เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7802
ชื่อ
Incorporation of Cation Affects the Redox Reactivity of Fe-NNN Complexes on C-H Oxidation ชม 144 ครั้ง
เจ้าของ
ผศ. ดร.ธีรา ฉันทโรจน์ศิริ
เมล์
teera.cha@mahidol.edu
รายละเอียด
การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมีนั้นประกอบไปด้วยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและคุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นคุณสมบัติทางเคมี การปรับเปลี่ยนที่เฉพาะเจาะจงและมีความละเอียดนี้ต้องกระทำผ่านการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี เพื่อให้ได้การเร่งปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเติมไอออนเพื่อสร้างสนามไฟฟ้าสถิตย์สามารถนำมาใช้ปรับเปลี่ยนความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาของตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดต่างๆได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี แต่ยังสามารถเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติในการเร่งปฏิกิริยาได้ ปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตย์จากประจุที่ใส่เพิ่มเติมในโมเลกุลนั้นสามารถเปลี่ยนประสิทธิภาพและความเฉพาะเจาะจงในตัวเร่งปฏิกิริยาประเภทต่างๆ และมีรายงานมากมายเกี่ยวกับการใช้ปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตย์มาเพิ่มความสามารถของตัวเร่งปฏิกิริยา
ในงานนี้ ได้ทำการศึกษาสารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กที่ประกอบไปด้วยไนโตรเจน ชนิดพิริดีน และเอมีน ที่สามารถจับกับ เหล็ก (III)  ถูกออกแบบมาให้สามารถจับกับไอออนบวกจากโลหะอัลคาไลน์และอัลคาไลน์เอิร์ธ เพื่อสร้างสนามไฟฟ้าในโมเลกุล
สารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กในรายงานนี้ เมื่อจับกับประจุที่มีค่าต่างไป (+1, +2, +3) ก็สามารถเปลี่ยนค่าความต่างศักย์รีดอกซ์ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญของการเกิดสนามไฟฟ้าสถิตย์ในโมเลกุล และตัวเร่งปฏิกิริยานี้ยังทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของพันธะคาร์บอน-ไฮโดรเจน โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในอัตราส่วนที่ต่างกัน โดยมีสัดส่วนของผลิตภัณฑ์จากการรับออกซิเจนมากกว่าจากการเคลื่อนย้ายไฮโดรเจนอะตอม การศึกษาโดยเคมีคำนวณ ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิคส์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดปฏิกิริยาที่ต่างกัน
การศึกษาสารประกอบเหล็กชิ้นนี้ ได้ทำให้เกิดความเข้าใจในปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตย์ในโมเลกุลของตัวเร่งปฏกิริยาซึ่งสามารถเกิด ออกซิเดชันของพันธะคาร์บอน—ไฮโดรเจน และการจับกับไอออนที่เปลี่ยนคุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ของตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดโลหะทรานซิชัน จากงานในครั้งนี้ จะช่วยนักวิจัยในการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาในอนาคต
 
                                                                                   https://pubs.acs.org/doi/abs/10.1021/acs.inorgchem.2c00762
คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th