เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7688
ชื่อ
โครงการBiochemical Components Analysis of the Mantle Mucus of the Siamese Snials: Novel Substances for Cosmeceutical Products ชม 183 ครั้ง
เจ้าของ
ศ. ดร. อัญชลี ทัศนาขจร ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา
เมล์
anchalee.k@chu;la.ac.th
รายละเอียด

ด้วยความเด่นดังของเครื่องสำอางและสปาเมือกหอยทาก ที่นำหอยทากสายพันธุ์ต่างประเทศมาเดินบนหน้าคนไทย เป็นแรงกระตุ้นให้นักวิจัยไทยแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มมองว่าทำไมจึงไม่มีใครนำหอยทากสายพันธุ์ไทยที่มีอยู่มากมาย และเป็นสมบัติความหลากหลายทางชีวภาพของชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะเชื่อมั่นว่าหอยทากไทยที่มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ย่อมต้องมีเมือกที่อุดมด้วยสารธรรมชาติหลากชนิดเช่นเดียวกัน ที่สำคัญหอยเขตร้อนต้องมีสารที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ความร้อนและรังสียูวีในปริมาณสูงกว่า และมีโปรตีนต้านเชื้อโรคที่หลากหลายกว่า จึงได้คัดเลือกหอยทากสายพันธุ์ไทยได้แก่ หอยทากนวล Hemiplecta  ซึ่งเป็นหอยทากบกที่พบมีการบริโภคเป็นอาหารได้ทั่วไปในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำมาผ่านกระบวนการสกัดให้ได้เฉพาะเมือกจากส่วนแมนเทิลที่มีคุณภาพดีที่สุด ขณะที่เมือกเท้า มีโมเลกุลใหญ่ ทำหน้าที่หลักเพียงช่วยหล่อลื่นให้หอยทากเดิน คณะนักวิจัยจึงได้มุ่งนำผลงานวิจัยที่ได้สร้างสมมากว่า 30 ปี ให้กลายเป็นนวัตกรรมแห่งการบำรุงผิว ภายใต้แบรนด์ไทย โดย

1) คัดเลือกหอยทากไทยสายพันธุ์ที่ดีที่สุด จากกว่า 600 สายพันธุ์ และต้องเป็นสายพันธุ์มีความเป็นไปได้ในการนำมาสกัดเมือกปริมาณมากในทางการค้า

2) ค้นพบวิธีสกัดเมือกที่ได้แต่ส่วนที่ดีที่สุด คือเมือกจากส่วนเนื้อเยื่อแมนเทิล และต้องเป็นวิธีที่ไม่เป็นอันตรายต่อหอยทาก

3) มีเทคโนโลยีในการกรองให้ได้เมือกใสที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก และทำเมือกให้เข้มข้นกว่าเมือกในท้องตลาดถึง 30 เท่า 4) มีฟาร์มกึ่งธรรมชาติที่ควบคุมสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้เมือกคุณภาพสูงและคงที่ทุกรอบการผลิต 5) ทุกผลิตภัณฑ์ จะต้องใส่เมือกเข้มข้นในสัดส่วนสูง เพื่อให้ผู้ใช้ใช้แล้วได้ผลจริง และผลิตในโรงงานที่ได้มาตรฐาน GMP 

คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th