เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
การเลี้ยงโคเนื้อในประเทศไทยพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยถือได้ว่าเป็นผู้นำด้านการผลิตโคเนื้อ เพราะมีสายพันธุ์ที่ดีมากมาย เช่น อเมริกัน บราห์มัน คุณภาพสายพันธุ์ไม่เป็นรองออสเตรเลีย นอกจากโคพันธุ์บราห์มันที่มีการพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชน ประเทศไทยยังมีโคเนื้ออีกหลายสายพันธุ์ ซึ่งเป็นโคเนื้อพันธุ์ดีที่สร้างขึ้นโดยคนไทย และผลิตออกมาเพื่อสนองตลาดและเพื่อระบบการเลี้ยงของไทยโดยเฉพาะ เช่น โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน โคเนื้อพันธุ์กบินทร์บุรี โคเนื้อพันธุ์ตาก เมื่อรวมกับโคเนื้อพันธุ์บราห์มันแล้ว ประเทศไทยมีโคเนื้อพันธุ์แท้ที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี
ดังนั้นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี สังกัดสำนักงานการอาชีวศึกษา ร่วมกับ นายแพทย์ภานุวัตร ทรัพย์คิรี ประธานชมรมสัตวบาล วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี ได้มีโครงการสร้างโคเนื้อพันธุ์ใหม่ซึ่งมีคุณภาพเนื้อแตกต่างไปจากโคเนื้อที่มีอยู่ในปัจจุบัน และให้ผลการตอบแทนในการเลี้ยงที่ดีกว่า โคเนื้อพันธุ์ดังกล่าวชื่อว่า โคเนื้อพันธุ์ซิมบราห์เลส์(พันธุ์เพชรบุรี) เกิดจากแนวความคิดที่ต้องการสร้างทางเลือกให้เกษตรกร รวมทั้งภารกิจหลักอีกอย่างของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรีคือการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร โดยการสร้างนวัตกรรมขึ้นใหม่ มีการระดมสมองของอาจารย์ที่มีความรู้ด้านการปรับปรุงพันธุ์และมองเห็นช่องทางที่ยังไม่มีหน่วยงานใดทำมาก่อน นั่นคือการผลิตพันธุ์โคที่ให้เนื้อที่มีคุณภาพเนื้อสูง คือมีเนื้อนุ่ม ทำสเต็กคุณภาพสูงได้ เลี้ยงง่ายภายใต้สภาพแวดล้อมในเขตภาคใต้ตอนบนของไทยและมีความสมบูรณ์พันธุ์สูง จากการศึกษาสายพันธุ์โคเนื้อหลายสายพันธุ์ทำให้ได้โคเนื้อพันธุ์หลัก 3 สายพันธุ์ ที่มีความเหมาะสมและตรงเป้าหมายมากที่สุดคือ โคเนื้อพันธุ์บรามัน โคเนื้อพันธุ์ชิมเมนทอลและ โคเนื้อพันธุ์ซาล์โลเล่ส์ใช้เป็นพ่อพันธุ์ เนื่องจากมีข้อดีตรงตามความต้องการในการสร้างพันธุ์ คือ โคเนื้อพันธุ์บรามัน ข้อดี ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศร้อนของเมืองไทยได้ดี ทนทานต่อโรคและแมลง โตเร็ว เหมาะสำหรับเป็นโคพื้นฐานเพื่อผลิตโคเนื้อคุณภาพดี เช่น ผสมกับพันธุ์ชาร์โรเลส์เพื่อผลิตโคขุน และผสมกับพันธุ์ซิมเมนทอลเพื่อผลิตโคกึ่งเนื้อกึ่งนมเป็นโคที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ลำตัวกว้าง ยาว และลึก ได้สัดส่วน หลังตรง หนอกใหญ่ หูใหญ่ยาว จมูก ริมฝีปาก ขนตา กีบเท้าและหนังเป็นสีดำ เหนียงทีคอและหนังใต้ท้องหย่อนยาน โคนหางใหญ่ พู่หางสีดำ สีจะมีสีเขา เทา และแดง ที่นิยมเลี้ยงกันมากคือสีขาว เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 800-1,200 ก.ก. เพศเมียประมาณ 500-700 ก.ก. ข้อเสีย เป็นโคเนื้อพันธุ์ที่มีอัตราการผสมติดค่อนข้างต่ำ ให้ลูกตัวแรกช้า และให้ลูกค่อนข้างห่าง ส่วนใหญ่เลือกกินเฉพาะหญ้าที่มีคุณภาพดี เมื่อหญ้าขาดแคลนจะทรุดง่าย ซึ่งจะเห็นได้จากเมื่อปล่อยเข้าแปลงหญ้าจะเดินตระเวนไปทั่วแปลงหญ้าก่อนแล้วจึงค่อยเลือกกินหญ้า โคเนื้อพันธุ์ชาร์โรเล่ส์ ข้อดี มีการเติบโตเร็ว ซากมีขนาดใหญ่ เนื้อนุ่ม เนื้อสันมีไขมันแทรก (marbling) เป็นที่ต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดี เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคบราห์มันหรือลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูกมาเลี้ยงเป็นโคขุน ถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส มีสีขาวครีมตลอดตัว รูปร่างมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขาสั้น ลำตัวกว้าง ยาว และลึก มีกล้ามเนื้อตลอดทั้งตัว นิสัยเชื่อง เป็นโคที่มีขนาดใหญ่มาก เพศผู้เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 1,100 ก.ก. เพศเมีย 700-800 ก.ก. ข้อเสีย ถ้าเลี้ยงเป็นพันธุ์แท้หรือมีสายเลือดสูงๆ จะไม่ทนต่อสภาพอากาศในบ้านเรา ไม่เหมาะที่จะใช้ผสมกับแม่โคขนาดเล็ก เพราะอาจทำให้คลอดยาก และโคเนื้อพันธุ์ซิมเมนทอล มีการเติบโตเร็ว ซากมีขนาดใหญ่ เนื้อนุ่ม เนื้อสันมีไขมันแทรก (marbling) เป็นที่ต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดี เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคบราห์มันหรือลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูกมาเลี้ยงเป็นโคขุน เพศเมียสามารถใช้รีดนมได้ ข้อเสีย ถ้าเลี้ยงเป็นพันธุ์แท้หรือมีสายเลือดสูงๆ จะไม่ทนต่อสภาพอากาศในบ้านเรา ไม่เหมาะที่จะใช้ผสมกับแม่โคขนาดเล็ก เพราะอาจทำให้คลอดยาก เนื่องจากเนื้อมีสีแดงเข้ม เมื่อเลี้ยงเป็นโคขุนอาจจะไม่น่ากินเท่ากับพันธุ์ชาร์โรเล่ส์ ในโครงการจึงเลือกใช้โคพ่อพันธุ์ซาร์โรเล่ส์เลือดร้อย ( ผสมเทียม ) และแม่พันธุ์ใช้แม่พันธุ์กบินทร์บุรี( ซิมเมทอล 50% บราห์มัน 50% ) เป็นโคที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์แล้วโดยกองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
ด้านวิธีการในการสร้างพันธุ์เริ่มจากนำพ่อพันธุ์(น้ำเชื้อ)ซาร์โรเลส์แท้ ผสมกับแม่พันธุ์พันธุ์กบินทร์บุรี เป็นโคลูกผสมระหว่างพันธุ์ซิมเมนทัลกับพันธุ์บราห์มัน เมื่อได้ลูกออกมาเป็นโคลูกผสมซาร์โลเล่ส์ 50% หรือใช้สัญลักษณ์ว่า F1( 50%ซาร์โรเลส์ 25%บรามัน 25%ซิมเมนทอล) เมื่อผ่านการคัดเลือกจนพันธุกรรมคงที่เป็นพันธุ์แท้ คุณภาพเนื้อน่าจะดีกว่า เมื่อได้ F1 แล้วจะมีการคัดเลือกเพื่อเก็บ F1 ไว้ทำพ่อแม่พันธุ์โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัยเช่น Genetic markers เพื่อคัดแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเด่นตามความต้องการ ตัวใดไม่ผ่านการทดสอบจะนำไปทดลองขุนต่อไป สำหรับตัวที่ผ่านการทดสอบจะนำพ่อพันธุ์ F1( 50%ซาร์โรเลส์ 25%บรามัน 25%ซิมเมนทอล) ผสมกับแม่พันธุ์ F1( 50%ซาร์โรเลส์ 25%บรามัน 25%ซิมเมนทอล) เพราะที่ผ่านมายังไม่มีการทดลองหรือผลการทดสอบออกมา ดังนั้นทางแผนกวิชาสัตวศาตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี จึงจะทำการทดสอบจนทราบสายเลือดที่เหมาะสมก่อนจะผสมซ้ำๆจนกลายเป็นพันธุ์แท้ในที่สุด แต่ขณะนี้การดำเนินการโครงการอยู่ในขั้นตอนของการสร้าง F1 หรือลูกผสมสามสายเลือด( 50%ซาร์โรเลส์ 25%บรามัน 25%ซิมเมนทอล) ให้มากที่สุดเพื่อรองรับการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีต่อไปในอนาคตอันใกล้ การคัดเลือกและการทดสอบพันธุ์คงใช้เวลาไม่นาน เพราะอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าช่วย ซึ่งสามารถลดระยะเวลาในการสร้างพันธุ์ให้สั้นลง และมีความแม่นยำสูง ดังนั้นเชื่อว่าไม่กี่ปีจากนี้จะสามารถผลิตพ่อพันธุ์ซิมบราห์เลส์แท้ต้นแบบออกมาได้ สนใจ ติดต่อ คลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120 โทรศัพท์ 086 - 6663133 Email: chawut98@gmail.com