แนวคิดการพัฒนางานโครงการปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน  82

คำสำคัญ : โรงเชือด  ปศุสัตว์  ภาคใต้ชายแดน  

แนวคิดการพัฒนางานโครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์ม และสร้างความเป็นอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน

ประเด็นปัญหา : ขาดโรงเชือดที่ได้มาตรฐานในพื้นที่ทำให้ไม่สามารถแปรรูปในระบบได้หากส่งเชือดนอกพื้นที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง

ปัญหาโรงเชือดในพื้นที่ภาคใต้ถือเป็นปัญหาคอขวดซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขได้ ทำให้เกิดข้อจำกัดของผู้เลี้ยงคือขายได้เฉพาะสัตว์มีชีวิตเท่านั้น หรือหากมีการเชือดก็ทำได้แค่การเชือดที่ยังไม่ได้มาตรฐานเน้นตลาดในชุมชนเท่านั้น หากจะมองถึงสาเหตุของปัญหานี้อาจมี 2ประเด็น คือ


 1.หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนให้ไม่ตรงกับความต้องการของเกษตรกร อาทิ การสร้างโรงเชือดที่ไม่ได้ขนาดและกำลังการผลิตที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของพื้นที่ โดย อาจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไปทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากโรงเชือดได้


2.เกิดจากผู้บริหารจัดการโรงเชือดเองที่ไม่สามารถจัดการโรงเชือดได้ สาเหตุนี้น่าจะเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้โรงเชือดไม่ได้ใช้งานและสุดท้ายก็ถูกทิ้งร้างไว้ การบริหารจัดการนี้เริ่มตั้งแต่การจัดตั้งบุคลากรที่มาดูแลโรงเชือด มีแผนการจัดหาสัตว์ให้เข้ามาเชือดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ มีการจัดการของเสียและสิ่งแวดล้อมไม่ให้กระทบกับชุมชนข้างเคียง


แนวทางพัฒนา

หากมีการสร้างหรือปรับปรุงโรงเชือดก็ควรศึกษาข้อมูลปริมาณสัตว์ในพื้นที่ และข้างเคียงว่าอัตราผลิตพร้อมเชือดเท่าไหร่ เพื่อจะได้สร้างโรงเชือดที่สามารถรองรับกับปริมาณสัตว์ที่มีได้ ซึ่งอาจจะคาดการณ์ไปถึงอนาคตด้วยว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร สำหรับการบริหารจัดการโรงเชือดอาจต้องใช้บริษัทเอกชนเข้ามาบริหารจัดการ ทั้งเรื่องบุคลากร และเรื่องรายได้จากการเชือด รวมถึงเรื่องอื่นๆ โดยให้มีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทุกๆหน่วยเป็นหน่วยสนับสนุนและที่ปรึกษา นอกจากนี้อาจต้องมีการปรับนโยบายของหน่วยงานภาครัฐเพื่อส่งเสริมมีการผลิตสัตว์เพื่อป้อนเข้าสู่โรงเชือด และนโนบายที่ส่งเสริมด้านการตลาด และมีบทลงโทษผู้ที่ลักลอบนำเนื้อเถื่อนเข้ามาอย่างผิดกฏหมายอย่างจริงจัง


เขียนโดย : นายจตุรงค์  สินแก้ว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : jaturong.s@most.go.th