เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
6728
ชื่อ
กระบวนการผลิตกาวจากน้ำยางธรรมชาติสำหรับใช้กับผลิตภัณฑ์ประเภทเสื่อ และผ้าจากเส้นใยธรรมชาติความใหม่ ชม 80 ครั้ง
เจ้าของ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยวุฒิ วัดจัง, นายสมใจ คำมุงคุณ
เมล์
chaiwute.v@gmail.com
รายละเอียด

กระบวนการผลิตกาวจากน้ำยางธรรมชาติสำหรับใช้กับผลิตภัณฑ์ประเภทเสื่อ

และผ้าจากเส้นใยธรรมชาติความใหม่

 

          กาวยางธรรมชาติสำหรับเสื่อ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่ โดยการพัฒนากาวยางธรรมชาติหรือยางพาราสำหรับงานฝีมือจากเสื่อที่ปลอดภัย เพื่อลดการใช้งานกาวยางประเภทที่มีตัวทำละลายอินทรีย์ในท้องตลาดทั่วไปที่มีผลต่อสุขภาพ

 

การใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์

          บ้านโคกระเวียง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ มีอาชีพเสริมในการทำเสื่อจากเตยหนาม โดยนำใบเตยหนามที่ฉีกให้เป็นเส้นมาตากให้แห้งและนำไปทอเป็นเสื่อ ซึ่งมีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านทอเสื่อเตยหนามบ้านโคกระเวียงขึ้นเพื่อรวบรวมผลิตภัณฑ์เสื่อเตยหนามจำหน่าย โดยก่อนหน้านี้การทำเสื่อจากเตยหนามเคยเป็นอาชีพหลักของบ้านโคกระเวียง แต่ในปัจจุบันการทำเสื่อเตยหนามกลายเป็นอาชีพเสริมและเริ่มมีการทำเสื่อเตยหนามลดลงจากเดิม เนื่องจากรายได้ในการขายเสื่อเตยหนามลดน้อยลง ท าให้มีการผลิตน้อยลงตามไปด้วย ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านทอเสื่อเตยหนามบ้านโคกระเวียงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่จากเสื่อเตยหนาม โดยการนำเสื่อเตยหนามมาตัดเป็นรูปร่างตามลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ เช่น กระเป๋า กล่องใส่กระดาษทิชชู เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะใช้กระดาษแข็งเป็นโครงเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและใช้กาวเป็นตัวประสานเพื่อยึดติดระหว่างเสื่อกับกระดาษแข็ง กาวที่ใช้เป็นกาวยางประเภทที่มีตัวทำละลายอินทรีย์ ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่ละลายน้ำมีกลิ่นรุนแรงและนิยมใช้ในอุตสาหกรรม เมื่อสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ใช้กาวชนิดนี้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เป็นระยะเวลานานส่งผลทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เช่น อาการปวดศีรษะ อาเจียน เป็นต้น เนื่องจากกาวยางที่มีตัวท าละลายอินทรีย์ที่ระเหยได้ เช่น โทลูอีนและไซลีน หากสูดดมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลข้างเคียงและเกิดอาการเสพติดได้จึงได้พัฒนากาวที่ปลอดภัยสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์จากเสื่อเตยหนามและผลิตภัณฑ์งานฝีมือดังนั้นจึงนำน้ำยางธรรมชาติมาเตรียมเป็นกาวยางธรรมชาติแทนการใช้กาวยางทางการค้าที่มีส่วนผสมของตัวท าละลายอินทรีย์ ซึ่งน้ำยางธรรมชาติเป็นหนึ่งทางเลือกที่สามารถนำมาเตรียมเป็นกาวได้โดยที่ไม่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากน้ำยางธรรมชาติเป็นวัสดุที่ได้จากธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีสมบัติที่แข็งแรง ยืดหยุ่นรวมทั้งยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยและหาซื้อได้ง่าย เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านทอเสื่อเตยหนามบ้านโคกระเวียงสามารถเตรียมกาวยางธรรมชาติใช้เองได้และช่วยลดต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์ได้

 

การนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านวิชาการ

 

ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและพัฒนา มจธ.; สุวิมล เทียกทุม, สมใจ คำมุงคุณ และ ชัยวุฒิ วัดจัง.

การเตรียมกาวยางธรรมชาติสำหรับเสื่อ. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 43 (4) (2563): 473-488.

 

คุณค่าและผลกระทบต่อสังคม

          กาวยางธรรมชาติสำหรับเสื่อที่ประดิษฐ์ขึ้น มีคุณค่าและผลกระทบต่อสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อมในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ด้านเศรษฐกิจ ยางพาราเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญที่ใช้ในการผลิตกาวยางธรรมชาติ จึงเป็นการนำผลิตผลทางการเกษตรที่มีราคาตกต่ำของเกษตรกรชาวสวนยางพารามาใช้ เพื่อกระตุ้นการใช้ยางพาราและเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา นอกจากนี้ การใช้กาวยางธรรมชาติสำหรับทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อเตยน้ำยังเป็นการลดต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ของชุมชน เนื่องจากยางธรรมชาติราคาไม่แพง
  • ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม กาวยางธรรมชาติสำหรับเสื่อที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานในการผลิตผลิตภัณฑ์จากเสื่อเตยหนามมีความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากน้ำยางพารามีองค์ประกอบหลักที่เป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติที่กระจายอยู่ในน้ำ ทำให้มีความปลอดภัยกับทั้งผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม

 

การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน“กาวจากยางธรรมชาติเพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ประเภทเสื่อและผ้าจากเส้นใย”

ธรรมชาติเลขที่คำขอ 1803001083 วันที่ยื่น 9 พฤษภาคม 2561

     

(ก) การทดลองใช้งานจริง

(ข) ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเสื่อเตยหนามที่ใช้กาวยางธรรมชาติ

(ค) ลักษณะการหลุดของชิ้นทดสอบในการทดสอบแรงยึดติดแบบแรงเฉือน (Shear) ของกาวยางธรรมชาติ

คำสำคัญ
กาวจากยางธรรมชาติ  
บันทึกโดย
นางสาวศิรณัฏฐ์  อันพันลำ  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th