Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
แนวทางการพัฒนา/ปรับปรุงงาน : โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า 68
คำสำคัญ : กปว. การปรับปรุงงาน
โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
สนับสนุนการพัฒนาสร้างเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตภายในประเทศตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เพื่อลดการนำเข้าเทคโนโลยีเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์จากต่างประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้แก่ภาคเอกชนไทย โดยอาศัยกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอย (Reverse Engineering) อันเป็นกระบวนการสร้างคุณค่าทางวิศวกรรม หรือที่เรียกว่า วิศวกรรมเพื่อสร้างสรรค์คุณค่า (Value Creation Engineering) ที่เน้นการพัฒนาในด้านการออกแบบใหม่ให้เหมาะสมกับประเทศ โดยการใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศ เป็นการบูรณาการระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัยของรัฐ และภาคเอกชน ในรูปแบบเกลียว 3 ประสาน หรือที่เรียกว่าโมเดล Triple Helix ตลอดจนการมีส่วนร่วมในค่าใช้จ่ายของโครงการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
ประเด็นปัญหา แบ่งเป็น 2 ประเด็น
1. ประเด็นปัญหาด้านความหลากหลายของโครงการ
ปัจจุบันพบว่าข้อเสนอโครงการที่ขอสนับสนุนทุนไม่ค่อยมีความหลากหลาย เป็นอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและการเกษตรส่วนใหญ่ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศของการเกษตรและส่งออกอาหารทำให้หนีไม่พ้นในการสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ แต่เพื่อการพัฒนาประเทศในหลากหลายด้าน ประเทศไทยควรมีการขยายอุตสาหกรรมเครื่องจักรในหลายด้าน เช่น ยานยนต์ หุ่นยนต์ การแพทย์ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะการปรับปรุงงาน: ควรมีการประสานหรือประชาสัมพันธ์โครงการให้กว้างขึ้นกว่าปัจจุบัน เช่น การประชาสัมพันธ์ผ่านอว.ส่วนหน้า อุทยานวิทยาศาสตร์ สภาอุตสาหกรรม เป็นต้น
2. ประเด็นปัญหาด้านการกระจายของโครงการในภูมิภาค
พบว่าการสนับสนุนทุนยังไม่กระจายทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ เนื่องจากฐานการผลิตเครื่องจักรฯ ภาคเอกชนตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล และโครงการฯยังไม่เป็นที่รู้จักมากพอ
ข้อเสนอแนะการปรับปรุงงาน: ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ในแต่ละภูมิภาค เพื่อสร้างการรับรู้ และขยายโครงการฯให้เป็นที่รู้จักรมากยิ่งขึ้น
เขียนโดย : น.ส.สัณหพร ฝาชัยภูมิ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sanhaporn.ph@ku.th