ทำความรู้จักกับโครงการดีๆ ของ กปว. ในการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ (โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน ววน. )  63

คำสำคัญ : 

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน ววน. และการให้บริการด้านเทคโนโลยี Advanced STI Infrastructure and Service Utilization for Regional Economy Upgrade

 

อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคมีศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปจนถึงด้านสังคมที่พร้อมจะสร้างให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมภายใต้ความพร้อมของสถาบันการศึกษา ทั้งบุคลากร อาจารย์ นักวิจัย รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือ โรงงานต้นแบบ และห้องปฏิบัติการในสาขาวิชาที่หลากหลาย มีความพร้อมในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกให้สามารถเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน อันจะนำไปสู่การผลักดันรายได้ต่อหัวของประชาชนในภาคการผลิตและบริการให้เพิ่มขึ้นผ่านการขับเคลื่อนของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภูมิภาค ดังนั้น การเปิดโอกาสให้เข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยี นำนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ลดการกระจุกตัวการพัฒนาโดยกลไกอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จะสามารถเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม (University-Industry Linkage) ส่งเสริมการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เชื่อมโยงต่อยอดงานวิจัยและองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยไปสู่ชุมชนในปลายน้ำเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ภูมิภาค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความสามารถในการแข่งขันเชิงพื้นที่ ยกระดับผู้ประกอบการในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 รวมถึงแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งในมิติด้านสังคม ชุมชน และภาครัฐ รวมถึงช่วยประสานพลังความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่อันจะนำไปสู่การพัฒนาในระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาคด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยโครงสร้างพื้นฐาน ววน. และการให้บริการด้านเทคโนโลยี ด้วยแผนงานการดำเนินงาน 3 แผนงาน อันได้แก่

1.  แผนงานการพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ (Industrial Research and DevelopmentCapability Building Platform) ยกระดับการวิจัยและพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม ผ่านการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการวิจัยของมหาวิทยาลัยและอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมและความสามารถในการจัดตั้งหรือพัฒนาปรับปรุงหน่วยวิจัย(R&D Unit) ในสถานประกอบการ

2.  แผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (RD Facility Boost Up Platform) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อยกระดับความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม

3.  แผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (Area-based Innovation for Community) ส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีหรืองานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในชุมชนในหลากหลายมิติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน เพิ่มศักยภาพของคนในท้องถิ่น และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

          ทั้ง 3 แผนงานมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและนำนวัตกรรมไปสู่การพัฒนาชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยในแต่ละภูมิภาค รวมถึง เพื่อยกระดับผู้ประกอบการในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ผ่านการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรในสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างระบบนิเวศเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสถาบันการศึกษา โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคถือเป็นฐานแห่งการผสานพลังของบุคลากร ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานนวัตกรรมของประเทศไทย ดังนี้

1.  Talent เพื่อพัฒนาทักษะแห่งอนาคต (Future skill) พร้อม Up-skill/Re-skill ให้กับนักศึกษา และคนในพื้นที่ให้มีทักษะและศักยภาพตรงกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ

2.  Creativity เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการผสานศาสตร์ทางสังคม ศิลป์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น (Hi-Touch) เข้ากับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Hi-Tech) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และพัฒนาสังคม โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่า (Value added) ของผลิตภัณฑ์หรือบริการเชิงสร้างสรรค์ เกิดการสร้างคุณค่า (Value creation) นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) พัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนผลิตสินค้าเชิงสร้างสรรค์

3.  Innovation เพื่อเป็นกลไกนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การสนับสนุนระบบนิเวศนวัตกรรมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมภายใต้ BCG Model โดยอาศัยงานวิจัย ทรัพยากรและองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย ให้เกิดการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจยั่งยืน ภายใต้ BCG Model เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำเกิดเป็นฐานเศรษฐกิจมูลค่าสูง (Potential Enrichment)

          ผลลัพธ์ของโครงการ จะช่วยสร้างรายได้และลดความเหลื่อมล้ำของผู้ประกอบการในท้องถิ่นจากภูมิปัญญาผสมผสานกับเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ ตลอดจนสร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศ ด้วยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ซึ่งโครงการนี้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม รวมถึงสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล อันได้แก่ การแก้ไขปัญหาการดำรงชีวิตของประชาชน การให้ความช่วยเหลือเกษตรกร การพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพของแรงงาน การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 และการแก้ไขปัญหาภัยแล้งนอกจากนั้น ยังตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 4 ยุทธศาสตร์ กล่าวคือ มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้ครอบคลุมการพัฒนาในทุกพื้นที่ ด้วยพลังของมหาวิทยาลัย อีกทั้งรัฐบาลยังเล็งเห็นความสำคัญและเร่งด่วนต่อประเด็นหลักของการแก้ไขปัญหาการดำรงชีวิตของประชาชน และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรอย่างทั่วถึง

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1)  เพื่อยกระดับความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม

2)  เพื่อยกระดับผู้ประกอบการในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19

3)  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผู้ประกอบการในภูมิภาคผ่านการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน ววน. และการให้บริการด้านเทคโนโลยี

4)  เพื่อสร้างรายได้และลดความเหลื่อมล้ำของผู้ประกอบการในท้องถิ่นจากภูมิปัญญาผสมผสานกับเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่

5)  เพื่อสร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศ ด้วยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

กลุ่มเป้าหมาย

1) SME

2) Startup

3) วิสาหกิจชุมชน


เขียนโดย : ดร.สุมนรัตน์  ริยาพันธ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sumonrat.r@mhesi.go.th