เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7689
ชื่อ
โครงการIntroduced Earthworms in Agricultural and Influences on Soil Properties, Plant Production and Other Soil Biota: Impacts for Eco-friendly Agriculture ชม 174 ครั้ง
เจ้าของ
ศ. ดร. สมศักดิ์ ปัญหาและ ผศ. ดร. รัตน์มณี ชนะบุญ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
เมล์
cratmanee@yahoo.com
รายละเอียด

ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนคือผลิตภัณฑ์หนึ่งที่น่าสนใจต่อการมาใช้ในระบบการเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากปุ๋ยหมักนั้นเกิดขึ้นจากกิจกรรมการย่อยของไส้เดือนร่วมกับจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ของไส้เดือน โดยได้จากกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ชนิดต่างๆ  ที่นำมาใช้เป็นแหล่งของวัตถุดิบในการเพาะเลี้ยงผลผลิตสุดท้ายจะได้ปุ๋ยหมักที่มีลักษณะดีเยี่ยม  คือ  จะเป็นเม็ดร่วนละเอียด  มีสีน้ำตาล  โปร่งเบา  ซึ่งผลจากการย่อยสลายขยะอินทรีย์ที่ไส้เดือนดูดกินเข้าไปภายในลำไส้ และด้วยกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้และน้ำย่อยของไส้เดือนดินจะช่วยให้ธาตุอาหารหลายๆ  ชนิดที่อยู่ในเศษอินทรีย์มีแอมโมเนียม และฟอสฟอรัสในรูปแบบที่เป็นประโยชน์  โพแทสเซียมในรูปที่แลกเปลี่ยนได้เลย และนอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืชชนิดอื่น และจุลินทรีย์หลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อดิน  รวมทั้ง  สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิดที่เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ในลำไส้ของไส้เดือนดิน ดังนั้นเมื่อใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินให้กับต้นพืช  ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินก็จะค่อยๆ  ปลดปล่อยไนโตรเจนในรูปที่พร้อมให้ต้นพืชนำไปใช้ได้เลย นอกจากนี้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่ได้จะมีธาตุอาหารพืชอยู่มากกว่าแหล่งปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกชนิดอื่นๆ ด้วย (Edwards and Bohlen, 1996) การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนและน้ำหมักมูลไส้เดือนในการปลูกพืชจะส่งผลให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้นโดยทำให้ดินกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น  มีความโปร่งร่วนซุยรากพืชสามารถชอนไชและแพร่กระจายได้กว้าง  ดินมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี รากพืชสามารถสร้างเอนไซม์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้เพิ่มขึ้น  นอกจากนี้จุลินทรีย์ในดินที่ปนออกมากับมูลของไส้เดือนยังสามารถสร้างเอนไซม์ฟอสฟอเตสได้อีกด้วยซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสในดินให้สูงขึ้นได้ (อานัฐ ตันโช, 2548) การเกษตรระบบการผลิตเชิงอินทรีย์นี้เชื่อว่าจะทำให้ดินกลับมาอุดมสมบูรณ์ดังเดิม ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพจะกลับมาสู่ระบบอีกครั้ง นอกจากนั้นผลกระทบที่สำคัญคือการกลับมาสู่ความสุขของเกษตรกรและครอบครัวรวมทั้งผู้บริโภคนั่นก็คือคนไทยทั้งประเทศที่จะห่างไกลจากสารเคมีและการเจ็บป่วยจากการปนเปื้อนทางเคมี อย่างไรก็ตามการเพาะเลี้ยงไส้เดือนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงอย่างยิ่งคือวัสดุที่นำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงไส้เดือน เนื่องจากเศษวัสดุที่นำมาเพาะเลี้ยงจะมีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกัน อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตไส้เดือนและส่งผลต่อประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการศึกษาการใช้เศษวัสดุที่เหมาะสมต่อการนำมาเพาะเลี้ยงไส้เดือน โดยติดตามการเปลี่ยนแปลงประชากรของไส้เดือนและธาตุอาหารที่พบในปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนหลังจากการเพาะเลี้ยง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้เศษวัสดุมาเพาะเลี้ยงไส้เดือนให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และเหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th