เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
8732
ชื่อ
การผลิตก๊าซมีเทนจากมูลช้างด้วยกระบวนการหมักย่อยไร้อากาศแบบแห้ง ชม 97 ครั้ง
เจ้าของ
ผศ. ดร. ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท
เมล์
sarunyu.m@outlook.com
รายละเอียด

รายละเอียด

ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียมูลช้างด้วยกระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศแบบแห้งที่ใช้ในการวิจัยจะเป็นชนิด Anaerobic Leach Bed Reactor (ALBR) มีขนาดทั้งหมด เท่ากับ 12 ลิตร ซึ่งภายในระบบจะมีการหมุนเวียนน้ำชะภายในระบบ ขนาด 6 ลิตร ซึ่งระบบมีอัตราการเวียนน้ำชะทุก ๆ 3, 6, 12 และ 24 ชั่วโมง ที่ระยะการหมุนเวียนรอบละ 15 นาที ที่ค่าของแข็งทั้งหมด (TS) เริ่มต้น ร้อยละ 20 และอัตราส่วนระหว่างวัตถุดิบตั้งต้นและหัวเชื้อจุลินทรีย์ (S/I ratio) เท่ากับ 1:2 อ้างอิงตามมาตรฐานของแข็งระเหย ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพจะทำการผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนนำเข้าระบบผลิตแก๊สชีวภาพ และระยะเวลาการทำงานของระบบจะดำเนินการจนกว่าระบบจะไม่สามารถผลิตแก๊สชีวภาพได้ และระบบจะมีการควบคุมอุณหภูมิในการทำงานด้วยกระบะน้ำร้อนให้มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 35±2 องศาเซลเซียส 

จุดเด่น

ระบบผลิตก๊าซชีวภาพด้วยกระบวนการหมักย่อยสลายไร้อากาศแบบแห้ง มีองค์ประกอบทั้งหมด 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1 ถังฏิกรณ์ ชนิด Anaerobic Leach Bed Reactor (ALBR) ขนาด 12 ลิตร ใช้บรรจุวัตถุดิบที่ต้องการนำมาผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ และส่วนที่ 2 ถังบรรจุน้ำชะ ชนิด Leached tank (LR) เพื่อใช้ในการหมุนเวียนน้ำชะภายในระบบ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพของวัตถุดิบประเภทลิกโนเซลลูโลส

คำสำคัญ
ก๊าซชีวภาพ  มูลช้าง  ย่อยสลาย  
บันทึกโดย
นายศรัญญู  มูลน้ำ  มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th