การขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล  87

คำสำคัญ : รัฐบาลดิจิทัล  ทักษะดิจิทัล  

การพัฒนารูปแบบการดำเนินภารกิจของภาครัฐสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัล มี 5 ระดับ ได้แก่

  1. Tradition Government - รัฐบาลที่ขับเคลื่อนโดยงานกระดาษ
  2. Electronic Government- ไม่ได้เปลี่ยนกระบวนการทำงาน แต่ดูบนจอแทนกระดาษ
  3. DigitalGovernment -มีการเปลี่ยนกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
  4. Connected Government - มีการเชื่อมโยงการทำงานกันระหว่างแต่ละหน่วยงานของรัฐ
  5. Smart Government- ภาครัฐมีโครงสร้างพื้นฐานให้ประชาชน หรือเอกชนนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดได้

การดำเนินภารกิจของภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล จะช่วยให้เกิดการบริหารจัดการงบประมาณในการพัฒนาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้ตรงกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

การนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่จำเป็นมาใช้ในการดำเนินภารกิจของภาครัฐ

  1. มีการนำเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานมาใช้ (Cloud Computing)
  2. มีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ (Big Data & Analytics)
  3. มีการปฏิสัมพันธ์กับคน (Touch point)

วิสัยทัศน์ (Vision) คือสิ่งที่ภาครัฐอยากให้ประเทศหรือประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างไรในอนาคต โดยจะถูกถอดรหัสออกเป็นพันธกิจ (Mission) ว่าจะต้องมีเงื่อนไขอย่างไรบ้างจึงจะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ ซึ่งพันธกิจถูกกำหนดโดยวัตถุประสงค์หรือเป้าประสงค์ (Objective) เพื่อให้สามารถนำมาปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและวัดผลได้เพื่อให้ภารกิจให้สำเร็จ

เทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนางานด้านบริการและการสื่อสารข้อมูลของภาครัฐ มีหลายช่องทาง ดังนี้

  1. Cloud and Mobile ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา
  2. Internet of Things (IoT) ทำให้ได้ใช้และบริหารจัดการบนทุกอุปกรณ์
  3. Big DATA Analysis ช่วยประมวลผลทุกข้อมูล
  4. Social Network ช่วยให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลบริการของภาครัฐได้ง่ายขึ้น ผ่านการประชาสัมพันธ์ต่างๆ

สถาปัตยกรรมองค์กร เป็นพื้นฐานของการปรับเปลี่ยนสู่รัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้การจัดสรรทั้งคน เงิน งบประมาณไปด้วยกันอย่างลงตัว ซึ่งประกอบด้วย โครงสร้างองค์กรยุคใหม่,โครงสร้างข้อมูล (DATA), โครงสร้างบริการ (Application Service) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ซึ่งทั้ง 4 โครงสร้างจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์องค์กร

ขั้นตอนการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรและกระบวนการทำงานขององค์กร มีดังนี้

  1. กำหนดขอบเขต (Scope)
  2. วิเคราะห์บริการองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Business Architecture) ทั้งภายในและภายนอก - ประกอบด้วย ApplicationArchitecture, Data Architecture และ Technology Architecture
  3. การทำ Road Map
  4. ธรรมาภิบาล (Good Governance)

แนวทางการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

  1. เราต้องทราบว่าต้องการพัฒนาแบบใด
  2. กระบวนการต้องเรียบง่ายเท่าที่จะเป็นไปได้
  3. กระบวนการทำงานต้องโปร่งใสและเป็นธรรม

วิธีการวัดระดับความสามารถของกระบวนการทำงาน ประกอบด้วย 4ขั้น ได้แก่

  1. Silo - ทำแบบของใครของมัน จะเชื่อมโยงการทำงานยาก
  2. Standardization- มีมาตรฐานในการทำงาน มีตัวชี้วัดภายในหน่วยงาน
  3. Optimization- มีการตัดลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับหน่วยงานอื่นได้
  4. Modularity -มีการใช้ซ้ำกระบวนการขั้นตอนหรือกระบวนการเดิม สามารถนำไปต่อยอดบริการใหม่ๆ ได้ตลอด

การนำความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมมาการประยุกต์สู่กระบวนการทำงานในโครงการ สามารถทำได้โดยการสร้างความเข้าใจ ลดขั้นตอน และการให้บริการที่ลดความซ้ำซ้อน

การพัฒนากระบวนการทำงานในแนวทางปฏิบัติ มีขั้นตอนดังนี้

  1. Black-box phase - รวบรวมข้อมูล Outcome ของแต่ละงาน
  2. Structuring phase - วิเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นกลุ่มขั้นตอนใหญ่ เพื่อดูความพร้อม จะได้โครงสร้างองค์กร และ Output ของแต่ละหน่วยงานออกมา
  3. Re-construction phase - แยกแยะเงื่อนไขที่จะทำให้งานไปต่อได้ หรือไม่ได้ อาจเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น
  4. Instrumentation phase - ดักจับข้อผิดพลาดทั้งหมดในขั้นตอนย่อย

การลดขั้นตอนในกระบวนการทำงาน สามารถทำได้โดย

  1. การลดการใช้กระดาษซ้ำซ้อน
  2. ลดจำนวนคนที่คอยอนุมัติในแต่ละงาน
  3. มีจังหวะในการตรวจสอบ
  4. รายงานผลความก้าวหน้าในการทำงาน

การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการลดขั้นตอนกระบวนการทำงาน สามารถทำได้โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานแทนและการนำเข้าข้อมูลโดยใช้เซนเซอร์ (Internet of Things: IoT) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันล่าสุด (Realtime Update) และเมื่อมีการใช้เทคโนโลยีช่วยสรุปข้อมูล ก็จะสามารถเติมเต็มความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และช่วยเพิ่มความโปร่งใสของข้อมูลได้มากขึ้นด้วย

ที่มา : https://learningportal.ocsc.go.th/learningspace/learn/courses/1096 
         (รายวิชา: การขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล)


เขียนโดย : น.ส.วรลักษณ์  เจริญพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : som.woralak@gmail.com