แปลงพืชอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิต  104

คำสำคัญ : พืชอาหารสัตว์  ปศุสัตว์  ภาคใต้ชายแดน  

การทำปศุสัตว์ในภาคใต้ชายแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้เลี้ยงโคต้องประสบปัญหาเรื่องต้นทุนอาหารสัตว์ที่มีราคาแพะ

เพราะวัตถุดิบหลายชนิดต้องสั่งซื้อและนำเข้ามาจากภาคอื่น อาทิ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องแบกรับต้นทุนเรื่องค่าขนส่ง

ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีโครงการการบริหารจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์และสูตรอาหารสัตว์สำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน

ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภายใต้โครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์ม

และสร้างความเป็นอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน โดยการผลิตแปลงพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) 

อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี (สภาพพื้นที่เป็นดินทราย) มีการปลูกพืชอาหารสัตว์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ดินทราย ได้แก่ มันสำปะหลัง

กระถินพันธุ์ KU 636 หม่อนกินใบพันธุ์ บุรีรัมย์ 60 และหญ้าอาหารสัตว์  โดยจะขยายผลจากพื้นที่กลาง (นทพ.) ไปยังครัวเรือนของเกษตรในอำเภอมายอ

และอำเภอทุ่งยางแดงเพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งอาหารสัตว์ ช่วยลดต้นทุนเรื่องอาหารสัตว์ให้แก่เกษตรกรได้นอกจากนี้นักวิจัยจากสถาบันวิจัย

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จะมาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตหัวเชื้อจากจุลินทรีย์อย่างง่าย ในการหมักพืชอาหารสัตว์ เ

พื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้แก่สัตว์ โดยที่เกษตรกรสามารถนำวัตถุดิบใกล้ๆตัวมาปรับใช้และผลิตได้

 

ที่มาข้อมูล  : โครงการการบริหารจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์และสูตรอาหารสัตว์สำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องในพื้นที่ ภาคใต้ชายแดน ปีงบประมาณ พ.ศ.2567
                   ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภายใต้โครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มและสร้างความเป็น อัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน 


เขียนโดย : นายจตุรงค์  สินแก้ว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : jaturong.s@most.go.th