เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
8731
ชื่อ
ระบบผลิตก๊าซชีวภาพร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ ชม 155 ครั้ง
เจ้าของ
ผศ. ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท
เมล์
sarunyu.m@outlook.com
รายละเอียด

         การประดิษฐ์ระบบผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นตัวเพิ่มอุณหภูมิ โดยภายในระบบผลิตก๊าซชีวภาพจะมีระบบกวนผสมที่ไม่ยุ่งยาก มีความทนทาน น้ำหนักเบา และดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก อีกทั้งวัสดุที่นำมาสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นและราคาไม่แพง สำหรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์นอกจากจะช่วยผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในการขับเคลื่อนปั๊มก๊าซเพื่อเพิ่มแรงดันก๊าซชีวภาพไปใช้งานในระดับครัวเรือน ความร้อนเหลือทิ้งใต้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ยังเป็นตัวช่วยเพิ่มอุณหภูมิให้กับระบบผลิตก๊าซชีวภาพทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพดียิ่งขึ้น โดยความมุ่งหมายหลักในการประดิษฐ์ครั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือนที่มีประสิทธิภาพสูงร่วมกับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ มีขนาดกะทัดรัดสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย สามารถติดตั้ง เดินระบบ และซ่อมแซมได้ง่ายโดยชาวบ้านธรรมดา ทำให้สามารถผลิตพลังงานทดแทน ควบคู่กับการกำจัดขยะอินทรีย์ในชุมชน เซ่น เศษอาหาร หรือมูลสัตว์ ซึ่งจะทำให้ลดของเสียลงได้ ทำให้สุขอนามัย และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น

รายละเอียด

องค์ประกอบของระบบผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นตัวเพิ่มอุณหภูมิ โดยองค์ประกอบสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่ 1 ถังปฏิกรณ์ผลิตก๊าซชีวภาพ ส่วนที่ 2 ถุงกักเก็บก๊าซชีวภาพ ส่วนที่ 3 กรงป้องกันระบบ และส่วนที่ 4 ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยหลักการทำงานของการประดิษฐ์นี้ คือ ส่วนที่หนึ่ง ถังปฏิกรณ์ผลิตก๊าซชีวภาพ (1) เป็นถังพลาสติกทรงกลมชนิดโพลีเอทิลีน ขนาด 1,000 ลิตร ที่มีช่องป้อนสารอินทรีย์เข้าระบบ เช่น เศษอาหารและมูลสัตว์ เป็นต้น บริเวณด้านหน้ามีลักษณะเป็นทรงกรวยทำจากสเเตนเลส (3) ซึ่งจะต่อกับท่อพีวีซีด้วยเกลียวนอกและใน เพื่อลำเลียงสารอินทรีย์เข้าสู่ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ โดยที่ด้านล่างของถังปฏิกรณ์จะต่อเข้ากับท่อพีวีซีด้วยเกลียวนอกและใน (10) สำหรับระบายน้ำล้นและวัสดุที่ย่อยสลายไม่ได้ออกจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ส่วนด้านข้างของถังปฏิกรณ์จะติดตั้งใบพัดกวนผสมแบบสี่ใบพัดที่ทำจากสเเตนเลส และด้านบนจะมีท่อออกเป็นท่อพีวีซีขนาดครึ่งนิ้ว (2) เพื่อใช้หมุนกวนผสมสารอินทรีย์ภายในระบบ ส่วนที่สอง ถุงกักเก็บก๊าซชีวภาพ ขนาด 600 ลิตร (8) เป็นถุงพลาสติกทรงสี่เหลือมจัตุรัสชนิดพีวีซีเชื่อมต่อกับถังปฏิกรณ์ด้วยท่อ (7) ใช้สำหรับกักเก็บก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้น โดยมีวาล์วควบคุมการปิด – เปิด บริเวณทางเข้าถุงเก็บก๊าซชีวภาพ ซึ่งก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นจะนำไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม ส่วนที่สาม กรงป้องกันระบบ (4) ทำจากเหล็กกล่องกันสนิมล้อมรอบระบบผลิตก๊าซชีวภาพทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยด้านบนของกรงจะเป็นหลังคาทรงจั่วมุงด้วยแผ่นโพลีคาร์บอเนตใส (8) และส่วนที่สี่ ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (6) จะถูกติดตั้งไว้บริเวณด้านบนของหลังคาทรงจั่วแบบเต็มหลังคา (5) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนจะมีการใช้ตู้ควบคุม (9) ในการออกคำสั่งการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยภายในตู้ควบคุม ประกอบด้วย อุปกรณ์ควบคุมปั๊มส่งก๊าซไปใช้งาน แบตเตอรี่สำรองไฟ เป็นต้น

จุดเด่น

 

การประดิษฐ์ระบบผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นตัวเพิ่มอุณหภูมิ โดยภายในระบบผลิตก๊าซชีวภาพจะมีระบบกวนผสมที่ไม่ยุ่งยาก มีความทนทาน น้ำหนักเบา และดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก อีกทั้งวัสดุที่นำมาสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นและราคาไม่แพง

คำสำคัญ
ก๊าชชีวภาพ  พลังงานแสงอาทิตย์  
บันทึกโดย
นายศรัญญู  มูลน้ำ  มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th