Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การใช้ Mobility data จัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารณะส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง 63
เมืองรอง คือ 2“เมืองที่ยังมีนักท่องเที่ยวไม่พลุกพล่าน (ปีหนึ่งต่ำกว่า 4,000,000 คน) ประกอบไปด้วย 55 จังหวัดทั่วประเทศไทย และตอบโจทย์ ผ่าน 3 แนวคิด ดังต่อไปนี้ 1.Local Experience ให้ประสนการณ์ที่ลงลีกในระดับวิถีชุมชน 2. Future Challenge มีโอกาส ต่อยอด พัฒนาเติมเต็มศักยภาพในอนาคต 3. Connectingเชื่อมโยงเมืองใหญ่ ผนึกกำลังเมือเล็กต่างๆ และเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน”
จากผลการศึกษาวิจัยโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วมกับดีแทค สดช. และบุญมีแล็บ ในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งนำร่องการใช้ Mobility dataวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดเมืองรอง เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยการส่งเสริมการกระจายนักท่องเที่ยวและโอกาสทางเศรษฐกิจสู่จังหวัดเมืองรองตามศักยภาพที่แตกต่างกันของแต่ละจังหวัด ได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 3 แนวทาง ได้แก่
1. การดึงดูดการท่องเที่ยวระยะใกล้หรือ Micro-tourism
การดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เดินทางแบบเช้าไปเย็นกลับในระยะการเดินทางประมาณ 150 กิโลเมตร หรือใช้เวลาเดินทางราว 1-2 ชั่วโมง เพื่อมาร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้รวมถึงบริโภคสินค้าและบริการของท้องถิ่น โดยการผลักดันให้เกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อยร่วมกันพัฒนากิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตผลผลิตและสินค้าของท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ เปิดโอกาสให้เกิดการบริโภคสินค้าและบริการที่เกิดจากทรัพยากรในพื้นที่ และสร้างรายได้เสริมจากท่องเที่ยวให้กับเกษตรกรและผู้ผลิต การดำเนินการมุ่งเน้นการใช้สถานที่และอุปกรณ์ที่เกษตรกรและผู้ประกอบการมีอยู่เดิมมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อลดต้นทุน
2. การส่งเสริมการค้างคืนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่
การท่องเที่ยวแบบค้างคืนเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายและเวลาพำนักของนักท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวและเพิ่มโอกาสในการบริโภคสินค้าและบริการในท้องถิ่นเพื่อกระจายรายได้ให้กับผู้ประกอบการและชุมชน อีกทั้งยังเป็นกลไกในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักท่องเที่ยวกับชุมชนในช่วงระยะเวลาพักค้าง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นสามารถนำเสนอคุณค่าในด้านต่างๆ และออกแบบการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในกิจกรรมที่สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับชุมชน
3. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคลัสเตอร์
การพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างกลุ่มจังหวัดเมืองรองที่นักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเดินทางไปเยือนในการเดินทางท่องเที่ยว 1 ทริป เพื่อเพิ่มทางเลือกในเป้าหมายการเดินทางท่องเที่ยวให้กับผู้มาเยือน ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนพื้นที่ เพิ่มการใช้เวลาในการท่องเที่ยวภายในประเทศ และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดเมืองรอง
สามารถเข้าไปศึกษาผลการวิจัยและข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเอกสารอ้างอิง:
1http://www.dce.arch.chula.ac.th/dtac/(แนวทางส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง จาก Mobility data หนุนยุทธศาสตร์เที่ยวไทยเติบโตยั่งยืน)
2https://www.dla.go.th/upload/news/type9/2018/11/40628_1.pdf?time=1544920032593 (อัพเดตเทรนด์ท่องเเที่ยว’เมืองรอง’เมื่อผู้คนเริ่มถวิลหา ประสบการณ์ใหม่ๆ)