เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
งานวิจัยชิ้นนี้มีได้นำอนุภาคนาโน 2 ชนิดที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาในห้องปฏิบัติการ คืออนุภาคนาโนทองและอนุภาคนาโนที่มีคุณสมบัติทางแม่เหล็ก มาใช้ในกระบวนการตรวจจับเซลล์มะเร็งเต้านมที่แพร่กระจายในเลือดจากการศึกษาพบว่าอนุภาคนาโนแม่เหล็กที่เชื่อมติดกับแอนติบอดี้ CD54 ซึ่งมีความจำเพาะกับเซลล์เม็ดเลือดขาว (THP-1 cell, ใช้เป็นเซลล์รูปแบบตั้งต้นในการศึกษาวิจัย) เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจจับจากการศึกษาพบว่าอนุภาคนาโนแม่เหล็กที่เชื่อมติดกับแอนติบอดี้ CD54 สามารถแยกเซลล์เม็ดเลือดขาวออกจากตัวอย่างทดสอบได้ประมาณ 70-85% ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของอนุภาคนาโนแม่เหล็กที่เชื่อมติดกับแอนติบอดี้ CD54 ที่ใช้ โดยมีการแยกทั้งหมดสามรอบ ด้วยแท่งแม่เหล็ก ในตัวอย่างทดสอบที่มีการเติมเซลล์มะเร็งเต้านม (MCF-7) ลงไป ในอัตราส่วนระหว่าง THP-1 เซลล์ต่อ MCF-7 เซลล์ ที่ 800,000:10800,000:100 และ 800,000 ต่อ 1,000 หลังจากจากที่ใช้อนุภาคนาโนแม่เหล็กที่เชื่อมติดกับแอนติบอดี้ CD54 แยกTHP-1 เซลล์ ออกจากตัวอย่างทดสอบ เมื่อนำของเหลวที่เหลือมาวิเคราะห์หาเซลล์มะเร็งพบว่า ที่อัตราส่วนของ THP-1 เซลล์ต่อ MCF-7 เซลล์ เท่ากับ 800,000:100 และ 800,000 ต่อ 1,000 สามารถตรวจสอบพบ MCF-7 เซลล์ ได้ชัดเจน โดยมีการนำอนุภาคนาโนทองรูปแท่งที่เชื่อมติดกับแอนติบอดี้ HER-2ที่มีความจำเพาะต่อ MCF-7 เซลล์ มาใช้ในการยืนยันว่ามีการตรวจพบน MCF-7 เซลล์ ในตัวอย่างทดสอบ ซึ่งพบว่าอนุภาคนาโนทองรูปแท่งสามารถเกาะติดเฉพาะ MCF-7 เซลล์ จากการศึกษาพบว่าการใช้อนุภาคนาโนสองชนิดร่วมกันทำหน้าที่ 1). แยกเซลล์ที่ไม่ต้องการออก และ 2). ตรวจจับเซลล์มะเร็งเต้านมที่ต้องการวิเคราะห์ สามารถพัฒนาต่อไปเพื่อช่วยในการวิเคราะห์เซลล์มะเร็งที่กระจายตัวในกระแสเลือด ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายได้ในอนาคต นอกจากนี้ในโครงการนี้ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการนำอนุภาคนาโนทองรูปทรงกลม มาใช้ในการตรวจจับเชื้อแบคทีเรียโดยใช้การวัดคาการดูดกลืนแสงของอนุภาคนโนทองเป็นตัวชี้วัดหลักว่ามีแบคทีเรียปนเปื้อนในสารเหลวที่ใช้ทดสอบซึ่งพบว่าการใช้อนุภาคนาโนทองที่พัฒนาผิวให้ติดกับ 4-Mercaptophenylboronic acid (4-MPBA) และใช้ NaOH ที่มีความเข้มข้นสูง เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตกตะกอน จากการศึกษาพบว่า หากในตัวอย่างของเหลวที่ใช้ทดสอบมีแบคทีเรียอยู่อนุภาคนาโนทองจะยังคงมีความคงตัวสูงเมื่อถูกกระตุ้นโดย NaOH ที่ความเข้มข้นสูง ในขณะที่ในตัวอย่างของเหลวที่ใช้ทดสอบไม่มีแบคทีเรียปนเปื้อน พบว่าค่าการดูดกลืนแสงของตัวอย่างทดสอบลดลง และเกิดการตกตะกอนขึ้น ดังนั้นวิธีนี้สามารถใช้ในการตรวจหาแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมาในตัวอย่างของเหลวได้
