เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
7637
ชื่อ
กการดัดแปลงและพัฒนาโมโนโคลนอลแอนติบอดีมนุษย์ที่เฉพาะต่อโปรตีน E ของเชื้อเดงกี่ไวรัสเพื่อใช้ยับยั้งเชื้อไวรัสไข้เลือดออกทั้งสี่สายพันธุ์โดยไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงของโรคจากกลไก ADE ชม 92 ครั้ง
เจ้าของ
รศ. ดร.ปานน้ำทิพย์ พิทักษ์สัจจะกุล คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
เมล์
pannamthip.pit@mahidol.ac.th; pannamthip@gmail.com
รายละเอียด

การพัฒนายาชีววัตถุเพื่อการรักษาโรคไข้เลือดออกจากไวรัสทั้งสี่สายพันธุ์โดยไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงของโรคจากกลไก ADE (Antibody dependent enhancement) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากแอนตีบอดีต่อไวรัสเดงกี่ 1 ใน 4 สายพันธุ์ เป็นตัวที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อเดงกี่ที่รุนแรง เมื่อบุคคลนั้นได้รับเชื้อเป็นครั้งที่ 2 ด้วยเชื้อต่างสายพันธุ์ ทีมผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการสร้างโมโนโคลนอลแอนติบอดีมนุษย์ (HuMAbs) ที่จับเฉพาะต่อโปรตีน Envelope (E) ของเชื้อไวรัสเดงกี่และสามารถยับยั้งเชื้อได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ และลดอัตราการตายของหนูที่ฉีดด้วยเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตามพบว่าแอนติบอดีดังกล่าวสามารถก่อให้เกิด ADE ได้ในความเข้มข้นต่ำ ๆ ซึ่งการลดการเกิด ADE นั้นสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในส่วนของ IgG Fc ที่รับผิดชอบในการจับกับ FcƔR บนผิวเซลล์ โดยพบว่าแอนติบอดีที่เปลี่ยนแปลงนี้สามารถลดการเกิด ADE ในหลอดทดลอง และสามารถลดอัตราการตายในหนูที่ได้รับเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตาม ในการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในส่วนของ IgG Fc นั้นสามารถทำได้หลายแบบ เช่น N297Q และ L234A/L235A (LALA) แต่อาจส่งผลต่อการเกิดปฏิกิริยาด้านอื่น เช่น การจับกับ complement และการเกิด effector function เช่น ADCC และ CDC ดังนั้นในการคัดเลือกแอนติบอดีที่มีความเหมาะสมในการนำไปพัฒนาต่อเพื่อเป็นยารักษาโรคไข้เลือดออก จึงมีความจำเป็นต้องมีการศึกษาคุณสมบัติอื่นร่วมด้วย

 

คำสำคัญ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์  
บันทึกโดย
นายอภิเดช  ไม้หนองกอย  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th