เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ปาล์มน้ำมันถือ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำรายได้ โดยก่อให้เกิดการจ้างงาน และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะน้ำมันปาล์มใช้สำหรับบริโภค และเป็นพืชพลังงานที่สำคัญในปัจจุบันและอนาคต อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันมีฐานการเพาะปลูก อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัด กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร สตูล และตรัง
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาการปลูกปาล์มน้ำมัน การให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวทะลายได้เมื่อปาล์มอายุ 2.5-3 ปีหลังจากการปลูก ทำให้เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันจะไม่มีรายได้จากสวนปาล์มในช่วง 1-3 ปีแรก ดังนั้นในการทดลองวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการปลูกพืชแซม โดยการปลูกพืชอื่นร่วมกับการปลูกปาล์มในพื้นที่ว่างระหว่างแถวปาล์มน้ำมัน อายุ 1-3 ซึ่งเป็นแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนปาล์ม นอกจากจะเพิ่มรายได้จากการขายผลผลิตแล้ว การรดน้ำและใส่ปุ๋ยพืชเหล่านี้ต้นปาล์มน้ำมันก็ได้ประโยชน์ด้วย
อนึ่งแสดงให้เห็นการปลูกพืชแซมในส่วนปาล์มน้ำมัน พบว่าผลผลิตและรายได้ของ อ้อย สับปะรด สบู่ดำ และกระถิ่นเทพา พบว่าปาล์มน้ำมัน+อ้อย ให้รายได้มากที่สุด 2,650.00 บาท รองลงมา คือ ปาล์มน้ำมัน+สับปะรด ทำรายได้ 1,523.35 บาท
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบทุกระบบการปลูกของปาล์มน้ำมัน พบว่าการปลูกปาล์มน้ำมันแซมอ้อย ให้รายได้รวมสูงสุด คือ 6,072.38 บาท รองลงมา คือการปลูกปาล์มน้ำมันแซมสับปะรด ได้รายได้ 4,962.48 บาท จะเห็นได้ว่าการปลูกพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมันให้รายได้ต่อไร่สูงกว่าการปลูกปาล์มน้ำมันไม่มีพืชแซม
ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวทะลายได้เมื่อปาล์มอายุ 2.5-3 ปีหลังปลูก ดังนั้น เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันจะไม่มีรายได้จากสวนปาล์มในช่วง 1-2 ปีแรก แต่มีแนวทางในการเพิ่มรายได้ โดยการปลูกพืชอื่นร่วมกับการปลูกปาล์มในพื้นที่ว่างระหว่างแถวปาล์มน้ำมัน อายุ 1-2 ปี ได้แก่ การปลูกผัก พืชล้มลุก หรือพืชอื่นที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ซึ่งนอกจากจะเพิ่มรายได้จากการขายผลผลิตแล้ว การรดน้ำและใส่ปุ๋ยพืชเหล่านี้ต้นปาล์มน้ำมันก็ได้ประโยชน์ด้วย แต่เมื่อ ต้นปาล์มอายุมากขึ้นทางใบปาล์มแผ่เต็มพื้นที่ระหว่างแถวทำให้แสงแดดส่องผ่าน น้อยลงสวนปาล์มร่มขึ้น สามารถเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ใช้แสงน้อยลง
…………………………………………….
คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกระบี่ ตำบลห้วยยูง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ โทรศัพท์ 075-666-085-7