Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
องค์ประกอบของแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด 69
คำสำคัญ : แผนงานจังหวัด กลุ่มจังหวัด
องค์ประกอบของแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
1.ข้อมูลเพื่อการพัฒนา
1) ข้อมูลพื้นฐานทางกายภาพ
2) ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ แสดงให้เห็นศักยภาพหรือระดับความรุนแรงของปัญหาประกอบด้วย
- ด้านเศรษฐกิจ
- ด้านสังคมและความมั่นคง
- ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3) ประเด็นปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่
- นำเสนอวิธีการหรือกระบวนการในการรวบรวมปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยต้องผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาในจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และต้องมีการประสานแผนระดับต่างๆ ในพื้นที่ โดยการรวบรวมและจัดลาดับความสาคัญของปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ผ่านกลไกการจัดทาแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนาตาบล แผนพัฒนาท้องถิ่น และแผนพัฒนาอาเภอ เพื่อให้แผนมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกันในทุกระดับเป็นแผนเดียวกัน (One Plan) ภายใต้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทาแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอาเภอและตาบล พ.ศ. 2562
- นำเสนอปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยจัดเรียงลำดับความสำคัญโดยรวมของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดไม่เกิน 10 อันดับ และระบุกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ให้ชัดเจน สำหรับกลุ่มจังหวัดให้คำนึงถึงความต้องการของประชาชนในกลุ่มจังหวัดที่ไม่ซ้าซ้อนกับความต้องการของประชาชนในแต่ละจังหวัด
4) ผลการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในช่วงที่ผ่านมา นำเสนอให้เห็นผลการดำเนินการตามประเด็นการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดว่าประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด บรรลุเป้าหมายรวมและเป้าหมายในแต่ละประเด็นการพัฒนาที่กาหนดไว้และบรรลุผลตามตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้หรือไม่ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบ และหากเห็นสมควรดำเนินการต่อหรือยุติการดำเนินการ ให้ระบุเหตุผลสนับสนุน
2.ประเด็นการพัฒนา
1) บทวิเคราะห์ เลือกใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ตามหลักวิชาการวางแผน เพื่อแสดงให้เห็นถึงโอกาส ศักยภาพ ปัญหา และอุปสรรคของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด มีการวิเคราะห์ ความเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาตามหลัก Logical Framework โดยจะต้องมีความสอดคล้องกับข้อมูลเพื่อการพัฒนา ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวชี้วัดการพัฒนาระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ดัชนีความก้าวหน้าของคน (HAI) ดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับจังหวัด (SDGs) ผลการวิเคราะห์ศักยภาพและประเด็นปัญหาในด้านต่างๆ เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การกำหนดประเด็นการพัฒนา
2) เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (ระยะ 5 ปี) จะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดระยะ 20 ปี หรือวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาในอนาคตของกลุ่มจังหวัด โดยต้องแสดงสถานภาพที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องการจะเป็นหรือบรรลุถึงในอนาคตอย่างชัดเจน สอดคล้องกับโอกาส ศักยภาพ ปัญหา และอุปสรรค ที่เป็นลักษณะเฉพาะของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
3) ตัวชี้วัดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ตัวชี้วัดจะต้องมีความชัดเจนสอดคล้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาตลอดช่วงระยะเวลาของแผน มีจำนวนตัวชี้วัดที่เหมาะสมและสามารถวัดได้ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับค่าเป้าหมายจะต้องมี ความสอดคล้องกับค่าฐาน (ข้อมูลในช่วงที่ผ่านมา และต้องระบุค่าฐานอย่างเหมาะสม ชัดเจน มีแหล่งที่มา และเป็นปัจจุบัน) หรือค่าเป้าหมาย (Benchmark) และแสดงถึงความก้าวหน้าอย่างเหมาะสมและเป็นไปได้ ในแต่ละปี
4) ประเด็นการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กำหนดประเด็นการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่สอดคล้องกับผลที่ได้จากบทวิเคราะห์บริบท ทั้งศักยภาพ โอกาส ปัญหาสำคัญ และความต้องการของพื้นที่ (Area) รวมทั้งสอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาระดับชาติ (Agenda) และเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค ประกอบด้วย
ประเด็นการพัฒนา
➢ เป้าประสงค์ ของแต่ละประเด็นการพัฒนา
➢ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ของแต่ละประเด็นการพัฒนา ตัวชี้วัดจะต้องมีความชัดเจนสอดคล้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาตลอดช่วงระยะเวลาของแผน มีจำนวนตัวชี้วัดที่เหมาะสมและสามารถวัดได้ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับค่าเป้าหมายจะต้องมีความสอดคล้องกับ ค่าฐาน (ข้อมูลในช่วงที่ผ่านมา และต้องระบุค่าฐานอย่างเหมาะสม ชัดเจน มีแหล่งที่มา และเป็นปัจจุบัน) หรือ ค่าเป้าหมาย (Benchmark) และแสดงถึงความก้าวหน้าอย่างเหมาะสมและเป็นไปได้ในแต่ละปี
➢ แนวทางการพัฒนา ของแต่ละประเด็นการพัฒนา ต้องมีความสอดคล้องและเพียงพอที่จะขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยครอบคลุมตลอดห่วงโซ่การพัฒนาหรือห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
➢ แผนงาน โครงการสำคัญ และกิจกรรม หมายถึง รายการเกี่ยวกับแผนงานและโครงการต่างๆ ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่จำเป็นต้องจัดทำเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดระยะ 20 ปี หรือวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาในอนาคตของกลุ่มจังหวัด โดยให้จัดทำเป็นแผนงานและโครงการสำคัญเพื่อขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนในระยะ 5 ปี โดยควรกำหนดแผนงานในทุกแนวทางการพัฒนา และโครงการสำคัญภายใต้แผนงานจะต้องบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีตามระยะเวลาที่กำหนด
1) แผนงาน ในแต่ละแนวทางการพัฒนาอาจจัดทำแผนงาน ได้มากกว่า 1 แผนงาน โดยแต่ละแผนงานจะต้องประกอบด้วยการบูรณาการชุดของโครงการสำคัญที่เชื่อมโยงส่งต่อในลักษณะห่วงโซ่การพัฒนาหรือห่วงโซ่คุณค่า (โครงการต้นทาง-กลางทาง-ปลายทาง) ซึ่งต้องครอบคลุมและเพียงพอที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาตามที่กำหนดไว้ในช่วงเวลาของแผน 5 ปี
2) โครงการสำคัญและกิจกรรม ควรมีลักษณะเป็นโครงการที่มีกิจกรรม พื้นที่เป้าหมาย และผลลัพธ์ที่ชัดเจน ตอบสนองการขับเคลื่อนแผนงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรณีมีพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายจ านวนมาก จะต้องจัดลำดับความสำคัญ และแบ่งระยะเวลาดำเนินงานเป็นรายปี ทั้งนี้ ทุกโครงการสำคัญที่เสนอในแผนพัฒนาจะต้องจัดทำรายละเอียด ดังนี้
(๑) ชื่อโครงการสำคัญ
(๒) ชื่อแผนงาน (ระบุว่าโครงการอยู่ภายใต้แผนงานใด)
(๓) ประเด็นการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (ระบุว่าโครงการอยู่ภายใต้ประเด็นการพัฒนาใดของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด)
(๔) แนวทางการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (ระบุว่าโครงการอยู่ภายใต้แนวทางการพัฒนาใดของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด)
(๕) หลักการและเหตุผล
(๖) วัตถุประสงค์ของโครงการ
(๗) ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย (ต้องสามารถวัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการได้)
(๘) พื้นที่เป้าหมาย
(๙) กิจกรรมหลัก
(๑๐) หน่วยดำเนินการ(ให้ระบุหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของโครงการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ)
(๑๑) ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ (จะต้องสอดรับกันระหว่างการดำเนินการของทุกหน่วยงาน)
(๑๒) งบประมาณ (บาท)
(๑๓) ผลผลิต (Outputs)
(๑๔) ผลลัพธ์จากการด าเนินโครงการ (Outcomes)
สำหรับโครงการอื่นที่จำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และมีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาและแผนงานที่กำหนด สามารถเสนอในแผนปฏิบัติราชการประจำปีได้
http://www.pad.moi.go.th/images/form-download/2.%20%20%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%20%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.%202568%20-%202570.pdf
เขียนโดย : น.ส.ปุณชยา บัณฑิตกุล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : puny13@hotmail.com
ขอบคุณข้อมูลนะคะ การทำงานในพื้นที่ต้องรู้เค้ารู้เรา การศึกษาแผนพัฒนาจังหวัดของพื้นที่เป้าหมายก็สำคัญ และลงพื้นที่วิเคราะห์ประเด็นปัญหาเพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการนะคะ
ทำให้เข้าใจเรื่องแผนพัฒนาจังหวัดเพิ่มขึ้นเยอะเลยครับ ถ้ามีโอกาศบล็อกต่อๆไปอยากให้พี่ปุณช่วยเขียนเทคนิคเล็กๆน้อยๆที่ทำให้แผนงาน/โครงการที่เขียนไปสามารถบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดครับ :)