การประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ภาคใต้ ประจำปี พ.ศ. 2567  77

คำสำคัญ : เครื่องจักร  กิจกรรมประกวด  

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ภาคใต้) ประจำปีพุทธศักราช 2567 ระหว่างวันที่ 18 - 19 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมแก้วสมุยรีสอร์ท จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างและพัฒนานักประดิษฐ์ให้มีศักยภาพในการผลิตสิ่งประดิษฐ์ฯ ในระดับชุมชน อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์ฯ ที่สร้างและพัฒนาโดยนักประดิษฐ์ไทยให้ออกสู่สาธารณะและผลักดันไปสู่เชิงพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ โดยในครั้งนี้มีสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และระดับอาชีวศึกษาในภาคใต้ ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดหลายแห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยการอาชีพไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง จังหวัดพัทลุง วิทยาลัยเทคนิคตรัง วิทยาลัยการอาชีพตรัง จังหวัดตรัง วิทยาลัยเทคนิคถลาง จังหวัดภูเก็ต วิทยาลัยเทคนิคระนอง จังหวัดระนอง เป็นต้น โดยมีวิทยาลัยได้รับรางวัลที่ 1-3 ได้แก่

รางวัลอันดับ 1 เครื่องสกัดน้ำเวิร์ทเพื่อผลิตคราฟเบียร์ระบบน้ำหมุนเวียนกึ่งอัตโนมัติ วิทยาลัย เทคนิคพัทลุง

การใช้ประโยชน์สิ่งประดิษฐ์ สำหรับสกัดน้ำเวิร์ทจากผลผลิตทางการเกษตรประเภทข้าว ช่วงอุณหภูมิที่ใช้สกัดอยู่ระหว่าง 45-100 องศาเซลเซียส เพื่อสกัดให้ได้น้ำเวิร์ทที่มีความหวานมากที่สุด และสามารถควบคุมประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิน้ำเวิร์ทก่อนเข้าถังหมักด้วยระบบซิลเลอร์ระบบปิดเพื่อลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในกระบวนการหมัก ทำให้ประหยัดพลังงาน ลดการสูยเสียขณะสกัดน้ำเวิร์ท มีระบบระบายความร้อนระบบปปิดเพื่อลดการติดเชื้อ ให้ได้น้ำเวิร์ทที่มีคุณภาพ ลดเวลาและต้นทุน เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนและผู้ประกอบการจำหน่ายคราฟเบียร์

สมรรถนะ อัตรากำลังการผลิต 200 ลิตร/วัน

อัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน แรงงาน วัตถุดิบ 22,328 บาท (มอล์ล ข้าวสังข์หยด ฮอป ฯลฯ)

มูลค่าเพิ่มที่ได้จากการลงทุน 400,000 บาท/ปี (สามารถผลิตเพิ่มจากเดิม 1,600 ลิตร/ปี ลิตรละ 250 บาท)

รางวัลอันดับ 2 เครื่องอัดก้อนเชื้อเห็ดแครงและใส่คอถุงระบบกึ่งอัตโนมัติ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

การใช้ประโยชน์สิ่งประดิษฐ์ สำหรับผลิตก้อนเชื้อเห็ดที่มีขนาดและควาหนาแน่นเท่ากันทุกก้อน เพิ่มสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรและชุมชน สามารถนำไปประยุกต์ด้านเทคโนโลยีการเพาะเห็ดชนิอื่น ๆ ได้ เครื่องอัดก้อนประกอบด้วย 3 กลไก ที่ควบคุมด้วยระบบนิวแมติก 1) สำหรับบีบถุงก้อนเห็ดให้แน่น 2) กดที่คิถุงก้อนเห็ด 3) สำหรับจับส่วนบนของปลายถุงเพื่อประคองถุงก้อนเห็ด และประกอบด้วยระบบสั่นด้านล่างถุงเพื่อสั่นสะเทือนวัตถุดิบในถุงก้อนเชื้อเห็ดแน่นขณะกด

รางวัลอันดับ 3 เครื่องไล่ความชื้นในน้ำผึ้ง วิทยาลัยการอาชีพตรัง

การใช้ประโยชน์สิ่งประดิษฐ์ สำหรับไล่น้ำในน้ำผึ้ง ให้ได้ตามค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 21 ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.8003-2013 “น้ำฝึ้ง”สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) กระบวนการไล่ความชื้นในน้ำผึ้งด้วยวิธีการให้ความร้อนระบบไหลวน ซึ่งไม่ทำให้น้ำผึ้งไหม้และยังคงค่าเอนไซน์ในน้ำผึ้งมากกว่า 3 โดยไม่ถูกทำลาย และช่วยยืดอายุการเก็บน้ำฝึ้งได้นานขึ้น จากเดิมสามารถเก็บได้นาน 1 ปี หากมีกระบวนการไล่นความชื้นสามารถเก็บได้นาน 3-5 ปี)

สมรรถนะ กำลังการผลิต 200 ลิตร/ครั้ง ภายใน 3 ชม.

อัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน 85 บาท/ครั้ง/3 ชม.

ประโยชน์ที่ได้รับ ราคาขายน้ำผึ้งที่ผ่านกระบวนการไล่ความชื้นเพิ่มขึ้น จากเดิมขายได้ 100 บาท/กก. สามารถขายได้ 130 บาท/กก.

ทั้งนี้สิ่งประดิษฐ์ทั้ง 3 รางวัลจะได้เข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา รอบแชมป์ชิงแชมป์ ประจำปี พ.ศ. 2567


เขียนโดย : น.ส.สัณหพร   ฝาชัยภูมิ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sanhaporn.ph@ku.th