เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7859
ชื่อ
มะเขือเทศสีดาทิพย์ด่าง (โครงการวิจัยปี 2563) ชม 145 ครั้ง
เจ้าของ
ดร.อัญชลี รวีโรจน์วิบูลย์ รศ.ดร.จุลภาค คุ้นวงศ์
เมล์
E-mail: rdianr@ku.ac.th
รายละเอียด

มะเขือเทศพันธุ์สีดาทิพย์ด่าง เป็นพันธุ์กลายที่ได้มาจากการชักนำให้เกิดการกลายด้วยสารเคมีก่อการกลาย ซึ่งดำเนินการภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การสร้าง haploid inducer line โดยการชักนำให้กลายพันธุ์ด้วยเอทิลมีเทนซัลโฟเนตในมะเขือเทศ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์” จากแหล่งทุนศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สกอ. งบประมาณปี 2561 เริ่มดำเนินโครงการเมื่อปีพ.ศ. 2561 โดยนำเมล็ดมะเขือเทศสายพันธุ์ TOMAC463 เป็นสายพันธุ์ตั้งต้น มาชักนำให้เกิดการกลายด้วยสารเอทิลมีเทนซัลโฟเนต (ethyl methanesulfonate; EMS) จากนั้นนำเมล็ดกลายพันธุ์รุ่นที่ 1 เพาะลงในวัสดุเพาะเมล็ดภายในโรงเรือนปลูกพืชทดลอง จนเมื่อต้นกล้ามีอายุ 25 วัน ทำการย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลงปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 879 ต้น และปล่อยให้ติดผลโดยไม่มีการควบคุมการผสมเกสร (open pollination) จากนั้นเก็บเมล็ดของทุกต้นแบบแยกต้นโดยไม่มีการคัดเลือก ต่อมาปี พ.ศ. 2562 นำเมล็ดกลายพันธุ์ชั่วรุ่นที่ 2 ที่ได้จากการผสมตัวเองจากพืชชั่วรุ่นที่ 1 (M1 plants)  แต่ละต้นมาปลูกแบบต้นต่อแถว ภายในโรงเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา และพบลักษณะต้นด่างภายในประชากรชั่วรุ่นที่ 2 เพียง 1 ต้นแสดงลักษณะลำต้นด่างและใบมีลายสีเขียวสลับขาวสวยงาม ลักษณะใบที่พบมีตั้งแต่ใบสีเขียว ใบด่างเขียวอ่อน ใบด่างขาว และใบด่างเหลืองอ่อน จึงได้ทำการคัดเลือกไว้และปล่อยให้ต้นพืชผสมตัวเองโดยปลูกในโรงเรือนกันแมลง เพื่อเก็บเมล็ด ต่อมาเพื่อยืนยันความคงตัวทางพันธุกรรม (solid mutant) ในปีพ.ศ. 2563 ได้นำเมล็ดกลายพันธุ์ชั่วรุ่นที่ 3 มาปลูกจำนวน 50 ต้น ภายในโรงเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พบว่าประชากรชั่วรุ่นที่ 3 ทั้งหมดแสดงลักษณะด่างคล้ายกับต้นแม่ที่คัดเลือกได้ในชั่วรุ่นที่ 2 จากนั้นปล่อยให้ต้นพืชผสมตัวเองเพื่อเก็บเมล็ด ต่อมาเพื่อพัฒนาให้เป็นมะเขือเทศด่างสายพันธุ์ไม้ประดับ จึงนำเมล็ดชั่วรุ่นที่ 4 และ 5 มาปลูกในปีพ.ศ. 2564 ชั่วรุ่นละ 50 ต้น ภายในโรงเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อยืนยันลักษณะความคงตัวทางพันธุกรรม พบว่าทุกต้นในประชากรชั่วรุ่นที่ 4 และ 5 ต้นมะเขือเทศยังคงแสดงลักษณะด่างที่ดี มีลวดลายสวยงามตรงตามความต้องการ ซึ่งลักษณะทางสัณฐานวิทยาของมะเขือเทศสีดาทิพย์ด่าง คือ ต้นและใบทั้งอ่อนและแก่มีลักษณะด่าง ใบมีสีตั้งแต่ใบสีเขียว ใบด่างสีเขียวอ่อน ใบด่างสีขาว และใบด่างสีเหลืองอ่อน ก้านใบอ่อนมีสีม่วง-ม่วงอ่อน ลำต้นกลมและมีลายสีเขียวสลับขาว ทรงต้น รูปร่างใบ และลักษณะผลคล้ายสายพันธุ์ TOMAC463 คือ ลักษณะต้นมีการเจริญแบบกึ่งเลื้อย ใบเป็นใบประกอบออกสลับกัน ใบย่อยมีขนาดไม่เท่ากัน ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ผลมีรูปทรงไข่สามารถรับประทานได้ มะเขือเทศพันธุ์สีดาทิพย์ด่างเหมาะแก่การนำมาเป็นไม้ประดับและนำมารับประทาน

 

                                                       

 

                                                                                                                   ข้อมูลผลงานวิจัยด้านเทคโนโลการปรับปรุงพันพืช/สัตว์

                                                                 

คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร      
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th