลางและภาคตะวันออก ตั้งแต่วันที่ 11 - 13 กรกฎาคม 2567  ณ หอประชุมธำรงบัวศรี มหาวิทยาลัยบูรพา (จังหวัดชลบุรี) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น ๖๒,๙๘๐ คน  มูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจรวม ๕๗.๔๖ ล้านบาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      โดยสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น ๖๗๕,๓๒๑ คน 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     ๔.๒ ผลลัพธ์เศรษฐกิจและสังคม ที่เกิดขึ้น

           (๑) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่วันที่ 20 - 22 มิถุนายน 2567 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จังหวัดนครราชสีมา) มูลค่าผลลัพธ์รวม ๕๘.๙๖ ล้านบาท

 

 

          (๒) ภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 27 - 29 มิถุนายน 2567 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) มูลค่าผลลัพธ์รวม ๕๔.๘๕ ล้านบาท

 

           (๓) ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (จังหวัดนครศรีธรรมราช) มูลค่าผลลัพธ์รวม ๖๐,๐๕ ล้านบาท

 

 

           (๔) ภาคกลางและภาคตะวันออก ตั้งแต่วันที่ 11 - 13 กรกฎาคม 2567  ณ หอประชุมธำรงบัวศรี มหาวิทยาลัยบูรพา (จังหวัดชลบุรี)  มูลค่าผลลัพธ์รวม ๕๗.๔๖ ล้านบาท

โดยสรุปผลลัพธ์เศรษฐกิจและสังคม ที่เกิดขึ้นทั้ง 4 ภูมิภาค มูลค่าผลลัพธ์รวมทั้งหมด ๒๓๑.๓๒ ล้านบาท

 

 

๕.  ปัญหา อุปสรรค  และแนวทางการแก้ไข

     สำหรับการดำเนินงาน อว.แฟร์ ระดับภูมิภาค ประจำปี ๒๕๖๗  ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของ กปว. ประกอบกับถูกจำกัดด้วยระยะเวลาในการเตรียมจัดงานอย่างเต็มรูปแบบ เพียง ๑ เดือน ด้วยปัญหาด้านงบประมาณ เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ทำให้การพิจารณางบประมาณประจำปี ๒๕๖๗ ล่าช้าออกไป  โดยมีข้อสังเกต ดังนี้

 

ปัญหา  อุปสรรค

แนวทางแก้ไข

๑. สถานที่การจัดงาน  

    ๑.๑ เป็นสถานที่ที่การเดินทางไม่สะดวกสำหรับผู้เข้าชมงาน จะต้องมีรถยนต์ส่วนตัวถึงจะเข้าถึงได้

    ๑.๒ สถานที่เล็กเกินไป ทำให้การจัดกิจกรรมแต่ละส่วนมีคนเข้าร่วมไม่กี่คนก็เต็มแล้ว

   

๑. สถานที่การจัดงาน

    ๑.๑ สถานที่จัดงานควรเป็นห้างสรรพสินค้า ศูนย์การจัดแสดงนิทรรศการ หรือสถานที่อื่นๆ ที่การคมนาคมสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเดินทางด้วยวิธีไหนก็สะดวกสบาย เข้าถึงได้ง่ายไม่ว่าจะเส้นทางไหน โดยไม่ถูกจำกัดแค่รถยนต์ส่วนตัวเท่านั้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานทุกคนเดินทางไปยังสถานที่จัดงานได้สะดวกทุกคน

     ๑.๒ สถานที่จัดงานควรมีพื้นที่มากพอที่จะให้คนเข้าร่วมกิจกรรมไม่รู้สึกแออัดจนเกินไป ทำให้ไม่อยากเดินชมงาน

 

๒. กิจกรรมในงาน

    ๒.๑ บูธนิทรรศการที่นำไปจัดแสดงบางส่วนนำมาจัดแสดงแค่วันที่มีพิธีเปิดเท่านั้น  พอเสร็จพิธีเปิดก็จะมีบางรายที่กลับทันที

    ๒.๒ ผลิตภัณฑ์ที่นำมาจัดแสดง และขายภายในงานยังไม่หลากหลาย และดึงดูดกลุ่มเป้าหมายมากพอ

 

๒. กิจกรรมในงาน

    ๒.๑ ในการจะนำบูธนิทรรศการมาจัดแสดง  ต้องมีการทำสัญญา ข้อตกลงกันว่าจะต้องอยู่ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายของการจัดงาน  ซึ่งก็จะไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของสถานที่จัดงานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย  เพราะผู้ประกอบการก็จะขายสินค้าได้ด้วย  ซึ่งก็เป็นแรงผลักดัน และขวัญกำลังใจในการอยู่ร่วมจัดนิทรรศการได้ตลอดระยะเวลาที่จัดงาน

    ๒.๒ ผลิตภัณฑ์ที่นำมาจัดแสดง และขายจะต้องครอบคลุมตั้งแต่อาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น  เพื่อเป็นการดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายและมากขึ้น

 

 

๓. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    ๓.๑ ความหลากหลายของผู้เข้าชมกิจกรรมยังไม่มากพอ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา  สำหรับในส่วนของผู้ประกอบการ ภาคเอกชน ประชาชนทั่วไปยังน้อยมาก

๓. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    ๓.๑ ต้องมีการทำหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนเพิ่มเติมมากขึ้น เพื่อเป็นการเชิญเข้าร่วมงาน และ ประชาสัมพันธ์งานไปในตัวด้วย   

 



เขียนโดย : น.ส.สิรีกานต์  เกษี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sireegarn.g@mhesi.go.th