เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ความเป็นมา :
สิ่งทอจากเส้นใยกัญชง ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม เป็นวิถีชีวิต และเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรม ความเชื่อของชาวม้งมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันสิ่งทอจากเส้นใยกัญชงเริ่มมีความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากเส้นใยมีคุณสมบัติพิเศษ ในเรื่องความเหนียว ความยืดหยุ่นโปร่ง ความแข็งแรงทนทาน ตัววัสดุมีเรื่องราว มีที่มามีคุณค่า มีขั้นตอนการผลิตที่ต้องใช้ความอดทนและความอุสาหะอย่างมากของแม่บ้านชาวม้ง มีคุณค่าควรค่าแก่การได้เป็นเจ้าของ จำเป็นต้องมีการพัฒนาต้นแบบเครื่องปั่นเส้นด้ายจากใยกัญชง เพื่อช่วยลดภาระการผลิต เพิ่มคุณภาพของเกลียวเส้นใย กำลังการผลิต และเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนที่ผลิตสิ่งทอจากเส้นใยกัญชง
ปัญหา :
- การปั่นเส้นใยกัญชงให้เป็นเกลียว ยังใช้วิธีการแบบดั้งเดิม ที่ค่อนข้างยากต้องอาศัยแรงงานและความชำนาญสูง
- อัตราเกลียวของเส้นใยกัญชงที่ปั่นไม่สม่ำเสมอ เส้นใยขดเกลียวพันกันเอง
- ใช้กำลังคนหลาย ๆ คน ช่วยกันป้อนด้าย
- เครื่องปั่นด้ายแบบเดิมมีการสึกหรอเร็ว
วิธีการแก้ปัญหา:
- ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ออกแบบสร้างเครื่องเส้นใยกัญชงให้เป็นเกลียว โดยใช้มอเตอร์ที่ปรับรอบได้เป็นตัวขับเคลื่อน
- ใช้ล้อเก็บเส้นใยขนาดใหญ่ที่ปั่นแล้ว มีกลไกการแก้ปัญหา และป้องกันการพันยุ่งของเส้นใย โดยใช้หลักการจากภูมิปัญญาดั้งเดิม
ผลลัพธ์
1. อัตราเกลียวของเส้นใยกัญชงคงที่สวยงามสม่ำเสมอ
2. ยังคงมีระบบไขว้สลับเส้นใยที่แก้ปัญหา และป้องกันการพันยุ่งของเส้นใย
3. ลดขั้นตอนการขึ้นเส้นใยบนไม้กากบาด
4. ลดจำนวนคนทำงาน
5. เครื่องทำงานได้มีเสถียรภาพ
การนำไปใช้ประโยชน์
ต้นแบบเครื่องปั่นด้ายจากเส้นใยกัญชงนี้ จะถูกนำไปผลิตซ้ำและใช้ในชุมชนชาวม้ง เพื่อผลิตเส้นใยกัญชงปั่นเกลียวป้อนชุมชน หรือวิสาหกิจชุมชนชาวม้ง ที่กระจายอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ หลังจากการการปลดล็อกกัญชา กัญชง ออกจากยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มคุณภาพ ปริมาณ และเกิดรายได้จากการผลิตจำหน่ายสิ่งทอจากเส้นใยกัญชงได้มากขึ้น เพียงพอในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต
