เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7672
ชื่อ
โครงการ Rapid Biomonitoring for streams in Khorat Plateau and adjacent ecoregions by using benthic macroinvertebrates, and a study on Ephemeroptera and Aquatic Coleoptera for biomonitoring purpose ชม 139 ครั้ง
เจ้าของ
รศ.ดร.นฤมล แสงประดับ และคณะ
เมล์
narumon@kku.ac.th
รายละเอียด
การวิจัยนี้เป็นงานต่อเนื่องงานวิจัยการพัฒนาการประเมินคุณภาพลำธารต้นน้ำของประเทศไทยโดยวิธีประเมินทางชีวภาพแบบเร็วด้วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน โดยได้ทำวิจัยครอบคลุมลุ่มน้ำทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ลุ่มน้ำเลย ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูน และลุ่มน้ำโขงในส่วนของประเทศไทย ได้ผลดัชนีสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินหลายเมทริก (macroinvertebrates multimetric index -MMI) ของแต่ละลุ่มน้ำซึ่งถูกนำมาปรับเทียบให้เหลือเป็นดัชนีเดียว และได้นำไปประเมินคุณภาพลำธารต้นน้ำในลุ่มน้ำต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย พบว่าได้ผลลัพธ์สอดคล้องกับผลการประเมินคุณภาพน้ำด้วยวิธีมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ ประเทศไทย เรียกชื่อดัชนีนี้ว่า THAI MMI การวิจัยครั้งนี้ได้นำวิธีการนี้ไปพัฒนาดัชนีสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายเมทริกเพื่อประเมินคุณภาพลำธารและแม่น้ำที่ตื้นจำนวน 10 แห่งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวครอบคลุม 3 ภูมินิเวศ พบว่าสามารถประเมินได้ละเอียดกว่าวิธีทางเคมี เรียกชื่อดัชนีนี้ว่า LAO MMI เมื่อนำดัชนี THAI MMI มาทดสอบในสปป. ลาว พบว่าความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในแต่ละเมทริกแกนของลาวสูงกว่าประเทศไทยมาก จึงต้องใช้สถิติเปอร์เซนไทล์กับข้อมูลความหลากชนิดเพื่อหาช่วงสำหรับการแปลงเป็นคะแนนและปรับค่าเกณฑ์ใหม่ ก่อนนำไปประเมินฯ ผลการประเมินคุณภาพลำธารและน้ำที่ตื้นระหว่าง LAOS MMI และ THAI MMILAO (ดัชนีที่ปรับแล้ว) พบว่าได้ผลสอดคล้องกันมาก ดังนั้นเป็นไปได้ว่า THAI MMI อาจนำไปใช้ประเมินคุณภาพแหล่งน้ำในประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ที่ยังไม่มีการพัฒนาระบบของตนเอง ทั้งนี้ต้องมีการปรับค่าด้วยข้อมูลปริมาณสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินที่พบของประเทศนั้นก่อน
นอกจากนี้ได้ศีกษาความหลากหลายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินกลุ่มแมลงน้ำอันดับ Ephemeroptera และ Coleoptera เพื่อใช้ประโยชน์ในการระบุชนิดในอนาคตเนื่องจากปัจจุบันส่วนมากสามารถระบุตัวอ่อนแมลงน้ำได้ถึงระดับสกุลเท่านั้น ผลการศึกษาพบแมลงอันดับ Ephemeroptera 22 ชนิดจาก 6 วงศ์ พบชนิดใหม่คือ  Thalerosphyrus thailandensis Sutthacharoenthada Sartori & Boonsoong, 2019 รายงานการพบครั้งแรกของ Sparsorythus multilabeculatus Sroka & Soldán, 2008  และแมลงอันดับ Coleoptera วงศ์ Gyrinidae พบ 13 จาก 4 สกุล  สกุล Patrus พบ 3 ชนิดใหม่คือ P. garuda Suksai, Gustafson, Sites & Sangpradub, 2021, P. nanensis Suksai, Gustafson, Sites & Sangpradub, 2021. and P. phetchabunensis Suksai, Gustafson, Sites & Sangpradub, 2021 มu 2 ชนิด Dineutus australis (Fabricius, 1775 ) and Gyrinus smaragdinus Régimbar 1891
 
1. https://doi.org/10.1080/00222933.2019.1657513
2. https://doi.org/10.11646/zootaxa.0000.0.0
3. doi: 10.3897/zookeys.825.32443
4. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tnh/article/view/254817/174077 
5. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/252328/170771
6. https://doi.org/10.3390/w15040625
7 https://doi.org/10.11646/zootaxa.5071.1.5
8. DOI: 10.11646/zootaxa.4991.3.8
คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th