เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7800
ชื่อ
เซนเซอร์พร้อมเครื่องวัดสารกันเสียซัลไฟต์ตกค้างในกุ้งและอาหารทะเลแช่แข็ง ชม 127 ครั้ง
เจ้าของ
รศ.ดร. กาญจนา อุไรสินธว์ รศ.ดร. ดวงใจ นาคะปรีชา ผศ.ดร. พูนทวี แซ่เตีย
เมล์
kanchana.ura@mahidol.ac.th, duangjai.nac@mahidol.a
รายละเอียด

เซนเซอร์พร้อมเครื่องวัดสารกันเสียซัลไฟต์ตกค้างในกุ้งและอาหารทะเลแช่แข็ง เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้วัดระดับสารซัลไฟต์ซึ่งปกติต้องเฝ้าระวังมิให้มีตกค้างในผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่เข็งเกินกว่าระดับมาตรฐานที่ได้รับอนุญาตภายใต้กฎหมายของทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก เนื่องจากสารกันเสียนี้ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ที่อันตราย  เซนเซอร์พร้อมเครื่องวัดสารกันเสียซัลไฟต์นี้มีข้อได้เปรียบเหนือกว่า นวัตกรรมดั้งเดิมของกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) รุ่น Biofish 300 SUL ที่เป็นแบบไบโอเซนเซอร์พัฒนาโดยกลุ่มสหภาพยุโรป ที่มีจุดอ่อนหลัก ๆ คือ ต้องจัดเก็บหัววัดแบบแช่เย็น และต้องแช่น้ำก่อนใช้งานครั้งแรกเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนทำการวัดต้องมีขั้นตอนการสกัดเสียก่อน ทำให้ไบโอเซนเซอร์ใช้เวลานานถึง 18 นาที ในขณะที่เซนเซอร์พร้อมเครื่องวัดสารกันเสียซัลไฟต์นี้อ่านผลเร็วใน 3 นาทีและไม่มีขั้นตอนแยกของการสกัด หลักการวัดซัลไฟต์เป็นแบบการวัดไอระเหย โดยเครื่องมีน้ำยาเคมีที่แปลงซัลไฟต์ในตัวอย่างอาหารให้กลายเป็นสารระเหยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้บนฝาปิดตรวจจับสารระเหยนี้ และอ่านเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับความเข้มข้นของสารกันเสียในอาหาร ความพร้อมทางเทคโนโลยีอยู่ในระดับ TRL-4  โดยหลักการนวัตกรรมเซนเซอร์พร้อมเครื่องวัดสารกันเสียซัลไฟต์นี้ได้รับการตีมพิมพ์แล้วในวารสารระดับนานาชาติ (N. Jantawong, P. Prasertying, T. Wongpakdee, N. Khoonrueng, P. Aroonchat, N. Fukana, P. Wilairat, K. Uraisin, N. Nacapricha, Absorption of sulfur dioxide gas in moistened porous material on a suspended gold leaf electrochemical sensor. Sens. Actuators B Chem., 385 (2023) 133634.) อย่างไรก็ดีผลงานชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ประจำปี 2566 เพื่อต่อยอดผลงานวิชาการนี้ให้มุ่งไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีความพร้อมเทคโนโลยีอยู่ในระดับ TRL-6 ต่อไป

                                                                                           

คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th