สิ่งที่ได้เรียนรู้ โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator: UBI)  276

คำสำคัญ : UBI  

โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator: UBI)

1.หน่วย UBI ปัจจุบัน มี 83 แห่ง ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ภายใต้การบริหารงานของ 9 เครือข่ายอุดมศึกษา
2.เป้าหมายดำเนินงาน: เพื่อสนับสนุน พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่จากผลงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา
3.กลุ่มเป้าหมาย : นิสิต นักศึกษา บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา และผู้ประกอบการใหม่
4.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จะแบ่งพัฒนาเป็น 3 กลุ่ม
4.1 Pre-Incubation สนับสนุนผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ โดยมีแนวคิดอยากดำเนินธุรกิจ ด้วยการนำนวัตกรรมสร้างสรรค์มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่เชิงพาณิชย์
4.2 Start-up Companies สนับสนุนให้เกิดบริษัทจัดตั้งใหม่ ธุรกิจมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนทำได้จริง และจดทะเบียนนิติบุคคลไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัครเข้าร่วม
4.3 Spin-off Companiess สนับสนุนการพัฒนาสู่บริษัทธุรกิจเต็มรูปแบบ ผ่านขั้นตอน 4.2 แล้ว ผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน
 
ข้อเสนอแนะ : ที่ผ่านมา การทำงานร่วมกันระหว่าง ปค.ภาคอีสาน อุทยานวิทย์ และ itap มีรูปแบบไม่เป็นทางการ ใช้การติดต่อส่วนตัวในการประสานและส่งต่องาน เช่น ลูกค้าจากโครงการ U2T สำนักงานสถิติ จ.ขอนแก่น ขอความอนุเคราะห์ดูงานบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ เป็นต้น เพื่อให้การทำงานเกิดความยั่งยืนและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน รวมทั้งเกิดการพัฒนางานในอนาคต ควรมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการทำงานในพื้นที่

เขียนโดย : นายวิทยา  สุวรรณสุข สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : wittaya@most.go.th

เครือข่ายอุดมศึกษา 9 แห่งของ  UBI มีที่ไหนบ้างครับ

เขียนโดย ดร.เอกชัย  เขื่อนมณี

พี่หลินพี่เอกกี้ครับ เครือข่าย UBI มีการทำงาน 9 เครือข่ายหลัก  โดยมีที่มาจากการกำหนดเครือข่ายอุดมศึกษา มีที่มาคือ

การจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว) ได้พิจารณาเห็นว่า ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเปิดเสรีทางการค้าทำให้ประชาคมโลกเชื่อมโยงกันเป็นสังคมหนึ่งเดียวและทวีการแข่งขันที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น สถาบันอุดมซึ่งถือว่าเป็นหน่วยผลิตและเป็นแหล่งรวมทรัพยากรที่มีค่าและสำคัญยิ่งของประเทศจึงไม่สามารถที่จะดำเนินการและแข่งขันได้อย่างโดดเดี่ยว จำเป็นจะต้องเตรียมการและพร้อมรับสู่การเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การสร้างความร่วมมือและการทำงานแบบบูรณาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศ รวมทั้งกับต่างประเทศจะทำให้สถาบันอุดมศึกษามีความเข้มแข็งเกิดการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน การผนึกกำลังร่วมกันในลักษณะเครือข่ายจึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่สอดคล้องเหมาะสม ที่ทำให้สถาบันอุดมศึกษามีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว) ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาสร้างความร่วมมือร่วมกันปฎิบัติภารกิจต่าง ๆ ของอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง เกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดในการดำเนินการ สำหรับการดำเนินการในประเทศสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาได้ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเครือข่ายหลักในหลายภารกิจหลายโครงการอาทิ เครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย เครือข่ายบริหารวิจัย เครือข่ายพัฒนาศักยภาพนิสิตนักศึกษาเป็นต้น ซึ่งเครือข่ายต่าง ๆ เหล่านี้จะมีลักษณะการดำเนินการและการจัดตั้งที่คล้าย ๆ กัน จะแตกต่างกันไปบ้างก็ตามแต่วัตถุประสงค์และภารกิจของแต่ละเครือข่าย

เพื่อให้ได้เห็นถึงภาพรวมของการดำเนินงานเครือข่ายของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว) และผลักดันให้การดำเนินงานในรูปแบบเครือข่ายเป็นกลไกหนึ่งของการทำงานเพื่อพัฒนาอุดมศึกษาของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างจริงจังและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาให้เครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษามีความเข้มแข็งเป็นเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาโดยถือเป็นโครงสร้างหนึ่งของระบบบริหารจัดการอุดมศึกษา และเป็นกลไกส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาสร้างความร่วมมือในการปฎิบัติภารกิจ เสริมสร้างความเข้มแข็งและช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการผลักดันเชิงนโยบายและร่วมแก้โจทย์ปัญหาของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว) ได้ประกาศจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9 เครือข่าย ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง การจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2548 กำหนดรูปแบบการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาโดยยึดพื้นที่เป็นเกณฑ์ (area approach) ซึ่งมีข้อดีในเรื่องของความใกล้ชิดในพื้นที่ ความสะดวกในการติดต่อประสานงาน และมีโจทย์ในพื้นที่คล้าย ๆ กัน โดยจัดกลุ่มอิงตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดของรัฐบาล และผนวกกรุงเทพมหานครเข้าไว้ในภาคกลาง เป็น 9 เครือข่าย ดังนี้

 

เขียนโดย นายทินกร  รสรื่น