เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7823
ชื่อ
เซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าร่วมกับพอลิเมอ์รอยพิมพ์ประทับระดับโมเลกุล ชม 123 ครั้ง
เจ้าของ
รศ.ดร. อาภรณ์ นุ่มน่วมส
เมล์
apon.n@psu.ac.th
รายละเอียด
ปัจจุบันการตรวจวัดตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในสารคัดหลั่งหรือของเหลวในร่างกายมีความสำคัญต่อการวินิจฉัยและคัดกรองโรคเป็นอย่างมาก เนื่องจากปริมาณของตัวบ่งชี้สามารถระบุความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นโรคมะเร็ง โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามเทคนิคที่ใช้ในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ในโรงพยาบาลนั้นมีข้อเสียคือ มีราคาสูง มีขั้นตอนที่ซับซ้อน ใช้สารเคมีหลายชนิด ต้องอาศัยผู้ชำนาญในการดำเนินการ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเทคนิคในการตรวจวัดที่มีราคาถูก ใช้งานง่าย และรวดเร็วในการวิเคราะห์
เทคนิคทางเคมีไฟฟ้าเป็นเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจเนื่องจากมีการตรวจวัดที่รวดเร็ว มีความไววิเคราะห์สูง มีราคาถูก และสามารถใช้งานแบบพกพาได้ อย่างไรก็ตามการตรวจวัดตัวบ่งชี้ทางชีวภาพด้วยเทคนิคทางเคมีไฟฟ้า ไม่สามารถตรวจวัดได้โดยตรง จึงต้องอาศัยการปรับปรุงขั้วไฟฟ้าทำงานร่วมกับสารชีวภาพเช่น แอนติบอดี (antibody) และแอปตาเมอร์ (aptamer) เพื่อให้ได้เซนเซอร์ที่มีความจำเพาะเจาะจงสูง โดยกระบวนการจับกันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สามารถตรวจวัดได้โดยตัวตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้า อย่างไรก็ตามกระบวนการดังกล่าวข้างต้นมีข้อด้อยคือ มีราคาสูง และมีเสถียรภาพที่ต่ำ
เทคนิคทางเคมีไฟฟ้าร่วมกับพอลิเมอร์รอยพิมพ์ประทับระดับโมเลกุล (molecularly imprinted polymer, MIP) จึงเป็นเทคนิคหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากพอลิเมอร์รอยพิมพ์ประทับระดับโมเลกุลเป็นวัสดุพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่มีความจำเพาะเจาะจงกับสารแม่แบบที่ใช้ในการสังเคราะห์ เตรียมได้จากการพอลิเมอไรเซชันของมอนอเมอร์ร่วมกับสารที่สนใจวิเคราะห์ (สารแม่แบบ) หลังจากนั้นสกัดสารแม่แบบออกจะทำให้ได้ช่องว่างที่มีความจำเพาะต่อสารแม่แบบ ทั้งรูปร่าง ขนาด และหมู่ฟังก์ชัน นอกจากนี้พอลิเมอร์รอยพิมพ์ประทับระดับโมเลกุลยังมีคุณสมบัติที่ดีคือ มีความทนทานและเสถียรภาพที่ดี มีราคาถูก และเตรียมได้ง่าย เมื่อนำสองเทคนิคมาใช้งานร่วมกันทำให้ได้เซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าที่มีความจำเพาะเจาะจงสูงต่อสารที่ต้องการตรวจวัด โดยงานวิจัยได้ออกแบบและพัฒนาสำหรับการตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก
 
                                                              
คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th