Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การประชุมสนทนากลุ่ม (Focus group) Reshaping Future of UBI 107
การประชุมสนทนากลุ่ม (Focus group)
Reshaping Future of UBI: เสียงสะท้อนจากพลังเครือข่ายสู่ทิศทางอนาคตของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 25กรกฎาคม 2567เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 203 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
1. ที่มา
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) กล่าวถึงการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืนใน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยในอีก 20 ปี ข้างหน้าจะมุ่งเน้นการวิจัย พัฒนานวัตกรรมและนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ต่อยอดภาคการผลิตและภาคบริการ เพื่อเพิ่มผลิตภาพและสร้างมูลค่าเพิ่ม การส่งเสริมให้เกิดสังคมผู้ประกอบการและพัฒนาทักษะความสามารถของแรงงาน ซึ่งการวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สามารถนำพาประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ความเหลื่อมล้ำ และความไม่สมดุลของการพัฒนา รวมถึงทำให้ประเทศสามารถปรับตัวรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ประกอบกับเจตนารมณ์ของการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มีการนำเสนอ นโยบาย 4Platform Management เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัย ตอบโจทย์ประเทศไทยและประชาชน โดยมีจุดเน้นสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ การสร้างคนและสถาบันองค์ความรู้ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ และการวิจัยชั้นแนวหน้า ซึ่งโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator: UBI) ถือเป็นหน่วยในการทำหน้าที่สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาให้นำองค์ความรู้ผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ในสถาบันอุดมศึกษา ถ่ายทอดสู่กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างและพัฒนา นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาที่สนใจให้เป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ สามารถสร้างรายได้และผลตอบแทน กลับสู่สถาบันอุดมศึกษา รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตามนโยบายพัฒนายุทธศาสตร์และรูปแบบการบริหารหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ของประเทศไทย เพื่อกำหนดแผนในภาพรวมของการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Position) ให้เป็นกลไกพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งเป็นกลไกในการเชื่อมโยงความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและธุรกิจในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ สู่การพัฒนาธุรกิจ ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ พันธกิจ วิสัยทัศน์ โครงสร้างองค์กร การบริการจัดการและกำกับดูแลหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา ผลงาน บทเรียนความสำเร็จและความล้มเหลว ภายในระยะเวลาย้อนหลัง ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน) สังเคราะห์ออกมาเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator/UBI) ของประเทศ ระยะ ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๘ - ๒๕๗๘)
โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator: UBI) ที่ดำเนินการโดย สป.อว. อันเป็นกระทรวงที่ทำหน้าที่เป็นหนวยงานกำหนดทิศทางเพื่อ ขับเคลื่อนการดำเนนงาน (Commissioning Body) ตามนโยบายพัฒนายทธศาสตรและรปแบบการบรหารหนวยบมเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ของประเทศไทย ถือเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ โดยแรกเริ่มหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator: UBI) ต้องได้รับการปฏิรูป ทั้งปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจให้ตอบโจทย์โลกศตวรรษที่ 21 ปลดล๊อคข้อจำกัดพัฒนาขีดความสามารถ พร้อมทั้งสร้างและพัฒนาคน องค์ความรู้ และนวัตกรรม
จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว การพัฒนาหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator/UBI) จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อพัฒนากรอบการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตามรัฐบาลที่มุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาของประเทศที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล อุตสาหกรรมชอฟเพาเวอร์ อุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ชั้นสูง (Advanced STI) ให้แก่ประเทศ ตอบโจทย์ความต้องการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การเชื่อมโยงกับแหล่งทุนในการส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมและการเชื่อมโยงโครงการกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ในภูมิภาค เพื่อให้เกิดผลกระทบในเชิงบวกต่อประเทศ และสร้างความสามารถทางการแข่งขันของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ยั่งยืนต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหาและความคาดหวังเกี่ยวกับโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
2. เพื่อศึกษาทิศทางโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
3. เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนายุทธศาสตร์และรูปแบบการบริหารหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
3. กลุ่มเป้าหมาย
1. ประธานเครือข่ายหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา 9เครือข่าย
2. ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา
3. บุคลากรของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา
4. ผู้ใช้บริการของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา