เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7831
ชื่อ
การเพิ่มประสิทธิภาพแบตเตอรี่ลิเที่ยมไอรอนฟอสเฟตต้นแบบเพื่อนำไปสู่การผลิตรถเข็นนั่งไฟฟ้าได้เชิงพาณิชย์ ชม 120 ครั้ง
เจ้าของ
รศ. ดร.ปณิทัต หาสิน
เมล์
fscipths@ku.ac.th
รายละเอียด

นำวัสดุขั้วแคโทดคาร์บอนคอมโพสิตของ LiFePO4 (LFP) โดยการเติมเพิ่มหมู่ฟังก์ชั่นที่มีไนโตรเจนและซัลเฟอร์โดยการใช้แอมโมเนียมเปอร์ซัลเฟต (APS) ไปประกอบเป็น เซลล์ แบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นเซลล์แบตเตอรี่ไอออนลิเที่ยมชนิดทรงกระบอก (cylindrical cell) ขนาด 18650 ผ่านการว่าจ้างโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้ผลิต ผลการทดสอบ ประสิทธิภาพการอัดและคายประจุของเซลล์แบตเตอรี่ไอออนลิเที่ยมชนิดทรงกระบอกที่ผลิตขึ้นที่อัตราการให้ กระแสต่างๆ ประกอบด้วย 180, 450, 900, และ 1440 มิลลิแอมป์-ชั่วโมง (mAh) หรือคิดเป็นอัตรา 0.1, 0.25, 0.5, 0.8 C โดยประมาณ พบว่าแรงดันไฟฟ้าของการคายประจุที่แต่ละอัตราการให้กระแสค่อนข้างคงที่ มีค่าอยู่ในช่วงประมาณ 3.1-3.3 โวลต์และให้ค่าความจุไฟฟ้า (capacity) ของเซลล์แบตเตอรี่ทรงกระบอกแต่ ละก้อน มีค่าประมาณ 1.39-1.46 แอมป์-ชั่วโมง (Ah) และมีค่าประสิทธิภาพคูลอมป์มากกว่า 99% พลังงานที่ ได้จากการทดสอบเซลล์แบตเตอรี่ไอออนลิเที่ยมชนิดทรงกระบอกแบบเซลล์เดี่ยวในช่วงอัตราการให้กระแส ข้างต้นมีค่าประมาณ 4.3-4.7 วัตต์-ชั่วโมง (Wh) จากผลการทดสอบประสิทธิภาพการอัดและคายประจุของ เซลล์แบตเตอรี่ที่ผลิตขึ้นที่อัตราต่างๆ ซึ่งให้ผลที่ใกล้เคียงกัน แสดงถึงความเสถียรของเซลล์แบตเตอรี่และ ศักยภาพในการผันกลับได้สูง จากนั้นผู้วิจัยได้ทดสอบนำแบตเตอรี่ไอออนลิเธี่ยมเซลล์เดี่ยวที่ได้จำนวน 4 เซลล์ มาประกอบแบบขนานเป็นแพคแบตเตอรี่ ที่อัตราการอัดและคายประจุ 0.2 C พบว่าให้แรงดันไฟฟ้าของการ คายประจุค่อนข้างคงที่ ประมาณ 3.2 โวลต์ให้ค่าความจุไฟฟ้าประมาณ 4.3 แอมป์-ชั่วโมง (Ah) และมีค่า ประสิทธิภาพคูลอมป์มากกว่า 99% เช่นกัน แพคแบตเตอรี่ไอออนลิเที่ยมดังกล่าวสามารถให้พลังงานถึง ประมาณ 11.7 วัตต์-ชั่วโมง (Wh) ซึ่งแสดงถึงศักยภาพในการนำไปพัฒนาประกอบเป็นแพคแบตเตอรี่ขนาด ใหญ่ที่ให้พลังงานและแรงดันสูงขึ้น สุดท้ายผู้วิจัยได้ทำการนำเซลล์แบตเตอรี่ทรงกระบอกเดี่ยวจำนวน 16 เซลล์ เพื่อประกอบเป็นแพคแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่ให้แรงดันสูงขึ้นในลักษณะวงจรแบบขนานของแพคอนุกรม ของเซลล์แบตเตอรี่ 4 เซลล์ พบว่าแพคแบตเตอรี่ที่ประกอบขึ้นสามารถให้แรงดันถึงประมาณ 13 โวลต์

                                                                                      

คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th